Politics

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ส่งเสริมเด็ก ‘รักการอ่าน’ จัดสวัสดิการ หนังสือติดบ้าน 3-5 เล่ม

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ส่งเสริมเด็ก ‘รักการอ่าน’ จัดสวัสดิการ หนังสือติดบ้าน 3-5 เล่ม พร้อมหมุนเวียนเล่มใหม่เมื่ออ่านจบ

วันนี้ (4 มิ.ย. 65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมเวทีสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย ในหัวข้อ “นโยบายการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ด้วยหนังสือและการอ่านจากพลังท้องถิ่น” ผ่านระบบ Zoom Meeting ทาง Facebook LIVE อ่านยกกำลังสุข

รักการอ่าน

ซึ่งมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดขึ้นเพื่อสานพลังจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ร่วมหยุดวิกฤติ Learning Loss จากปฏิบัติการทางสังคมสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย หวังช่วยเพิ่มทักษะพัฒนาเด็กไทย ลดการเรียนรู้ถดถอย ด้วยพลังการอ่าน

รักการอ่าน

นโยบายส่งเสริมรักการอ่าน 3 เรื่อง

นายชัชชาติ กล่าวว่า การมีชีวิตในทุกวันนี้ได้เป็นเพราะการอ่าน และพ่อแม่เน้นให้อ่านหนังสือ โดยเริ่มต้นนั้นไม่ได้อ่านหนังสือเรียน แต่การมีหนังสือใกล้มือเป็นสิ่งที่ดี หลักการง่าย ๆ ให้อ่านหนังสือที่เรารักจนเราsักการอ่าน สำหรับนโยบายส่งเสริมการอ่านหลัก ๆ มี 3 เรื่อง คือ

  1. การลงทุนน้อยแต่ได้เยอะ ซึ่งเชื่อว่าเด็กอายุ 0-8 ปี เป็นช่วงที่มีพัฒนาการเร็วและสูง ถ้าเราลงทุนกับเด็กในช่วงนี้ เป็นการลงทุนที่ไม่ได้ใช้เงินเยอ ะแต่ได้ผลก้าวหน้ามหาศาล ฉะนั้นการมีหนังสืออยู่ในบ้าน จะช่วยส่งเสริมการอ่านให้เด็ก และถ้าเด็กมีพัฒนาการที่ดีในช่วงนี้ ได้จะเป็นรากฐานที่ดีให้เด็กในอนาคต ซึ่งกรุงเทพมหานครจะต้องหันมาดูเด็กก่อนวัยเรียนให้เข้มข้นขึ้น
  2. บทบาทของพ่อแม่มีความสำคัญ เพราะพ่อแม่ใช้เวลาอยู่กับลูกมากที่สุด พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาการอ่าน และส่งเสริมให้ลูกsักการอ่าน มากกว่าที่จะฝากความหวังไว้กับครูหรือโรงเรียน
  3. ทรัพยากร กทม. มีหน้าที่ต้องช่วยตรงนี้ เนื่องจากประชาชนจำนวนมากมีรายได้น้อย การหาหนังสือให้เด็กอ่านทำได้ค่อนข้างยาก ฉะนั้นการจัดสวัสดิการสนับสนุนหนังสือ ให้เด็กมีหนังสือติดบ้านในช่วงแรกอย่างน้อย 3-5 เล่ม จะช่วยส่งเสริมการอ่านให้เด็กได้ โดยเป็นการหมุนเวียนหนังสือ เมื่อเด็กอ่านหนังสือที่มีอยู่ในบ้านหมดแล้ว ก็นำมาเปลี่ยนเป็นหนังสือเล่มอื่นไปไว้ติดบ้าน เพื่อที่จะสามารถอ่านหนังสือได้ตลอดเวลา

รักการอ่าน

ส่วนตัวเชื่อว่าการอ่านเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก เบื้องต้นเห็นด้วยกับการมีหนังสือประจำบ้านให้เด็กอย่างน้อย 3-5 เล่ม สามารถหมุนเวียนหนังสือในการอ่าน ให้เด็กอ่านหนังสือให้ได้ครบ 100 เล่ม และพ่อแม่เข้าถึงได้สะดวก

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีห้องสมุดทั้งหมด 36 แห่ง บ้านหนังสืออีก 117 แห่ง จะต้องมีการเพิ่มคุณภาพของห้องสมุดและบ้านหนังสือ เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการอ่าน เพราะบางทีพ่อแม่ไม่มีเวลา เมื่อเด็กแวะเวียนมาใช้บริการบ้านหนังสือและมีอาสาสมัครช่วยด้านการอ่านให้กับเด็ก ก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านได้อีกทาง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo