General

ขับรถทางไกล ลิสต์รายชื่อ ‘ยาต้องห้าม’ ระหว่างขับขี่ยานพาหนะ คลิก!!

ขับรถทางไกล ท่องเที่ยวสงกรานต์ 2566 ต้องรู้! ลิสต์รายชื่อ ‘ยาต้องห้าม’ ระหว่างขับขี่ยานพาหนะ

เทศกาลลงกรานต์ปีนี้ คาดว่าจะมี่การเดินทางท่องเที่ยว เพื่อพักผ่อนกับครอบครัว และกลับบ้านต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก หลังจากชะงักไปในช่วงการระบาดของโควิด 19

อย่างไรก็ตาม การขับรถทางไกล หรือขับติดต่อกันหลายชั่วโมง จะต้องใช้สมาธิและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทั้งสภาพรถ และร่างกายของผู้ขับขี่จึงมีความสำคัญมาก

ยาต้องห้าม

จากข้อมูลของสำนักคณะกรรมการอาหารและยา ระบุว่า การรับประทานยาบางชนิด จะทำให้ร่างกาบเกิดอาการง่วงซึม ซึ่งและส่งผลต่อการตัดสินใจในขณะนั้นได้ ยางบางชนิดจึงเป็น “ยาต้องห้าม’ ห้ามใช้ในขณะขับยวดยานพาหนะ

ยาต้องห้าม

ลิสต์รายชื่อยา  ห้ามใช้ในขณะขับรถ

  1. ยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine) ที่รู้จักกันในชื่อ ยาแก้แพ้หรือยาแก้โรคภูมิแพ้ และกลุ่มยาแก้เมารถ เช่น คลอเฟนิรามีน พบทั้งชนิดที่เป็นยาเดี่ยวและชนิดผสม ส่งผลให้เกิดการกดประสาท ทำให้ง่วงนอน มึนงง มองไม่ชัด นอกจากไม่ควรใช้ยาก่อนที่จะขับขี่ยานพาหนะแล้วไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการดื่มสุรา หรือยาที่มีฤทธิ์กดประสาทด้วย
  1. ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยารักษาโรคจิตเวช และยารักษาโรคทางระบบประสาทบางชนิด เช่น ไดอะซีแพม อัลพาโซแลม ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น เกิดอาการซึมมาก หลับนานผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลให้การตัดสินใจล่าช้า มีผลต่อการทำงานของร่างกายในการรับรู้ของอวัยะต่างๆ และสั่งการทำงานของแขนขา

ซึ่งหากรับประทานยาในกลุ่มนี้แล้วมาขับขี่ยานพาหนะอาจจะมีอาการง่วงซึมค้างจากยา หรือประสิทธิภาพในการตัดสินใจในการขับขี่ลดลง อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

ยาต้องห้าม

  1. ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมอนุพันธ์ของฝิ่น เช่น ทรามาดอล มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้พบผลข้างเคียงตั้งแต่อาการใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึม จนถึงรุนแรง เช่น กดศูนย์การหายใจของร่างกาย กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ประสาทหลอน จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเองขณะที่ใช้ยานี้
  1. ยาแก้ไอหลายชนิดที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น เช่น ยาแก้ไอน้ำดำที่มีส่วนผสมของโคเดอีน จะส่งผลให้คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม ลดประสิทธิภาพในการขับขี่ การใช้ยาในขนาดสูงทำให้การหายใจหยุด ช็อก และหัวใจหยุดเต้น
  1. ยาคลายกล้ามเนื้อ แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดตึง ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย จนบางครั้งอาจทำให้แขนขาอ่อนแรง และใช้งานในการควบคุมได้ไม่ดีพอ
  1. ยาประเภทอื่น ๆ เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคหัวใจ และยาหยอดตา ที่มีผลรบกวนการขับขี่ยานพาหนะ

ยาที่ส่งผลต่อการขับขี่ยานพาหนะ พบได้ทั้งชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งได้จากโรงพยาบาล และเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อได้เองตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป ดังนั้นก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำบนฉลาก และปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo