General

เปิด 5 วิธีป้องกันตัวเอง จาก ‘โรคฝีดาษลิง’ อาการแบบไหนต้องพบแพทย์

เช็คที่นี่!! 5 วิธีดูแล-ป้องกันตัวเอง จาก “โรคฝีดาษลิง” ไวรัสจากสัตว์สู่คน อาการแบบไหนต้องพบแพทย์ รักษาได้ไหม?

จากกรณีไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อ “ฝีดาษลิง”  (Monkeypox) ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีอาการต้องสงสัยเข้าได้กับฝีดาษวานร โดยมีตุ่มขึ้นที่ใบหน้า ลำตัว แขนขา และอวัยวะเพศ

ฝีดาษลิง

ล่าสุดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้เผย การดูเเลป้องกันตนเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคฝีดาษลิง โดยโรคฝีดาษลิง (Monkeyopox) ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง และตุ่มหนองของสัตว์
  2. ทานเนื้อสัตว์ปรุงสุก
  3. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
  4. ไม่ควรทานเนื้อสัตว์ป่าหรือนำสัตว์ป่ามาเลี้ยง
  5. สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่

ฝีดาษลิง แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่

  1. ระยะฟักตัว จะไม่แสดงอาการช่วง 5 – 44 วันหลังจากได้รับเชื้อ
  2. ระยะไข้ 1 – 4 วัน มีอาการปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลือง
  3. ระยะผื่น 1 – 2 สัปดาห์ จะเริ่มจากผื่นแบน ผื่นนูน ผื่นมีน้ำใสใต้ผื่น โดยผื่นมักจะขึ้นที่บริเวณใบหน้า แขน และขา มากกว่าที่ลำตัว โดยลักษณะของผื่นจะเริ่มจากจุดแดง ๆ กลม ๆ หลังจากนั้นผื่นจะกลายเป็น ตุ่มน้ำใส และกลายเป็นตุ่มหนอง และกลายเป็นสะเก็ด เป็นช่วงระยะเวลาที่สามารถแพร่เชื้อได้สูงสุด
  4. ระยะฟื้นตัว ใช้เวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์

โรคฝีดาษลิง

 อาการแบบไหนต้องพบแพทย์ รักษาได้ไหม?

หากเราพบผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่สงสัยติดเชื้อ จะต้องแยกผู้เสี่ยงติดเชื้อออกจากผู้อื่น เป็นเวลา 21 – 28 วัน จนกว่าผื่นจะตกสะเก็ด ในกรณีที่เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกันกับผู้เสี่ยงติดเชื้อ (อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน, เป็นสามีภรรยากัน, มีความสัมพันธ์กัน) ให้สังเกตอาการของตนเอง และแยกตัวเองออกจากผู้อื่นเช่นเดียวกัน

โดยพบว่า ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน (ผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ.2023) หรือมีอายุมากกว่า 42 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน 5 เท่า หรือลดโอกาสการเป็นโรคได้ 80-90%

โรคฝีดาษลิง

ปัจจุบัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ฝีดาษลิงที่มีอาการรุนแรง โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคได้เอง ในระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ในกรณีที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัว จะมีการรักษาโดยใช้ยา Tecovirimat, Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกันกับที่ใช้รักษาโรคไข้ทรพิษ

ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลศิครินทร์ 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo