Politics

ซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจ เพื่อไทย แลนด์สไลด์ ‘อีสาน-เหนือ’ มาเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นภูมิใจไทย

ซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจ เพื่อไทย แลนด์สไลด์ “อีสาน-เหนือ” ได้ ส.ส. มากสุด รองลงมาเป็นภูมิใจไทย

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลการศึกษาต่อเนื่อง เรื่อง โพล เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 4 : ข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ (ภูมิภาค) กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 400 เขตเลือกตั้ง และผลการประมาณการจำนวน 100 ที่นั่งผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 53,094,778 คนทั่วประเทศ

จำนวนตัวอย่างในการศึกษาเพื่อประมาณการรวมทั้งสิ้น 6,990 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 15 เมษายน พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบ 5% ในช่วงความเชื่อมั่น 95%

ซูเปอร์โพล

ประชาชน 70% ตั้งใจไปเลือกตั้ง

ผลสำรวจซูเปอร์โพล ระบุว่า เมื่อพิจารณาความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่หรือ 70.5% หรือประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 37,431,819 คน จะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ 29.5% หรือ ประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 15,662,959 คน จะไม่ไปเลือกตั้ง

ที่น่าสนใจคือ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งจำนวน 400 ที่นั่ง จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ที่เป็นกลุ่มจังหวัดในแต่ละภูมิภาค พบอย่างชัดเจนว่า

เพื่อไทยแสนด์สไลด์ในภาคอีสานและเหนือ

พรรคเพื่อไทย มีความเป็นไปได้ที่จะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งแบบแลนสไลด์ ในภาคอีสานและภาคเหนือ

โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะได้ 133 ที่นั่งหรือ 33.3% ของจำนวนทั้งหมดทั่วประเทศ โดยจะได้ ส.ส.เขต 24 ที่นั่งหรือ 64.9% ของจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดในภาคเหนือ และในอีสานจะได้ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 78 ที่นั่งหรือ 58.6%  แต่พบว่าพรรคเพื่อไทยอาจจะไม่ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเลยในภาคใต้ในการศึกษาครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า พรรคเพื่อไทย ได้ 8 ที่นั่งหรือ 24.2% ในกรุงเทพมหานคร ได้18 ที่นั่งหรือ 20.2% ในภาคกลาง ได้ 4 ที่นั่งหรือ 13.8% ในตะวันออก และ 1 ที่นั่งหรือ 5.0% ในภาคตะวันตก

ซูเปอร์โพล

ภูมิใจไทยมาเป็นอันดับ 2

ที่น่าพิจารณาคือ พรรคภูมิใจไทย ที่ได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 2 คือ 101 ที่นั่งทั่วประเทศหรือ 25.3% ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมด โดยภาพของจำนวนที่นั่ง ส.ส. กระจายไปในทุกกลุ่มจังหวัดของแต่ละภาค

โดย พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.เขตเลือกตั้ง มากที่สุด ในภาคตะวันตก จำนวน 10 ที่นั่งหรือ 50% ส่วนที่เหลือกระจายแทรกเข้าไปแต่ละภูมิภาคจำนวนมาก ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 5 ที่นั่งหรือ 13.5% กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ที่นั่ง หรือ 24.2% อีสานจำนวน 36 ที่นั่งหรือ 27.1% กลางจำนวน 26 ที่นั่ง หรือ 29.2% ภาคตะวันออก จำนวน 6 ที่นั่งหรือ 20.7% และภาคใต้จำนวน 10 ที่นั่งหรือ 16.9%

พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ อันดับ 3 และ 4

ในขณะที่ พรรคพลังประชารัฐ กลับขึ้นมาเป็นอันดับ 3 จำนวน ส.ส.เขต 53 ที่นั่งหรือ 13.3% ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยกระจายไปแต่ละกลุ่มจังหวัดของภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ 6 ที่นั่งหรือ 16.2% กรุงเทพมหานคร 2 ที่นั่งหรือ 6.1% อีสาน 10 ที่นั่งหรือ 7.5% ภาคกลาง 17 ที่นั่งหรือ 19.1% ตะวันออก 8 ที่นั่งหรือ 27.6% ตะวันตก 3 ที่นั่งหรือ 15.0% และภาคใต้ 7 ที่นั่งหรือ 11.9%

ผลการศึกษาพบด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์ ตามมาอันดับที่ 4 จำนวน ส.ส.เขต 44 ที่นั่งหรือ 11.0% ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.เขตเลือกตั้ง 1 ที่นั่ง หรือ 2.7% ในภาคเหนือ ได้ 3 ที่นั่งหรือ 9.1% ในกรุงเทพมหานคร ได้ 2 ที่นั่งหรือ 1.5% ในอีสาน ได้ 1 ที่นั่งหรือ 1.1% ในภาคกลาง ได้ 7 ที่นั่งหรือ24.1% ในภาคตะวันออก ได้ 2 ที่นั่งหรือ 10.0% ในภาคตะวันตก และ ได้ 28 ที่นั่งหรือ 47.5% ในภาคใต้

ที่อาจกล่าวได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ แลนด์สไลด์ใน ภาคใต้แบบยกจังหวัดก็เป็นไปได้ในการศึกษาของซูเปอร์โพลครั้งนี้

ซูเปอร์โพล

รวมไทยสร้างชาติ ก้าวไกล อันดับ 5 และ 6

นอกจากนี้ พรรครวมไทยสร้างชาติได้อันดับ 5 จำนวน ส.ส.เขต 35 ที่นั่งหรือ 8.8% ของจำนวนที่นั่งส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ โดยพรรครวมไทยสร้างชาติมีความเป็นไปได้จะได้ ส.ส.เขตเลือกตั้ง 1 ที่นั่งหรือ 2.7% ในภาคเหนือ และได้ 6 ที่นั่งหรือ 18.2% ในกรุงเทพมหานคร ได้ 1 ที่นั่งหรือ 0.8% ในอีสาน ได้ 13 ที่นั่งหรือ 14.6% ในภาคกลาง ได้ 2 ที่นั่งหรือ 6.9% ในภาคตะวันออก ได้3 ที่นั่งหรือ 15.0% ในภาคตะวันตกและได้ 9 ที่นั่งหรือ 15.3% ในภาคใต้

ในขณะที่ พรรคก้าวไกล ได้อันดับที่ 6 จำนวน ส.ส.เขต 10 ที่นั่งหรือ 2.5% ของจำนวนที่นั่ง ส.ส.เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศโดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้ ส.ส.เขตเลยในภาคเหนือ ได้ 1 ที่นั่งหรือ 3.0% ในกรุงเทพมหานคร ได้ 2 ที่นั่งหรือ 1.5% ในอีสาน ได้ 5 ที่นั่งหรือ 5.6% ในภาคกลาง ได้ 2 ที่นั่งหรือ 6.9% ในภาคตะวันออก ในขณะที่ไม่พบเลยในภาคตะวันตกและภาคใต้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo