COVID-19

ได้เวลานับถอยหลัง โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ‘ดร.สันต์’ ชี้ 4 ประเด็นที่ยังต้องลุ้น

“ดร.สันต์” ฟันธงโควิดขาลงมั่นคง นับถอยหลัง 1 เดือนเข้าสู่โรคประจำถิ่น พร้อมสรุป 4 ประเด็นที่ต้องช่วยกันลุ้น

ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท กรีนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sunt Srianthumrong เรื่อง โควิด-19 อัพเดทกราฟขาลง โอไมครอน BA.5 ระลอก 6 มองไปข้างหน้า 1 เดือน จนถึงโรคประจำถิ่น (Endemic) ดังนี้

shutterstock 1654034092
โรคประจำถิ่น

ได้เวลาเริ่มนับถอยหลังครับ

เราเข้าสู่ช่วงขาลงที่มั่นคงดีมากมาพักใหญ่ แม้จะเปิดเมือง ทำกิจกรรมที่ถอดหน้ากากกันเยอะมากแล้ว แนวโน้มข้างหน้ายังคงเป็นข่าวดีครับ

กราฟ %Increase:

1. ตัวเลขจริงลดลงเหลือ 1.6% วิ่งตามเส้นประสีเหลือง ด้วยแนวโน้มที่มั่นคง ตามเส้นตรงเส้นเดิมมาได้ยาวนานกว่า 2 เดือน

2. ค่า Time Constant ปัจจุบันอยู่ที่ 25 วัน ซึ่งหมายถึง ขนาดของ Wave จะเล็กลงเหลือ 36% ทุกๆ 25 วัน

3. กราฟกำลังเข้าใกล้ 1% ซึ่งหลังจากลดลงต่ำกว่าระดับนี้ อาจเปลี่ยนแนวโน้มเข้าสู่จุดอิ่มตัวที่ 0.5% ในช่วง 1 ตุลาคม ที่เข้าสู่โรคประจำถิ่นพอดี

1 2

4. กราฟที่จุดอิ่มตัวนี้จะกำหนดอัตราการติดเชื้อสุดท้ายที่จะเป็นค่า Background Infection ต่อไปอีกยาวนาน จนกว่าจะได้วัคซีนประเภทใหม่ เช่น Dual-variant Covid Vaccine ซึ่งกำลังมาแล้วใน EU, US

กราฟผู้ติดเชื้อรายวัน ประเมินจากอัตราการเสียชีวิต 0.035%

1. ผู้ติดเชื้อรายวันช่วงวันที่ 4 กันยายน ทั้งที่เข้าระบบหรือไม่เข้า แจ้งและไม่แจ้ง น่าจะประมาณวันละ 40,000 คน ลงมาต่ำกว่า 50% ของจุดสูงสุดของ Wave #6 ที่ประมาณ 90,000 แล้ว

2. ผู้ติดเชื้อรายวัน ช่วง Endemic วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ควรอยู่ที่ประมาณ 16,000 – 20,000 คน และอาจเข้าสู่จุดอิ่มตัวที่ไม่ลดลงไปกว่านี้แล้ว

3. ตัวเลขในข้อ 2 คิดเป็น 10% ของจุดสูงสุดของ โอไมครอน ระลอก 5 และ 20% ของ โอไมครอน สายพันธุ์ BA.5

2 เสียชีวิต

 

3. ผู้ติดเชื้อรายวัน 20,000 คนสำหรับประเทศไทยหมายถึง คนไทย 1 คนมีโอกาสติดเชื้อเฉลี่ย 1 ครั้งทุก ๆ 10 ปี ซึงถือว่าน่าจะป็น Endemic แล้วจริง ๆ โอกาสดีกว่านี้ยากมากสำหรับไวรัสที่แพร่ได้รวดเร็วระดับแชมป์โลก

4. ผู้เสียขีวิตรายวัน น่าจะลดลงเหลือประมาณ 10 คนต่อวันช่วงวันที่ 1 ต.ค. 2022 และมีโอกาสได้เห็นเลขตัวเดียวหลังจากนั้น

กราฟผู้ติดเชื้อรายวัน ประเมินจากจังหวัดขยันตรวจ

1. เป็นขาลงต่อเนื่องมากได้ 6 สัปดาห์แล้ว และแนวโน้วยังลงต่อไป

2. ผู้ติดเชื้อรายวันที่รายงานเข้าระบบควรอยู่ที่ประมาณ 20,000 คนต่อวัน และแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ

3. มีโอกาสเห็นตัวเลขรายงาน ATK+ เหลือต่ำกว่าวันละ 10,000 ช่วง 1 ตุลาคม

3 ปอดอักเสบ

กราฟ %Change ของผู้ป่วยปอดอักเสบ

1. ลดลงมาอยู่ในแดนลบอย่างต่อเนื่องแล้ว 17 วัน ยืนยันขาลงที่มั่นคง

2. รอบก่อนกราฟสามารถอยู่ในแดนลบได้ 60 วัน

3. โอกาสที่จะเกิด ระลอก 7 ลูกใหม่ ขนาดย่อม น่าจะเป็นช่วงเปิดเทอม พฤศจิกายน 2565

4. เดือนกันยายน-ตุลาคม น่าจะเป็นเดือนที่ดี โดยที่วิถีชีวิตกลับมาเป็นปกติแล้วเป็นส่วนใหญ่

5. ถ้าฉีด Dual-variant Covid Vaccine ได้ทันก่อนพฤศจิกายน ระลอก 7 จะเล็กมาก ๆ แต่ถึงฉีดไม่ทันขนาด Wave ก็ไม่น่ากังวลเพราะน่าจะเล็กลงไปกว่า ระลอก 6 พอสมควร

4 ติดเชื้อรายวัน

ข้อสรุปอื่น ๆ และ 4 ประเด็นที่ต้องช่วยกันลุ้น

1. ผู้ติดเชื้อสะสมที่แท้จริง น่าจะอยู่ที่ประมาณ 19.5-39 ล้านคนแล้ว คิดเป็น 28-56% ของประชากรประเทศไทย ร่วมกับการฉีดวัคซีนไปเยอะมาก น่าจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) แล้ว แบบอินเดีย อเมริกา ยุโรป แอฟริกา และอีกหลาย ๆ ประเทศ

2. คนสูงวัยยังควรต้องไปฉีดวัคซีนให้ครบ เพราะแม้จะ Endemic ก็มีโอกาสติดเชื้อ 1 ครั้งทุก ๆ 10 ปี และโอกาสตายถึง 10% ถ้าไม่ฉีดวัคซีน

3. กราฟเป็นขาลงได้ ทั้ง ๆ ที่คนจำนวนมากยกการ์ดลงกันหมดแล้ว ร้านอาหาร โรงอาหาร สวนน้ำ ออฟฟิศที่ทำงาน ผับบาร์ ไม่ได้ใส่หน้ากากกันแล้ว จึงน่าจะยืนยันได้ว่าเกิด Herd Immunity แล้วเรียบร้อย

4 ประเด็นที่ต้องช่วยกันลุ้น

ลุ้นที่ 1 ค่าติดเชื้อสุดท้าย Background Infection หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ว่าจะต่ำกว่า 20,000 คนต่อวันได้หรือไม่

ลุ้นที่ 2 ผู้เสียชีวิตรายวันจะลดลงต่ำกว่า 10 คนต่อวันได้หรือไม่

ลุ้นที่ 3 เมื่อจะถอดหน้ากากกันหมดในอีกหลายเดือนข้างหน้า การติดเชื้อจะคงระดับต่ำเท่าเดิมได้หรือไม่

ลุ้นที่ 4 ขอให้ Dual-variant Covid Vaccine มาให้ทันก่อนหน้าหนาว แล้ว Wave#7 จะเล็กมาก จนโควิดคงแทบไม่เกิดผลกระทบกับคนไทย และประเทศไทยในภาพรวมอีกต่อไปครับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo