Politics

เปิด 214 นโยบาย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ทำไม? คนกรุงถึงเทใจให้เป็นว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.

เปิด 214 นโยบายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” คนที่ 17 นโยบายดีอย่างไร น่าสนใจแค่ไหน คนกรุงถึงเทใจให้เป็น “ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.” ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี

www.chadchart.com เปิดนโยบายการทำงานของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ว่าที่ “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” คนที่ 17 ที่มาของ “นโยบายชัชชาติ” คัดสรรกลั่นกรองจากปัญหาจริงของชาวเมืองกรุง ผ่านอาสาสมัครและการเข้าพื้นที่พบกับคนที่อยู่อาศัยทั่วกรุงเทพฯ อยู่บนรากฐานของข้อมูลสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์ คิดสร้างสรรค์ร่วมกับนักวิชาการชั้นแนวหน้าจากหลายสถาบันการศึกษา และพร้อมที่จะลงมือดำเนินการได้ทันทีด้วยฝีมือของผู้บริหารคุณภาพ

นโยบายชัชชาติ

นโยบายชัชชาติ

“นโยบายชัชชาติ” แบ่งเป็น 214 นโยบายใน 9 หมวดหมู่ ดังนี้

  1. ปลอดภัยดี
  2. สุขภาพดี
  3. สิ่งแวดล้อมดี
  4. เรียนดี
  5. บริหารจัดการดี
  6. เดินทางดี
  7. โครงสร้างดี
  8. เศรษฐกิจดี
  9. สร้างสรรค์ดี

นโยบายชัชชาติ

ตัวอย่าง “นโยบายชัชชาติ” มีดังนี้

  • กรุงเทพฯ ต้องสว่าง
  • พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย (BKK Risk Map)
  • กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์)
  • เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ราคาถูกราคาเดียว
  • พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย (BKK Risk Map)
  • ทบทวน BRT เพื่อพิจารณาการดำเนินโครงการ
  • ท่าเรือเข้าสะดวก ออกสบาย เชื่อมต่อปลอดภัย
  • พิจารณาเดินเรือ เพิ่มตัวเลือกเชื่อมต่อการเดินทาง
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด
  • หน่วยงาน กทม.เข้าใจ สนับสนุนความเท่าเทียม และยอมรับความหลากหลายทางเพศ
  • จัดทีม “นักสืบฝุ่น” ศึกษาต้นตอ PM2.5
  • ตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน
  • ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ปล่อยมลพิษ
  • สนับสนุนให้เกิด ecosystem รถพลังงานไฟฟ้า
  • สร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) เพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบาย
  • นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย
  • ป้ายรถเมล์มีข้อมูลและสว่างปลอดภัยทุกป้าย
  • จัดตั้ง Command Center บริหารจราจรร่วมกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้การศึกษา พัฒนานักเรียนสู่พลเมืองโลก
  • บริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (ITMS) เพื่อบริหารจัดการจราจรทั้งโครงข่ายและกวดขันวินัยจราจร
  • พัฒนาระบบติดตามการขออนุญาตกับ กทม.
  • เทศกิจผู้ช่วยจราจร กทม.
  • ลดรถ ลดติด ด้วยจอดแล้วจร
  • เสริมศักยภาพสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา หาความเป็นไปได้เพิ่มสะพานใหม่
  • รถหยุด รถติด ลดหยุด ลดติด

นโยบายชัชชาติ

  • ประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในโครงการของ กทม.
  • กรุงเทพฯ เดินได้ พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กม.
  • ทุกถนน ซอย มีทางเดิน-ปั่นสะดวก เชื่อมขนส่งสบาย ลดการใช้รถ
  • เลียบคลองเดินได้ ปั่นปลอดภัย ทางเลียบคลองคุณภาพ
  • อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ตัวช่วยด้านเทคโนโลยีสำ
  • หรับคนกรุงเทพฯ
  • ออกแบบเรื่องราวให้เมือง ผ่าน digital experience economy
  • สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน
  • ขยายระบบการติดตามและแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด
  • ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า
  • ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณ Low Emission Zone
  • นำร่อง covered walkway หลังคาทางเดินกันเปียกกันร้อนในจุดเชื่อมต่อ
  • ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ
  • สร้างสรรค์ดี สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี เดินทางดี สุขภาพดี โครงสร้างดี เรียนดี บริหารจัดการดี
  • ตรวจจับรถควันดำจากต้นตอ
  • ส่งเสริมให้ผู้ค้าแผงลอยมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
  • สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ค้าแผงลอย ภาคประชาชน และเอกชนในพื้นที่ ช่วยดูแลพื้นที่การค้า
  • ขึ้นทะเบียนผู้ค้าแผงลอย พร้อมติดตามการดำเนินการ
  • เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอย
  • หาพื้นที่ของเอกชนหรือหน่วยงานราชการที่สามารถจัดเป็นพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่หรือศูนย์อาหาร (hawker center)
  • ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมิน ผอ.เขต และผู้ว่าฯ กทม.
  • สร้างการสื่อสารสองทางระหว่าง กทม.และประชาชนผ่านสภาคนเมืองประจำเขต
  • พัฒนาแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย
  • ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดงบประมาณ กทม.
  • สภาเมืองคนรุ่นใหม่
  • พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิด ด้วยเครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ปิดปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง
  • พยากรณ์ แจ้งเตือน ป้องกันฝุ่น PM2.5
  • เปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของ กทม.
  • พัฒนาแบบจำลองเสมือนกรุงเทพฯ (Digital Twin) เพื่อใช้วางแผนและแก้ปัญหาเมือง
  • เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมทั้งของ กทม.และกรุงเทพธนาคม เป็นต้น

นโยบายชัชชาติ

ทำ “กรุงเทพฯ” ให้ดีขึ้น

“ชัชชาติ” มองว่า การที่จะทำให้กรุงเทพฯ ดีขึ้นได้นั้น จะใช้แนวคิด Design Thinking ในการหาทางแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าใจและเข้าถึงการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ (Empathize) ลงพื้นที่ รวบรวม รับฟัง เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงปัญหาของคนกรุงเทพฯ อย่างแท้จริง ไม่ใช่นั่งแต่อยู่ในห้องแอร์รอรับฟังรายงาน
  2. กำหนดปัญหาในแต่ละเรื่อง (Define) ถ้ากำหนดปัญหาผิด ก็ไม่มีทางที่จะมีทางออกที่ถูกได้ ดังนั้นจึงใช้ทีมงานในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ ทั้งในส่วนของพื้นที่ (ระดับเขต) และ ในส่วนของหน้าที่งาน (ระดับสำนัก) และ กำหนดปัญหาที่แท้จริงของแต่ละเรื่องรวมทั้งกำหนดความเร่งด่วนของแต่ละปัญหา
  3. ระดมความคิด หาแนวทางแก้ไข (Ideate) การแก้ไขปัญหาใน กรุงเทพฯ หลาย ๆ เรื่องต้องใช้การคิดใหม่ ถ้าใช้คนเดิมคิด วิธีการเดิมคิด ก็จะได้คำตอบเดิม ๆ ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาที่มีอยู่ ดังนั้นต้องมีการระดมผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาร่วมกันคิด เพื่อหาทางออกของปัญหาที่มีอยู่ เรามีคนเก่งเยอะ ต้องให้โอกาสคนเก่ง ๆ เหล่านี้มารวมกันเพื่อช่วยกันหาคำตอบให้กรุงเทพฯ
  4. ลงมือทำแบบจำลอง (Prototype) และ ทำการทดสอบ (Test) ปัญหาในกรุงเทพฯ มีจำนวนมาก แต่หลาย ๆ เรื่องเป็นปัญหาที่ซ้ำ ๆ กัน คล้าย ๆ กันในทุกเขต เช่น ปัญหาทางเท้า ปัญหาการระบายน้ำ ปัญหาขยะ เราสามารถทดลองการปัญหาด้วยการลงมือและทดสอบในบางจุดก่อน ถ้าสำเร็จก็จะขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

อ่านนโยบายฉบับเต็มได้ ที่นี่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK