COVID-19

‘หมอนิธิพัฒน์’ ชี้ยุควัคซีนเต็มแขน ลองโควิดลดเหลือไม่ถึง 10% จากผู้ป่วยโควิดทั้งหมด

“หมอนิธิพัฒน์” เผยอาการลองโควิด ลดลงมากเหลือไม่ถึง 10% ในยุควัคซีนเต็มแขน คนป่วยหนักโอกาสเกิดมากกว่าคนอาการน้อย

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล บอกข่าวดี ลองโควิดลดลง หลังคนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยระบุว่า

ลองโควิด

สถิติโควิดวันนี้ลงต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาการหนักต่ำกว่า 800 ใส่เครื่องช่วยหายใจต่ำกว่า 400 ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อในหนึ่งะึงสองสัปดาห์หน้าตัวเลขผู้เสียชีวิตจะลงต่ำกว่า 20 ได้

ขอพักข้องแวะแขวะนักการเมืองไว้สักวัน ผมดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สองวาระรวมสี่ปีจาก 2561-2564 เหตุจากมีงานตกค้างเรื่องการปรับระบบการฝึกอบรมแพทย์เชี่ยวชาญโรคปอดใหม่

แม้งานโควิดจะยังไม่นิ่งนักในต้นปีนี้ แต่ผมก็สละเก้าอี้ให้มีคนมาสานต่อกิจการ ทั้งที่ธรรมนูญสมาคมฯ เปิดทางให้ดำรงตำแหน่งได้สามวาระ ติดต่อกันโดยไม่ต้องส่งให้ใครตีความ

ได้กล่าวถึงภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดขนาดใหญ่หลังฟื้นตัวจากโควิดไปแล้ว ส่วนหลอดเลือดขนาดเล็กล่ะ จะมีปัญหาเหมือนรุ่นเดอะเขาไหม

คำถามที่ได้รับมาจากพวกสายรักการออกกำลังกาย ทำไมทั้งที่ป่วยเป็นโควิดอาการน้อยมาก เช่น ระคายคอหรือไอแค่สองสามวัน ไข้ก็มีบ้างไม่เด่นชัด กินยาลดไข้เดี๋ยวเดียวก็หาย แต่นี่ก็ผ่านมาเกือบเดือนแล้ว ทำไมยังออกกำลังกายหนักไม่ได้เหมือนเดิม

LINE ALBUM covid Omicron ๒๒๐๘๒๕ 0

ก่อนอื่นตั้งสติกันให้ดีก่อนว่า กลุ่มอาการลองโควิด ยุคโอไมครอน ที่วัคซีนเต็มแขน พบน้อยลงเหลือไม่เกิน 10% ของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยทั้งหมด โดยประมาณครึ่งหนึ่งคือ 5% เป็นผลด้านจิตใจ เพราะคนไม่ป่วยจากโควิดในช่วงเวลาใกล้กันก็มีอาการเช่นเดียวกันได้

คนที่ป่วยหนัก จะมีโอกาสเกิดลองโควิดได้มากกว่าคนที่ป่วยไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการ และท้ายสุดคนที่มีปัญหาสุขภาพอยู่เดิม โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ (เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหืด) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (เช่น โรคเอสแอลอีหรือโรคพุ่มพวง) จะมีโอกาสเกิดลองโควิดได้มากกว่าคนทั่วไป

ทีมนักวิจัยจากบราซิล สนใจทำการศึกษาแบบตัดขวาง ในผู้ป่วยโควิดที่ต้องเข้าไอซียูจำนวน 35 คน ภายหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วราว 6 เดือน โดยมีกลุ่มควบคุมที่มีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกัน แต่ไม่ได้ป่วยเป็นโควิดจำนวน 18 คน

ทั้งหมดจะให้ทำการทดสอบการออกกำลังกาย เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจและปอด (cardiopulmonary exercise test) ตามโปรแกรมที่ใช้สำหรับการศึกษาครั้งนี้

พบว่า จลนสาสตร์ของการใช้ออกซิเจน (VO2 kinetics) มีความผิดปกติในคนที่ป่วยด้วยโควิดรุนแรง และยังมีการฟื้นตัวหลังหยุดออกกำลังกายช้าลงด้วย (ดังรูป)

1 15

โดยที่ปัจจัยด้านต่างๆ ของการหายใจ (ventilatory parameters) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม แต่พบว่าผู้ที่รอดจากโควิด มีการตอบสนองของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะออกกำลังกายที่ผิดปกติ

จากทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า แม้ระบบการหายใจในภาพรวมจะดูดี แต่ผู้ที่รอดจากโควิดรุนแรง จะยังคงออกกำลังกายไม่ได้เหมือนเดิม สาเหตุหลักน่าจะมาจากการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ที่มีความผิดปกติตกค้างอยู่ https://journals.physiology.org/…/ajpheart.00291.2022

แต่อย่างที่กล่าวไปในโอกาสต่างกรรมต่างวาระแล้วว่า ยุคนี้ถ้าวัคซีนครบ โอกาสป่วยหนักจากโควิดน้อยมาก ๆ

ส่วนคนที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ส่วนใหญ่ที่เมื่อหายแล้วยังรู้สึกออกกำลังกายไม่ได้เต็มที่ เป็นที่สภาพจิตใจ มากกว่าความผิดปกติทางร่างกาย

แต่หากใครที่ออกกำลังกายแล้วมีระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% ในคนปกติ หรือ 90% ในคนที่โรคปอดเรื้อรังอยู่เดิม ควรรีบปรึกษาแพทย์

หวนคิดไปถึงวันวานครั้งยังอยู่ชั้นม.ศ. 4 ที่โรงเรียนเตรียมอุดม ยามพักเมื่อไรต้องแล่นมาออกกำลังกายด้วยการเตะตะกร้อหน้าห้องเรียน ดังรูป พูดไปชักคันเท้าตะหงิด ๆ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo