Politics

เช็คให้ดี! ย้ายทะเบียนบ้านข้ามจังหวัดไม่ถึง 1 ปี หมดสิทธิ ‘เลือกตั้ง อบจ.’

เช็คให้ดีก่อนไปคูหา “กกต.” ย้ำ! ย้ายทะเบียนบ้านข้ามจังหวัดไม่ถึง 1 ปี หมดสิทธิ “เลือกตั้ง อบจ.” วันที่ 20 ธ.ค.

ตามที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และนายก อบจ. ในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 08.00 ถึงเวลา 17.00 น. นั้น

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งว่า ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 บุคคลผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มาตรา 38 วรรคสอง และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563 ข้อ 78 วรรคสอง มีรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่ย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้ง ดังนี้

เลือกตั้ง อบจ.

ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เดียวกัน อันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี

และกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีการเลือกตั้งเฉพาะผู้บริหารท้องถิ่น หรือมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมกันให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ และให้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี

ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. และนายก อบจ. พร้อมกันจึงมีเขตเลือกตั้ง 2 ประเภท ที่กำหนดไว้ในการเลือกตั้ง คือ

1.การเลือกตั้งนายก อบจ. ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

2.การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง

ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่า 1 คนใ ห้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น

shutterstock 1753241981

สรุปใครมีสิทธิ “เลือกตั้ง อบจ.”

จากข้อกฎหมายและการแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าว ส่งผลต่อสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนดังนี้

  • บุคคลที่ย้ายทะเบียนบ้านภายในจังหวัด จากอำเภอหนึ่งไปอีกอำเภอหนึ่ง มีสิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ณ ที่อำเภอที่ตนมีชื่ออยู่ในปัจจุบัน โดยจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ
  • ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. บุคคลดังกล่าวจะต้องมีชื่ออยู่ ณ อำเภอเดิมติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ได้ย้ายไปมีชื่ออยู่ ณ อำเภอใหม่ไม่ครบ 1 ปี ถ้าประสงค์ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ต้องไปร้องขอเพิ่มชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ณ อำเภอเดิม ภายในวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา
  • บุคคลที่มีชื่ออยู่ในอำเภอหนึ่งติดต่อกันครบ 1 ปี โดยไม่ย้ายทะเบียนบ้านเลย จึงมีสิทธิเลือกตั้งทั้งสมาชิก อบจ. และนายก อบจ. ณ ที่อยู่ปัจจุบัน โดยจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบคือ นายก อบจ. 1 ใบ และ สมาชิก อบจ. 1 ใบ
  • กรณีบุคคลที่ย้ายทะเบียนบ้านจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง (ย้ายข้ามเขตจังหวัด) โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดใหม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง จึงไม่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใหม่ และบุคคลนั้นจะไม่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเดิม (เขตเลือกตั้งเดิม) เนื่องจากในวันเลือกตั้งไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

 

วิธีเช็คสิทธิ “เลือกตั้งท้องถิ่น” แค่คลิกเดียว

สำหรับวิธีการเช็คสิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่นง่ายๆ สามารถดำเนินการได้ดังนี้

  • เข้าสู่ลิงก์ของกรมการปกครอง คลิกที่นี่ **จากทดลองใช้พบว่า ระบบค่อนข้างช้า ขอให้ประชาชนใจเย็นๆ 
  • กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก จากนั้นกด “ค้นหา”

เช็คสิทธิ์ เลือกตั้งท้องถิ่น

  • ปรากฎผลการตรวจสอบสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น

ถ้าไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะขึ้นว่า “ผลการตรวจสอบ ไม่พบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง”

หกด

ถ้าเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะแจ้งรายละเอียดการเลือกตั้งในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ว่า มีสิทธิเลือกตั้งที่จังหวัดใด รายชื่อของผู้มีสิทธิ เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง ลำดับในบัญชีรายชื่อ รวมถึงมีสิทธิเลือกตั้งอะไรบ้าง

เช็คสิทธิ์ เลือกตั้งท้องถิ่น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo