Politics

เช็คอัตราการครองเตียง รองรับหากยอดติดเชื้อพุ่ง ติดเชื้อในเด็กเพิ่ม อาการหนัก เสียชีวิต ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ

เช็คอัตราการครองเตียง รองรับหากยอดติดเชื้อพุ่ง เผยติดเชื้อในเด็กเพิ่ม อาการหนัก เสียชีวิต ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดี กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น หลังช่วงเทศกาลสงกรานต์  รัฐบาลโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข และดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยประชาชน จึงมอบหมายให้กรมการแพทย์ บริหารจัดการเตียงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ เตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาล

การครองเตียง

และ UPDATE สถานการณ์ภาพรวมการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ทุกสัปดาห์ เพื่อประเมินสถานการณ์และศักยภาพเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลต่าง ๆ  ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งภาพรวมของประเทศด้วย

การครองเตียง 35.8% เด็กติดเชื้อเพิ่ม 50% จากอัตราเสียชีวิต ไม่ได้ฉีดวัคซีน 

ขณะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย โดยการติดเชื้อในเด็กมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อเดือนมกราคม ส่วนกลุ่มที่เสียชีวิต อาการหนักยังเป็นกลุ่มสูงวัยกลุ่มเปราะบาง มีโรคเรื้อรัง ติดบ้านติดเตียง ที่รับเชื้อจากคนใกล้ชิด

สำหรับการเสียชีวิตในเด็ก พบว่า มากกว่า50% เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ส่วนใหญ่มีโรคร่วม และเกือบทั้งหมด ไม่มีข้อมูลได้ฉีดวัคซีน ด้านการรักษาขณะนี้ทั่วประเทศมีเตียงรักษาโควิดประมาณ 1.8 แสนเตียง อัตราครองเตียงประมาณ 35.8%

การครองเตียง

ติดเชื้อหลังสงกรานต์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว เตียงยังว่าง

การระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้มีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น จากก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนมากเป็นกลุ่มอาการสีเขียว การรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเป็นรูปแบบ Home Isolation (HI) / Community Isolation (CI) และแบบผู้ป่วยนอก หรือ “เจอ แจก จบ” (Outpatient with Self Isolation : OPSI)  จึงยังมีเตียงรองรับกลุ่มอาการหนัก

การครองเตียง

การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นไปตามแนวทางการรักษา  (CPG) ของกรมการแพทย์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

1. กลุ่มที่ไม่มีอาการ​หรือ​สบายดี​ ไม่ต้องกินยา​ต้านไวรัส​ อาจให้ยาฟ้าทลายโจรขึ้นกับ​ดุลยพินิจของแพทย์​

2. กลุ่ม​ทึ่มีอาการ​ไม่รุนแรง​ ไม่มีปอดอักเสบ​ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง พิจารณาให้ Favipiravir เร็วที่สุด

3. กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง​ ต่อโรครุนแรง​หรือ​กลุ่มที่มีปอดอักเสบ​ แต่ยังไม่ต้องให้​ออกซิเจน​ พิจารณาให้​ยาต้านไวรัส​เร็วที่สุด​ ตัว​ใดตัวหนึ่ง​ ตาม​ CPG​ ของกรมการแพทย์ ได้แก่ Favipiravir  หรือ Remdesivir  หรือ Molnupiravir  หรือ Nirmartelvir/ritonavir (Paxlovid) โดยประเมินจาก​ประวัติวัคซีนและ​​ปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง​

4. กลุ่มที่มีอาการปอดอักเสบต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน พิจารณาให้ Remdesivir เร็วที่สุด ทั้งนี้ การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มเด็ก มีแนวทางรักษา คือ การให้ยา Favipiravir ชนิดเม็ดและชนิดน้ำ ในกลุ่มอาการไม่รุนแรง และ Remdesivir ในกลุ่มอาการปานกลางถึงรุนแรง ส่วนการรักษาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์  มีแนวทางคือ การให้ยา Remdesivir และอาจพิจารณาให้ Favipiravir ในไตรมาสที่ 2-3 พิจารณาเป็นกรณี

ทั้งนี้ การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โรคประจำตัว และประวัติการได้รับวัคซีน เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo