Politics

ด่วน!! พบผู้ป่วย ‘ฝีดาษลิง’ รายที่ 3 ชาวเยอรมันที่ภูเก็ต

อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยพบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” รายที่ 3 ในประเทศไทย  ผู้ป่วยเป็นชาวเยอรมัน มาเที่ยวเมื่อ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่จังหวัดภูเก็ต
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ว่า วันนี้มีการรายงานกรณีโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Monkeypox) มีผลการตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ยืนยันในรายที่ 3 เป็นผู้ป่วยชาย อายุ 25 ปี สัญชาติเยอรมนี เดินทางเข้าไทยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ที่ จังหวัดภูเก็ต ทางจังหวัดกำลังจะรายงานไทม์ไลน์ ผู้ป่วยมาให้กรมควบคุมโรค เบื้องต้นผู้ป่วยรายดังกล่าวเมื่อเข้ามาถึงไทยไม่นานก็เริ่มมีอาการ จึงคาดว่าน่าจะติดเชื้อจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยให้ประวัติว่าเดินทางมาเที่ยวในไทย เคยไป ๆ มาๆ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด กลุ่มเสี่ยงเพื่อคัดกรองโรคฝีดาษลิง เบื้องต้นผลยังไม่พบผู้ติดเชื้อในผู้สัมผัส แต่ตามแนวทางจะต้องให้สังเกตอาการ 21 วัน สามารถไปไหนมาไหนได้ แต่ต้องระวังการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น
LINE ALBUM โรคต่างๆ สัตว์ ฝีดาษวานร ASF 220803
 “ส่วนความเสี่ยงที่โรคฝีดาษลิงจะกระจายในประเทศไทย จะสังเกตว่า 3 ราย เป็นเพศชาย ตรงกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ที่เปิดเผยว่า 98% มีประวัติชายรักชาย (man sexual with men) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของไทย เป็นชายทั้งหมด โดยเป็นต่างชาติ 2 ราย และคนไทย 1 ราย ที่สัมผัสใกล้ชิดกับชาวต่างชาติ ฉะนั้น ความเสี่ยงคือการสัมผัสใกล้ชิดต่างชาติกับผู้ป่วยฝีดาษลิง” นพ.โอภาส กล่าว
นพ.โอภาส กล่าวว่า ผู้ป่วยรายที่ 3 เมื่อเข้ามาไม่นาน ก็เริ่มมีอาการฝีดาษลิง คือ ไม่ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต  ผื่นขึ้นเริ่มจากอวัยวะเพศและไปตามร่างกาย อาการค่อนข้างชัดเจน จึงมาโรงพยาบาล ทั้งนี้ ข้อมูลทั่วโลกพบว่า ผู้ป่วยฝีดาษลิงไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลทุกรายมีเพียง 9% ที่ต้องอยู่ โรงพยาบาลเพื่อควบคุมโรค ดังนั้น มาตรการของเราในอนาคต หากผู้ป่วยไม่มีปัญหาสุขภาพก็ให้รักษาตัวที่บ้านได้ (H
ome Isolation)
296898836 427230982765484 2884496720487899343 n

ส่วนเรื่องวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง ทางองค์การเภสัชกรรมกำลังประสานติดต่อคาดว่าไม่เกินเดือนนี้ ซึ่งคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่ยังไม่มีประวัติติดเชื้อแต่ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรค เช่น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ห้องแล็บ

2. มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยฝีดาษลิง แต่ไม่เกิน 14 วันหลังจากสัมผัสครั้งสุดท้าย คาดว่าป้องกันโรคได้ ด้านยารักษาโรค

อมูลบ่งชี้ว่าสามารถหายเอง อย่างผู้ป่วย 2 รายแรกของไทย อาการดีขึ้นโดยไม่ต้องรับยาต้านไวรัส แต่ยาอาจมีความจำเป็นในกลุ่มผุ้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี หรือร่างกายอ่อนแอ

ทั้งนี้ ข้อมูลทั่วโลกพบติดเชื้อฝีดาษลิง 2 หมื่นราย เสียชีวิต 3-4 ราย ซึ่งประวัติมีโรคประจำตัว เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ภาวะแทรกซ้อนสมองอักเสบ ฉะนั้น ยาจะมีความจำเป็นเฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ทุกรายที่ต้องรับยา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight