General

เตือน 9 จังหวัด เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง 3-7 ต.ค. เตรียมยกของขึ้นที่สูง

สทนช. เตือน 9 จังหวัด เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง 3-7 ต.ค. แจ้งเตือนประชาชน เตรียมพร้อมยกของขึ้นที่สูง-อพยพ ทันท่วงที

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เรื่อง  เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง โดยได้ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักสะสมบริเวณภาคเหนือ ทำให้มีน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้นและมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำปริมาณมาก

โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำสูงสุด และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ในวันที่ 3 – 6 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคใต้

เสี่ยงน้ำหลาก

พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง 3-7 ต.ค.

สทนช. ได้วิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมี พื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ตุลาคม 2566 ดังนี้

เสี่ยงน้ำหลาก

  1. เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม
  • จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอจอมทอง แม่แจ่ม อมก๋อย แม่วาง แม่แตง ฝาง ดอยเต่า ฮอด ดอยสะเก็ด และกัลยาณิวัฒนา)
  • จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง สามเงา บ้านตาก แม่ระมาด วังเจ้า อุ้มผาง แม่สอด และพบพระ)
  • จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอโกสัมพีนคร คลองลาน และปางศิลาทอง)
  • จังหวัดลำพูน (อำเภอลี้ และทุ่งหัวช้าง)
  • จังหวัดแพร่ (อำเภอวังชิ้น และลอง)
  • จังหวัดลำปาง (อำเภอเถิน แม่ทะ เสริมงาม และเกาะคา)สทนช.
  1. เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ

2.1 แม่น้ำวัง ได้แก่ อำเภอสามเงา และบ้านตาก จังหวัดตาก

2.2 แม่น้ำยม ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก ศรีนคร ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

2.3 แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200 – 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร

เสี่ยงน้ำหลาก

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือ

ในการนี้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการ ดังนี้

  1. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
  2. วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และระบบชลประทานเพื่อเป็นการหน่วงน้ำที่ไหลลงมาสมทบแม่น้ำสายหลักให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจัดการจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำ ที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำยม และแม่น้ำเจ้าพระยา
  3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่บริเวณที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo