Politics

‘กกต.’ เปิดยอดสมัคร ‘ส.ว. 20 กลุ่มอาชีพ’ พบ ‘ผู้สูงอายุ-พิการ-ชาติพันธุ์’ มากที่สุด

“กกต.” เปิดยอดสมัคร “ส.ว. 20 กลุ่มอาชีพ” ทั่วประเทศ พบกลุ่ม “ผู้สูงอายุ-คนพิการ-ชาติพันธุ์” สมัครมากสุด 5,211 คน ตามด้วยกลุ่มสตรี และกลุ่มการศึกษา

วันนี้ (26 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้สรุปจำนวนผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 48,117 คน จำแนกเป็นรายกลุ่ม ดังนี้

ส.ว. 20 กลุ่มอาชีพ

กลุ่มที่ 1 กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง ได้แก่ ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 2,478 คน

กลุ่มที่ 2 กลุ่มกฎหมายและกระบวน การยุติธรรม ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 1,869 คน

กลุ่มที่ 3 กลุ่มการศึกษา ได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหาร สถานศึกษาบุคลากรทาง การศึกษา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 4,477 คน

กลุ่มที่ 4 กลุ่มการสาธารณสุข อันได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 1,628 คน

กลุ่มที่ 5 กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 3,422 คน

กลุ่มที่ 6 กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน3,628 คน

กลุ่มที่ 7 กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 2,440 คน

กลุ่มที่ 8 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภคทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 1,180 คน

ส.ว. 20 กลุ่มอาชีพ

กลุ่มที่ 9 กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ห หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 1,844 คน

กลุ่มที่ 10 กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่น นอกจากกิจการตาม ข้อ 9 มีผู้สมัครจำนวน 1,200 คน

กลุ่มที่ 11 กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการ หรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 1,177 คน

กลุ่มที่ 12 กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 609 คน

กลุ่มที่ 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 1,039 คน

กลุ่มที่ 14 กลุ่มสตรี มีผู้สมัครจำนวน 4,589 คน

กลุ่มที่ 15 กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 5,211 คน

กลุ่มที่ 16 กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 1,819คน

กลุ่มที่ 17 กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 2,168 คน

กลุ่มที่ 18 กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 867 คน

กลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน มีผู้สมัครจำนวน 3,816 คน

กลุ่มที่ 20 กลุ่มอื่นๆมีผู้สมัครจำนวน 2,656 คน

ส.ว. 20 กลุ่มอาชีพ

ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอจะตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครให้เสร็จสิ้น และ จะประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการตรวจสอบทุกกลุ่มอาชีพในเขตอำเภอ แยกเป็นรายกลุ่ม ภายในวันที่ 29 พฤษภาคม

โดยมีหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ซึ่งเรียงลำดับตามตัวอักษรของชื่อตัวผู้สมัครของแต่ละกลุ่ม ชื่อตัว และชื่อสกุลของผู้สมัคร อายุ อาชีพ และวุฒิ การศึกษาสูงสุด ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สถานที่เลือก และจัดทำข้อมูลเผยแพร่ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

เมื่อผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอ ได้ประกาศบัญชีรายชื่อดังกล่าวข้างต้นแล้ว สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเผยแพร่บัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th และแอปพลิเคชันสมาร์ทโหวต (Smart Vote)

ประชาชนสามารถดูรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และข้อมูลแนะนำตัวผู้สมัคร(สว. 3) จากช่องทางดังกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo