Politics

โอไมครอน ‘BA.2.75.2’ และ ‘BA.4.6’ ศูนย์จีโนมฯ ให้คำตอบ ทำไม? ไทยต้องเฝ้าระวัง

ศูนย์จีโนมฯ ให้คำตอบ ทำไม? ไทยต้องเฝ้าระวัง โอไมครอน ‘BA.2.75.2’ และ ‘BA.4.6’ และเตรียมพร้อม วัคซีนรุ่น 2

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เกี่ยวกับสายพันธุ์โอไมครอน ที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง ว่าจะเข้ามาแทนที่ BA.5 ที่กำลังระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ ดังนี้

BA.2.75.2

ทำไมต้องเฝ้าระวัง

ทำไมศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯจึงเฝ้าระวังการระบาดของโอไมครอน “BA.2.75.2” และ “BA.4.6” ในประเทศไทย?

ทำไมต้องตรวจวินิจฉัยโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75. 2 และ BA.4.6 ทางห้องปฏิบัติการให้ได้ใน 24-48 ชั่วโมง?

ทำไมถึงควรเตรียมพร้อมสำหรับ วัคซีนเจนเนอเรชันสอง?

ข้อมูลล่าสุดจากทีมวิจัยสหภาพยุโรป (European Union: EU) เมื่อ 16/9/2565 ได้รายงานในวารสารวิชาการชี้ว่าโอไมครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 (ภาพ 1) สามารถหลบเลี่ยง “ยาแอนติบอดีแบบผสม” โดยเฉพาะ “เอวูเชลด์/Evusheld” ซึ่งมีส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีซิกเกวิแมบ/cilgavimab และ ทิกเกจวิมาบ/tixagevimab เหลือเพียงแอนติบอดีสังเคราะห์ไม่กี่ประเภท  เช่น “เบบเทโลวิแมบ/bebtelovimab” ที่ยังสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของโอไมครอน BA.2.75. 2 และ BA.4.6 ได้ (ภาพ 2)

https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.09.16.508299v1

ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวลว่า โอไมครอน  BA.2.75.2 อาจหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันทางร่างกาย เกิดการระบาดในกลุ่มประชากรขึ้นได้

BA.2.75.2

ยาแอนติบอดีแบบผสม “เอวูเชลด์/Evusheld” ที่ทาง EU เพิ่งอนุมัติให้ใช้รักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ BA.1, BA.2, BA.4/BA.5, และ BA.2.75 ในร่างกายผู้ป่วยได้ดีในระดับหนึ่ง และในขณะที่อนุมัตินั้นยังไม่มีข้อมูลการกลายพันธุ์ของโอไมครอน BA.4 มาเป็น BA.4.6 และการกลายพันธุ์ของโอไมครอน BA.2.75 มาเป็น BA.2.75. 2 ที่ดื้อต่อเอวูเชลด์  (ภาพ 3)

https://www.biorxiv.org/…/10.1101/2022.07.14.500041v1.full

การใช้ “ยาแอนติบอดีแบบผสม” ในประเทศไทยมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรค COVID-19 ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยมี “อาการน้อยถึงปานกลาง” ไม่ต้องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินไปสู่อาการรุนแรง จากการวิจัยทางคลินิกพบว่า การรักษาด้วยยาแอนติบอดีแบบผสมสามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือด และยับยั้งการติดเชื้อของร่างกาย รวมทั้งลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล

BA.2.75.2

รักษาโควิดแบบพุ่งเป้า จำเป็นต้องแยกโอไมครอนแต่ละสายพันธุ์ออกจากกัน

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ มองเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแยกโอไมครอนสายพันธุ์ต่างๆออกจากกันให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 24-48 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น BA.2, BA.4,  BA.4.6, BA.5, BA.2.12.1,  BA.2.75, BA.2.75.1, BA.2.75. 2  ฯลฯ เพราะการรักษาโควิด-19 เริ่มมีลักษณะการแพทย์แม่นยำ มุ่งเป้า (precision medicine) มากขึ้นเป็นลำดับ ต่างจากการรักษาในช่วงต้นของการระบาดในปี 2019 ซึ่งผู้ป่วยทุกรายรักษาเหมือนกัน (One-size-fits-all)

เนื่องจากปัจจุบันพบว่าเวชภัณฑ์ อาทิ วัคซีน (เข็มหลัก และ เข็มกระตุ้น)  ยาต้านไวรัส และ แอนติบอดีสังเคราะห์ หลายประเภทมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาไวรัสโคโรนา 2019 แต่ละสายพันธุ์ ที่แตกต่างกัน

อย่างเช่นกรณีของโอไมครอน BA.4.6 เหลือเพียงแอนติบอดีสังเคราะห์ “เบบเทโลวิแมบ/bebtelovimab” ที่ยังสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของโอไมครอน BA.4.6 และ BA.2.75. 2 ได้

BA.2.75.2

วัคซีนเจน 2 เตรียมพร้อมรับมือ

วัคซีนเจนเนอเรชันที่ 2 ที่สามารถป้องกันไวรัสโคโรนา-19 ที่ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม หรือวัคซีนเจนเนอเรชัน 3 ที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส ที่มีการกลายพันธุ์ในอนาคตทุกสายพันธุ์ (Universal coronavirus vaccine) จึงมีความจำเป็น

โอไมครอนBA.2.75.2”  อันเป็นโควิด-19 เจเนอเรชัน 3” ทางศูนย์จีโนมเพิ่งรายงานพบในไทย 1 ราย อ่านรายละเอียดได้จาก https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid05TqwuDQLJoiNXQBgmPdR1PTGzz3mcxuHrSbSMcR58hDYSNSKxLNaPYnYKyV7TxZQl

ในขณะที่ BA.4.6 ตรวจพบครั้งแรกเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ในแอฟริกาใต้ แม้จะยังไม่พบในประเทศไทย แต่จากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกกา (U.S. CDC) พบโอไมครอน BA.4 มีการกลายพันธุ์มาเป็น BA.4.6 และกำลังเพิ่มจำนวนเข้ามาแทนที่ BA.5 อย่างช้าๆ โดยขณะนี้ร้อยละ 10.3  ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐอเมริกาเป็นโอไมครอน BA.4.6  (ภาพ 4) และเริ่มกระจายไปอีกหลายแห่งทั่วโลก อาทิ อังกฤษตรวจพบร้อยละ 3.3 ในผู้ติดเชื้อรายใหม่

BA.2.75.2

โอไมครอน BA.4.6 กลายพันธุ์มาจาก BA.4  โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม (อู่ฮั่น) 85 ตำแหน่ง (ภาพ 1)

ความรุนแรง การติดเชื้อ และการหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันของโอไมครอน BA.4.6

โชคดีที่การติดเชื้อโอไมครอนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง มีอัตราผู้ติดเชื้อเสียชีวิตน้อยกว่าสายพันธุ์รุ่นก่อนๆ แต่โอไมครอน BA.4.6 สามารถแพร่ติดต่อได้รวดเร็วกว่า BA.5 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในปัจจุบัน  มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)  ประมาณ 19% เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ BA.5 ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน (ภาพ 5)

BA.2.75.2

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo