General

ลบทิ้งด่วน! 13 แอปพลิเคชันอันตราย ‘ดูดเงิน อ่านข้อความ สอดแนม’

13 แอปพลิเคชันอันตรายขโมยข้อมูลส่วนตัว ดูดเงินบัญชี อ่านข้อความ สอดแนมความเคลื่อนไหว แนะนำให้ผู้ใช้ลบทิ้งทันที!

ปัจจุบันมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัล หลายคนหลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ไม่ว่าจะเป็นชวนลงทุน เปิดบัญชีม้า แอปพลิเคชันหาคู่ แอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐต่างๆ หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เพื่อขโมยข้อมูล  ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก็พยายามปราบปราม และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน

13 แอปพลิเคชัน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดรายชื่อแอปพลิเคชันอันตราย แอปฯมิจฉาชีพ ที่ไม่ควรดาวน์โหลด เสี่ยงเป็นแอปดูดเงินในบัญชี สอดแนม แอบดูโทรศัพท์ ดูดข้อมูลส่วนตัว มีรายงานการแจ้งเตือนจาก Kaspersky บริษัทรักษาความปลอดภัยด้านไอที ว่าพบแอปพลิเคชัน Joker หรือแอปพลิเคชัน ที่มีโฮสต์มัลแวร์อันตราย ที่สามารถขโมยเงินสดของผู้ใช้ อ่านข้อความ และสอดแนมการทำงานต่าง  ภายในเครื่องได้ โดยมีทั้งสิ้น 13 แอปพลิเคชัน และแนะนำให้ผู้ใช้ลบทิ้งทันที ดังนี้

  • Battery Charging Animations Battery Wallpaper
  • Classic Emoji Keyboard
  • Battery Charging Animations Bubble -Effects
  • Easy PDF Scanner
  • Dazzling Keyboard
  • Halloween Coloring
  • EmojiOne Keyboard
  • Smart TV remote
  • Flashlight Flash Alert On Call
  • Volume Booster Hearing Aid
  • Now QRcode Scan
  • Volume Booster Louder Sound Equalizer
  • Super Hero-Effect

13 แอปพลิเคชัน

ข้อสังเกตคือ แอปพลิเคชันต่าง  อาจหยุดทำงานโดยไม่มีเหตุผล อุปกรณ์ทำงานช้าลงกว่าเดิมมาก หรืออาจรู้สึกว่าแบตฯ หมดเร็วกว่าปกติมาก เพราะมีการเรียกใช้งานทรัพยากรในเครื่องพุ่งสูงขึ้น

นอกจากนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังได้อัปเดตข้อมูล  18 ข้อกลโกง “มิจฉาชีพ” ที่มักใช้ในการหลอกเหยื่อ บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในปัจจุบันยุคที่ทุกคนก็มีสมาร์ทโฟน ติดต่อง่าย ใช้กลลวงต่างๆ นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น สร้างความเสียหายตั้งแต่หลักพัน ถึงหลักล้านบาท ดังนั้นเพื่อจะได้รับรู้เท่าทัน และป้องกันตัวเองได้อย่างดี ห่างไกลจากมิจฉาชีพ กลลวงที่มิจฉาชีพมักใช้บ่อยๆ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1.หลอกขายสินค้าออนไลน์

  • คดีหลอกลวงทางออนไลน์อันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เปิดเพจใหม่และมักอ้างของดีราคาถูกเกินจริง , จะปิดโรงงาน หรืออ้างชื่อเน็ตไอดอลควรตรวจสอบเพจขายสินค้า/บัญชีธนาคาร ก่อนโอนเงิน

2.หลอกให้ทำงานเสริมผ่านออนไลน์

  • คดีหลอกลวงทางการเงินอันดับหนึ่ง/ค่าเสี่ยหายสูง โดยส่งข้อความชักชวนทำงานหารายได้พิเศษผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แค่กดไลท์ กดแชร์ หรือสต๊อก(ลม)สินค้า ก็มีรายได้ โปรดระวัง ไม่มีงานเสริมออนไลน์ที่ได้เงินง่ายๆ และต้องโอนเงินไปก่อน

3.หลอกกู้เงินออนไลน์

( เงินกู้ทิพย์ )

  • สร้างเว็บไซด์ปลอม หลอกให้โอนเงินค้ำประกัน ค่าธรรมเนียมก่อนกู้ ควรตรวจสอบข้อมูลผู้ได้รับอนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อน (https://www.bot.or.th)

( ดอกเบี้ยโหด )

  • ได้เงินจริง แต่บังคับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ แล้วติดตามทวงเงินจากลูกหนี้และคนรู้จักด้วยการข่มขู่ หรือสร้างความร่ำคาญ

4.ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว ( Call Center )

  • โทรมาอ้างเหตุว่าเกี่ยวข้องกับผู้เสี่ยหาย เช่น พัสดุตกค้าง โทรศัพท์จะถูกตัด มีใบสั่งจราจรฯลฯ แล้วโอนสายให้ตำรวจปลอม ข่มขู่ว่ากระทำผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และหลอกให้โอนเงินไปตรวจสอบ ตั้งสติเราไม่เคยกระทำผิด ไม่เชื่อ ไม่โอนตำรวจ หรือ เจ้าหน้าที่รัฐจริงจะไม่มีการให้โอนเงินไปตรวจสอบ

5.หลอกให้ลงทุนในรูปแบบต่างๆ

  • สร้างข้อมูลปลอมทางการเงิน ชักกชวน ใช้เงินทำงานสร้างรายได้ โดยลงทุนเทรดเงินดิจิกัล เงินตราต่างประเทค(forex) ทอง น้ำมัน ฯลฯ พึงระวังการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ผู้หลอกลวงมักอ้างได้กำไรตลอด

6.หลอกให้รักแล้วลงทุน

  • โดยปลอมแปลง PROFILE เป็นบุคคลหน้าตาดี เข้ามาตีสนิทจาก APP หาคู่ /หรือบัญชีออนไลน์ สอนให้ลงทุน แล้วหลอกให้ลงทุนใน APP หรือโปรแกรมลงทุนปลอม เช่น เทรดหุ้นปลอม เงินดิจิทัลปลอม สกุลเงินปลอม ทองคำทิพย์ เป็นต้น

13 แอปพลิเคชัน

7. หลอกให้รักแล้วโอนเงิน / หรือยืมเงิน

  • โดยปลอม PROFILE เป็นบุคคลหน้าตาดี ทำความรู้จักผ่านบัญชีออนไลน์ ตีสนิทหลอกให้รัก ทำทีจะส่งทรัพย์สินมาให้จากต่างประเทศ แต่สุดท้าย ลวงเอาเงินค่าธรรรมเนียมต่าง ๆ หรือ หลอกให้โอนเงิน โดยอ้างว่าจะคืนให้หลายเท่าตัว

8.ปลอม /หรือ HACK บัญชี LINE / Facebook แล้วมาหลอกยืมเงิน

  • คนร้ายหลอกเอารหัสเพื่อเข้ายึดบัญชีไลน์/เฟสบุ๊ก แล้วส่งข้อความยืมเงินจากคนที่รู้จัก หรือโทรอ้างว่าเป็นบุคคลที่รู้จักเพื่อยืมเวิน อย่าโอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น เพื่อนยืมเงินต้องโอนเข้าบัญชีเพื่อน หรือตรวจสอบโทนหาเพื่อนที่ไลน์ หรือเบอร์เดิม

9. แชร์ลูกโซ่

  • สร้างเรื่องราวทางธุรกิจที่ได้กำไรเกินจริง ต่ไม่มีจริง เน้นหาสมาชิกใหม่มาลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง อย่าเชื่อเพียง คำโอ้อวดของผู้ชักชวน ต้องหาข้อเท็จจริงที่มาของกำไรของบริษัทก่อนลงทุน

10.การพนันออนไลน์

  • โฆษณาชักชวน เล่นการพนันออนไลน์ เล่นง่ายรวยเร็ว ชื่อตรงปลอดภัย ผิดกฎหมาย ไม่มีใครรวยจากการพนัน เข้าข่าย ฟอกเงินและถูกยึดทรัพย์

11.หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ทางไกล (เพื่อขโมยข้อมูล)

  • หลอกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมทางไกล TeamViewer หรืออื่นๆ ขโมยข้อมูลบัญชีเงินฝาก การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่รู้จัก เป็นอันตรายต่อโทรศัพท์และข้อมูลทางการเงิน รหัสทุกอย่างเป็น “ความลับ” อย่ให้กับคนอื่น

12.ส่ง QR Code หลอกให้โอนเงิน

  • โดยคนร้ายอ้างว่า จะคืนค่าสินค้า โดยหลอกให้เหยื่อสแกน QR Code ซึ่งเป็นการโอนเงินให้แก่คนร้าย บางกรณี จะเป็นการให้กรอกข้อมูลบัญชีธนาคารของท่าน และรหัสผ่านเพื่อขโมยเงินของท่าน (เหยื่อ)

13 แอปพลิเคชัน

13. ฉ้อโกงรูปแบบอื่นๆ

  • โดยหลอกลวงด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ให้ท่านโอนเงินให้คนร้าย เช่น ผู้โชคดีได้รับรางวัล ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษ ได้โรงแรมที่พักฟรี ได้สิทธิ์พิเศษต่าง ๆ เป็นต้น แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนล่วงหน้าให้คนร้าย ซึ่งแอบอ้างเป็นหน่วยงาน เช่น ธนาคาร การไปรษณีย์ กรมศุลกากร เป็นต้น โดยส่ง LINK ปลอม เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล  ขโมยเลขที่บัญชีธนาคาร รหัส Password เป็นต้น

14) โฆษณาเชิญชวนไปทำงานต่างประเทศ

  • หลอกให้หลบหนีออกนอกประเทศ บังคัมกักขังให้ทำงานผิดกฎหมาย ใช้แรงงานไม่เป็นธรรมเยี่ยงทาส ศึกษาข้อมูลการเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศได้ที่เว็บไซต์ www.doe go.th/ overseas หรือสอบถามข้อมูลสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

15.หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย

  • หลอกลวงให้ถ่ายภาพเปลือยโดยอ้างว่านำไปรีวิวสินค้า ถ่ายแบบ เพื่อแลกกับเงินเล็กน้อย แต่กลับนำภาพไปข่มขู่เพื่อเรียกเงิน การถ่ายภาพนิ่ง/เคลื่อนไหวผ่านสื่อออนไลน์ทุกชนิด คนร้ายสามารถบันทึกข้อมูลได้

16. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร ( บัญชีม้า )

  • รับจ้างเปิดบัญชีให้คนร้าย เท่ากับร่วมมือกระทำผิดกับคนร้ายที่นำบัญชีไปใช้ ระวัง ทั้งติดคุกฟรีและถูกยึดทรัพย์ หากบัญชีถูกนำไปใช้ฉ้อโกงประชาชน หรือคดีมูลฐานฟอกเงิน

17. ข่าวปลอม ( Fake News )

  • เผยแพร่หรือแซร์ข่าวจากแหล่งข่วที่ไม่น่เชื่อถือ หรือข้อความที่ส่งต่อกันในสื่อสังคมออนไลน์ ช้วร้ ก่อน แซร์ ตรวจสอบข้อมูล ได้ที่

18. เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ ( Ransomware)

  • มิจฉาชีพหลอกแนบไฟล์หรือลิงก์ติดตั้งไวรัลมากับอีเมส์ หรือในโปรแกรมที่ละเมิดสิขสิทธิ์ เมื่อโหลดมาใช้ ข้อมูลในเครื่องจะถูกล็อกใช้งานไม่ได้ ต้องจ่ายเงินเพื่อปลดล็อก อย่าโหลดไฟล์ที่ไม่รู้จัก สำรองข้อมูลไว้นอกเครื่องเป็นประจำ ตรวจสอบก่อนเปิดไฟล์ หรือ เอกสารแนบ

13 แอปพลิเคชัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo