COVID-19

ทำความรู้จัก ‘LAAB’ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ป้องกันติดเชื้อโควิด ใครมีสิทธิได้บ้าง

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชวนทำความรู้จัก “LAAB” ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หลัง อย. อนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อ 27 มิถุนายน 2565 ใครมีสิทธิได้บ้างเช็คเลย

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยแพร่ยทความเรื่อง แนวทางการให้ Long Acting Antibody (LAAB) ในประเทศไทย ดังนี้

LAAB

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ซึ่งได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการให้วัคซีนโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนไทย โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา

แต่ยังมีประชากรบางกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือได้รับวัคซีน แต่ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรค ได้แก่ กลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มผู้ป่วยฟอกไต กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น จึงได้มีการพัฒนาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long Acting Antibodies; LAAB) เพื่อใช้สร้างภูมิคุ้มกัน ในประชากรดังกล่าว

shutterstock 1506051596 3

Long Acting Antibody คืออะไร

Long Acting Antibody คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว ที่ประกอบด้วยแอนติบอดีสองชนิด ได้แก่ Tixagevimab และ Cilgavimab ซึ่งพัฒนามาจากบีเซลล์ของผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และได้พัฒนาเพิ่มเติมเพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิตให้ยาวนานกว่าแอนติบอดีทั่วไปอย่างน้อย 3 เท่า

โดยมีหลักฐานยืนยันว่า สามารถออกฤทธิ์ลบล้างเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทั้งต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่าง ๆ

จากข้อมูลการศึกษาระยะที่สามในต่างประเทศ พบว่า LAAB มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบมีอาการ ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง หรือผู้ที่อาจมีการตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะ หรือโรคร่วมต่าง ๆ  เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้ สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบมีอาการได้ 77% หลังจากได้ยาหนึ่งโดสไปแล้ว 3 เดือน และ 83% หลังจากได้ยาแล้ว 6 เดือน โดยพบรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการศึกษาระยะที่สามเพียงเล็กน้อย อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับน้อยถึงปานกลาง

ยา 1

LAAB ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในสหภาพยุโรป เพื่อใช้สำหรับป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศทั่วโลก

ส่วนประเทศไทย นำเข้าภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป และฉีดครั้งแรกให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต ที่สถาบันบำราศนราดูร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา และส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม

กลุ่มเป้าหมายระยะแรก คือ ผู้ป่วยไตวายระยะเรื้อรัง ที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกไต) ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก โดยสามารถปรึกษาแพทย์ หรือสามารถติดต่อเข้ารับการฉีดได้ที่สถานพยาบาล

ขนาดต่อโดส: 300 มก. (Tixagevimab 150 มก. และ Cilgavimab 150 มก.) ใน 1 กล่อง บรรจุขวดแก้ว 2 ขวด ประกอบด้วย

  • ขวดฝาสีเทาเข้ม: บรรจุยา Tixagevimab ขนาด 150 มก. ในปริมาตร 1.5 มล. (100 มก./1 มล.)
  • ขวดฝาสีขาว: บรรจุยา Cilgavimab ขนาด 150 มก. ในปริมาตร 1.5 มล. (100 มก./1 มล.)

LINE ALBUM Covid atk สถานที่ต่างๆ ๒๒๐๖๐๒

กำหนดการให้ Long Acting Antibody 

  • กำหนดให้ LAAB จำนวน 1 ครั้ง ครั้งละ 2 เข็ม โดยใช้เข็มขนาด 23-25G ความยาว 1-1.5 นิ้ว
  • แนะนำให้แยกฉีด Tixagevimab และ Cilgavimab เข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพก (Gluteal muscle) ชนิดละข้าง ข้างละ 1.5 มล.
  • ให้เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที

ผลข้างเคียง 

1. ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน รวมถึงอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) แต่พบไม่บ่อย

2. อาการผิดปกติบริเวณที่ฉีดยา บวม แดง ปวด

3. มีผื่น หรือ ลมพิษหลังฉีดยาซึ่งมาจากการที่มีภูมิไวเกิน

4. ไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์ หรือ สตรีให้นมบุตร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo