General

พีคไม่หยุด! เพิ่ม ‘PM2.5’ เผย ‘จุดความร้อน’ ยังทะยานกว่า 1,200 จุด ส่วนใหญ่เกิดจากเผาพื้นที่เกษตร

พีคไม่หยุด! เพิ่ม ‘PM2.5’ GISTDA เผย ‘จุดความร้อน’ ยังทะยานกว่า 1,200 จุด ส่วนใหญ่เกิดจากเผาพื้นที่เกษตร

GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) ไทยพบจุดความร้อนวานนี้ (1 ก.พ. 66) จำนวน 1,208 จุด ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างราชอาณาจักรกัมพูชาพบจุดความร้อน จำนวน 1,713 จุด ตามด้วยสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 1,072 จุด สปป.ลาว 927 จุด เวียดนาม 522 จุด และมาเลเซีย 4 จุด

PM2.5

พบจุดความร้อนมากที่สุด  ในพื้นที่เกษตร และป่าสงวน

สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตร 294 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 293 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 273 จุด พื้นที่เขต สปก. 204 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 127 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 17 จุด ส่วนจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด คือ ชัยภูมิ 133 จุด กาญจนบุรี 128 จุด และ ลพบุรี 50 จุด ตามลำดับ ส่วนภาคเหนือสูงสุดที่จังหวัด เชียงราย 47 จุด

จากภาพแสดงให้เห็นว่าจุดความร้อนยังคงกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ (ยกเว้นทางใต้) คาดว่าน่าจะเกิดจากการเตรียมพื้นที่เพื่อการเกษตร หรือการเข้าไปหาของป่า เนื่องจากพื้นที่ที่พบจุดความร้อนมากที่สุดคือพื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจุดความร้อนตั้งแต่ 1 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2566 พบว่า ภาคเหนือมีจุดความร้อนแล้วจำนวน 6,076 จุด ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,800  จุด และภาคตะวันออก 1,105 จุด ตามลำดับ

PM2.5

ไฟป่า จุดความร้อน มาพร้อม PM2.5

สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้าน อาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา

ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม

PM2.5

ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้ GISTDA ยังคงติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo