Politics

‘นพ.ยง’ บอกข่าวดี! แสงสว่างปลายทางเริ่มมองเห็นชัดเจนขึ้นแล้ว

นพ.ยง บอกข่าวดี! แสงสว่างปลายทางเริ่มมองเห็นชัดเจนขึ้น หลังบริษัทวัคซีนต่างๆ แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้มากกว่าที่เคยตั้งไว้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เกี่ยวกับสถานการณ์ “โควิด-19” โดยระบุว่า โควิด 19 แสงสว่างปลายทาง เริ่มมองเห็นชัดเจนขึ้น หลังจากที่ บริษัทวัคซีนต่างๆ ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพ ในการป้องกันโรค ได้มากกว่าที่เคยตั้งไว้

ขณะนี้มีวัคซีนถึง 13 บริษัท ที่ทำการศึกษาอยู่ในระยะที่ 3 มีการประกาศผลออกมาแล้วถึง 3 บริษัท มีประสิทธิภาพในการป้องกันดีทีเดียว

นอกจากนี้ ในการป้องกันและรักษา ยังมี การใช้ภูมิต้านทาน ที่สร้างขึ้นมา monoclonal antibody มาใช้ในการป้องกัน และ รักษาระยะแรก ในกลุ่มเสี่ยง เพื่อไม่ให้โรครุนแรง มีประสิทธิภาพลดปริมาณไวรัสได้

นพ.ยง

แอนติบอดี้ ที่สร้างขึ้นมา จะจำเพาะกับตัวไวรัส เช่นเดียวกับ “พลาสมา” ที่ได้รับจากผู้ที่หายจากโรค และ มีภูมิต้านทานสูง ก็จะมีแอนติบอดี้ แต่ต้องให้ระยะแรก ที่ผู้ป่วยยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานด้วยตัวเอง และ มีอาการรุนแรง

การนำเอาพลาสม่า มาทำเป็น “เซรุ่ม” ก็เช่นเดียวกัน ในเซรุ่ม ก็จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด 19 สามารถใช้ ได้เช่นเดียวกับการใช้ป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบี เช่น เมื่อถูกเข็มเจาะเลือดผู้ป่วยตำมือ หรือสัมผัสโรค การให้เซรุ่มจำเพาะรักษาโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

ข้อดีของเซรุ่ม ที่สกัดจากพลาสมาผู้ที่หายป่วยและมีภูมิต้านทานสูง

เซรุ่ม สามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้ ไม่ต้องให้ทางหลอดเลือดแบบการให้พลาสม่า

สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าการเก็บ Plasma และถูกบรรจุเป็นขวดขวดเล็กๆไม่เหมือนกับ Plasma ที่ต้องเก็บเป็นถุง

ขณะนี้ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ที่ได้รับบริจาคพลาสม่าจากผู้ที่หายป่วยและมีภูมิต้านทานสูง ได้นำเอาพลาสม่าจำนวนหนึ่ง มาทำเป็นเซรุ่มเรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน ในการต่อสู้กับโรคโควิด 19 ได้เริ่มเห็นชัดมากขึ้น อย่างไรก็ตามวัคซีนที่จะเข้ามาถึงประเทศไทย อย่างเร็วก็คงต้องใช้เวลา อีกหลายเดือนนับจากนี้

เราจะต้องช่วยกัน ป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศไทย รอเวลาที่จะมีวัคซีนและยารักษาที่มีประสิทธิภาพ ปีหน้าจะต้องดีกว่าปีนี้แน่นอน ทั้งทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. อัพเดทสถานการณ์ ‘โควิด’ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563  มีผู้ติดเชื้อรายใหม่  2 คน ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสมล่าสุดอยู่ที่ 3,922 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ ทำให้มียอดผู้เสียชีวิต สะสมทั่วประเทศอยู่เท่าเดิมที่ 60 ราย มีผู้ป่วยรักษาตัวหาย กลับบ้านเพิ่ม 6 คน รวมยอดผู้ป่วยรักษาตัวหายกลับบ้าน ได้แล้วที่ 3,772 คน มีผู้ป่วยที่ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล 90 คน 

รายละเอียดผู้ติดเชื้อใหม่ 

อินเดีย

  • รายที่ 1 เพศหญิง สัญชาติอินเดีย อายุ 5 เดือน

เดินทางมาถึงไทยวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 มีผู้ป่วยในเที่ยวบินเดียวกัน 2 ราย เข้าพัก Alternative State Quarantine ที่กรุงเทพมหานคร ตรวจหาเชื้อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ผลพบเชื้อ มีไข้ และอาเจียน

ปากีสถาน

  • รายที่ 2 เพศชาย อายุ 31 ปี สัญชาติปากีสถาน อาชีพ ค้าขาย

เดินทางมาถึงไทยวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ต่อเครื่องที่ดูไบเข้าพัก Alternative State Quarantine ที่สมุทรปราการ ตรวจหาเชื้อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2563 ผลพบเชื้อ ไม่มีอาการ

นพ.ยง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK