General

‘ใบสั่งจราจร’ ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน เช็คได้ ของจริง-ของปลอม ด้วย 2 วิธีง่ายๆ

มุขใหม่ มิจฉาชีพส่งใบสั่งปลอม หลอกเหยื่อให้สแกนคิวอาร์โค้ดดูดเงินตำรวจ PCT” ย้ำใบสั่งจริงครั้งแรกจะมีรูปรถทะเบียน พร้อมข้อหากระทำผิด 2 ขั้นตอนเช็กได้ของจริงของปลอม”

มุขใหม่ มิจฉาชีพส่งใบสั่งปลอมถึงบ้าน หลอกเหยื่อให้สแกนคิวอาร์โค้ดดูดเงิน ล่าสุดศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว พร้อมภาพใบสั่งจราจร ที่ส่งทางไปรษณีย์โดยไม่มีรูปภาพรถที่ได้กระทำความผิดกฎจราจร โดยข้อความระบุว่า ค่าปรับจราจร จะต้องมีรูปรถเราตอนผิดกฎจราจรด้วย ส่งเป็นใบแบบไม่มีรูป ไม่ใช่จดหมายราชการ แต่เป็นแก๊งค์ดูดเงินนะครับ เริ่มโดนกันแล้วภัยรูปแบบใหม่รับจดหมายลงทะเบียนแล้วเค้าให้สแกนคิวอาร์โค้ด โดนไปแสนกว่าบาทจากบัตรเครดิต เปลี่ยนจาก call center เป็นหนังสือราชการ ถึงตัวเลย ระวังห้ามสแกนบาร์โค้ดเด็ดขาดให้บอกคนในบ้านทุกคนด้วยอันตรายจริงๆ

ใบสั่งจราจร

ขั้นตอนการออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ มีรายละเอียดดังนี้

สำหรับการออกใบสั่งเขียนหรือใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ตาม พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา 140 และมาตรา 141 ที่ทำการส่งไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถ

  1. ครั้งแรก ใบสั่ง อิเล็กทรอนิกส์ จะมีรูปถ่ายรถ หมายเลขทะเบียนรถ และข้อหากระทำความผิดครบ หากไม่จ่ายค่าปรับใน 7 วัน จะมีใบเตือน
  2. ครั้งที่สอง เป็นใบเตือนให้ชำระค่าปรับ ใบสั่ง ซึ่งในเอกสารครั้งที่สองนี้ จะไม่มีรูปถ่ายรถประกอบ แต่จะมีแค่ QR code บอกวิธีการชำระเงิน และ มีลายเซ็นนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไป เซ็นประกอบ แต่ยืนยันว่า เป็นเอกสารทางราชการจริง

ผู้ได้รับใบสั่งจราจร สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ว่าเป็นใบสั่งจริง คลิกที่นี่ 

2 ขั้นตอนเช็กได้ ของจริงของปลอม

  1. สามารถนำเลขที่ใบสั่ง เข้าไปตรวจสอบที่ (คลิกที่นี่)
  2. จุดสังเกตที่สำคัญ คือ บัญชีธนาคารปลายทางที่จะรับเงิน ต้องเป็นบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร” เท่านั้น (ถ้าเป็นบัญชีส่วนบุคคลให้สงสัยว่าเป็นใบสั่งปลอม)

ใบสั่งจราจร

ใบสั่งจราจร

ใบสั่งจราจร

ใบสั่งจราจร

หากพบเบาะแส หรือข้อสงสัยเรื่องภัยออนไลน์ต่างๆ สามารถแจ้งหรือสอบถามได้ที่ สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-8663000 หรือผู้เสียหายสามารถแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ thaipoliceonline และติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ pctpr.police.go.th

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo