General

‘อภัยภูเบศร’ เผยผลวิจัย มะขามป้อม ขมิ้นชัน บัวบก ช่วยป้องกัน ‘ซีเซียม-137’

“อภัยภูเบศร” แนะใช้สมุนไพรไทย มะขามป้อม ขมิ้นชัน บัวบก สร้างเกราะป้องกันจาก “ซีเซียม-137” พร้อมแนะนำวิธีการทาน 

ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าววถึงกรณีผลกระทบจากสารกัมของสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ว่า ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก และจึงเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ และการดูแลสุขภาพเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้

ซีเซียม-137

ทั้งนี้ สารซีเซียมจะแผ่รังสีหลัก ๆ คือ แกมมา และ เบตา ดังนั้นการสัมผัสต้องรู้ว่าเราสัมผัสที่ตัวสารกัมมันตรังสี หรือสัมผัสรังสี ซึ่งผลจะต่างกัน โดยหากสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137

สำหรับอาการที่พบคือ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสี จะเกิดแผลไหม้พุพอง ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้

ส่วนกรณีได้รับหรือสัมผัสรังสี เป็นปริมาณสูง ๆ ระยะเวลานาน ก็มีโอกาสที่จะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลา จึงต้องมีระบบความปลอดภัยที่ตรวจสอบปริมาณรังสีไว้รองรับ

ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว
ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว

ดร.ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า ฃในระยะหลังมีงานวิจัยสมุนไพรที่ใช้ป้องกันรังสี อยู่พอสมควร เพราะเรานำรังสีต่าง ๆ มาใช้ในทางการแพทย์ ทางอุตสาหกรรม และมีโอกาสที่ประชาชน จะรับเอารังสีพวกนี้เข้าไปในร่างกายอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นการศึกษาในเซลล์และสัตว์ทดลองเป็นส่วนใหญ่

ในเรื่องของการป้องกันซีเซียมนั้น มีงานวิจัยการใช้มะขามป้อมในหนู โดยใช้น้ำต้มมะขามป้อมที่มีวิตามินซี เทียบเท่าการบริโภคในคน 500 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้วิตามินซีสังเคราะห์ และกลุ่มที่ไม่ให้อะไรเลย ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน ก่อนที่หนูได้รับซีเซียมคลอไรด์ หรือเกลือของซีเซียม

ผลการทดลอง พบว่า หนูกลุ่มที่ได้เพียงน้ำและอาหารปกติ มีความผิดปกติของโครโมโซมมากที่สุด ส่วนหนูที่ได้สารสกัดน้ำมะขามป้อมมีโครโมโซมผิดปกติน้อยที่สุด รองลงมาคือ วิตามินซีสังเคราะห์

จากการวิจัยครั้งนั้นทำให้พบว่า มะขามป้อมมีฤทธิ์ช่วยต้านการทำให้โครโมโซมผิดปกติ มาจากวิตามินซี แต่ปัจจุบันพบว่า ในมะขามป้อมมีสารอื่น ๆ เช่น แทนนิน ฟลาโวนอยด์ ที่เป็นประโยชน์ในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านก่อการกลายพันธุ์

shutterstock 1938232486

นอกจากนี้ สารสกัดมะขามป้อม ยังมีการศึกษาฤทธิ์ป้องกันรังสี ทั้งรังสีแกมมา และ รังสีอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของเลือดและค่าชีวเคมี ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตในหนูที่ได้รับรังสี ลดผลกระทบจากรังสี

ดังนั้น ในกรณีอยู่ในพื้นที่เสี่ยง แนะนำให้กินแบบมะขามป้อมต้มน้ำเพื่อป้องกัน โดยปัจจุบันข้อมูลโภชนากรพบว่า 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะมีมะขามป้อมประมาณ 276 มิลลิกรัม  ถ้ากิน 500 มก.-1 กรัม/วัน ให้กิน 2-4 ขีด ซึ่งก็ถือว่ามากพอสมควร และต้องระวังท้องเสียในคนที่ธาตุเบา

อีกวิธีคือ การผลิตแบบอายุรเวท ที่เขียนในงานวิจัยว่า เอามาผลมะขามป้อม ผสมกับผง แล้วทำให้แห้ง ทำแบบนี้ 21 ครั้ง จะมีวิตามินซีเพิ่มขึ้น 3 เท่า ก็อาจจะเลือกสมุนไพรอื่นที่ก็มีหลักฐานเช่นกัน

อีกสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกัน ซีเซียม คือ ขมิ้นชัน ที่มีสารสำคัญอย่าง เคอร์คูมิน มีคุณสมบัติปกป้องเซลล์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบของเซลล์ และต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย ลดอัตราการตายจากรังสี

shutterstock 1779596462

ทั้งนี้ มีการศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันรังสีรักษาของเคอร์คูมิน 3 กรัม/วัน ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ก่อนได้รังสีไปจนถึงระหว่างให้รวม 3 เดือน พบว่า ลดผลข้างเคียงจากรังสีรักษาได้ เมื่อเทียบกับไม่ใช้

สำหรับประชาชนจะใช้ขมิ้นชันนั้น อาจจะพิจารณาจากงานวิจัยอีกชิ้นที่พบว่า ขมิ้นชันมีเคอร์คูมินอยู่ 3.14% ดังนั้นหากจะกิน 3 กรัมจะต้องกินผงขมิ้น ประมาณ 100 กรัมหรือ 1 ขีด แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังในผู้ป่วย ท้องผูก หรือผู้ป่วยที่มีท่อน้ำดีอุดตัน หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

สมุนไพรอีกชนิดคือ บัวบก โดยมีงานวิจัยว่าช่วยลดผลกระทบจากรังสี เช่น การรับรสที่ผิดไป และน้ำหนักตัวที่ลดลงในหนูที่ได้รับรังสี โดยมีกลไกในการปกป้องเซลล์ ทั้งระดับ DNA และโครโมโซม เมื่อเทียบงานวิจัยในหนูมาเป็นคน สามารถกินบัวบกใบเล็กที่มีสารสำคัญทางยาสูงประมาณ 1 ขีด ปั่นกับน้ำสะอาด การกินต่อเนื่องไม่ควรเกิน 1-2 เดือน และต้องระวังความเย็นที่ทำให้ท้องอืดเฟ้อได้

การวิจัยส่วนใหญ่เป็นการป้องกัน อาจนำมาใช้ในกรณีที่ต้องเข้าพื้นที่เสี่ยง กินช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วหยุด แต่ทางที่ดีที่สุดคือไม่สัมผัส แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ สมุนไพรที่มีประวัติเป็นอาหารเหล่านี้ ก็อาจเป็นทางเลือกได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo