Politics

‘ไม่ได้เลือกตั้ง อบจ.’ แจ้งเหตุผลได้ถึงวันที่ 27 ธ.ค. ไม่เสียสิทธิทางการเมือง

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดเลือกตั้งท้องถิ่น นายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. โดยประชาชนมีสิทธิ เลือกตั้ง เพียงวันเดียวเท่านั้น ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และไม่มีการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

สำหรับประชาชนที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันและเวลาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็แนะนำว่า ควรแจ้งเหตุผลด้วย เพื่อไม่ให้เสียสิทธิทางการเมือง

ไม่ได้เลือกตั้ง อบจ.

การแจ้งเหตุผล “ไม่ได้เลือกตั้ง อบจ.” 

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนไหน ที่ ไม่ได้เลือกตั้ง อบจ. เมื่อวานนี้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง คือระหว่างวันที่ 13 – 19 ธันวาคม 2563 หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง คือระหว่างวันที่ 21 – 27 ธันวาคม 2563 ซึ่งสามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

  • แบบฟอร์มแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ เลือกตั้ง ท้องถิ่น (ส.ถ./ผ.ถ. 1/8) คลิกที่นี่
  • ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น (ส.ถ./ผ.ถ. 1/8) กรณีทะเบียนบ้านอำเภอ คลิกที่นี่
  • ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น (ส.ถ./ผ.ถ. 1/8) กรณีทะเบียนบ้านท้องถิ่น คลิกที่นี่

เลือกตั้ง อบจ.

 7 เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ “เลือกตั้ง อบจ.”

  • มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
  • เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  • มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
  • ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
  • มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด

shutterstock 1753241981

หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิ ดังนี้

  • สมัครรับ เลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น (ส.ถ.) หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ผ.ถ.) หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
  • สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
  • เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
  • ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  • ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

 

3 วิธี ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง อบจ.

การตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง อบจ. ที่จัดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยการเลือกตั้งนายก อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. สามารถทำได้ง่ายๆ 3 วิธีด้วยกัน ใครสะดวกแบบไหน เลือกแบบนั้น!

1.ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบจ. ที่เลือกตั้ง หรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน 

2. ตรวจสอบรายชื่อจากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน

3.ตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสามารถดำเนินการตรวสอบได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพียงทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไป

  • เข้าสู่ลิงก์ของกรมการปกครอง คลิกที่นี่ **จากทดลองใช้พบว่า ระบบค่อนข้างช้า ขอให้ประชาชนใจเย็นๆ 
  • กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก จากนั้นกด “ค้นหา”

เช็คสิทธิ์ เลือกตั้งท้องถิ่น อบจ.

  • ปรากฎผลการตรวจสอบสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น

ถ้าไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะขึ้นว่า “ผลการตรวจสอบ ไม่พบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง”

หกด

ถ้าเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะแจ้งรายละเอียดการเลือกตั้งในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ว่า มีสิทธิเลือกตั้งที่จังหวัดใด รายชื่อของผู้มีสิทธิ เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง ลำดับในบัญชีรายชื่อ รวมถึงมีสิทธิเลือกตั้งอะไรบ้าง

เช็คสิทธิ์ เลือกตั้งท้องถิ่น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo