COVID-19

2 เดือน ตรวจเจอสายพันธุ์โอไมครอนกว่า 5,000 รายเหลือแค่ 6 จังหวัด ยังไม่มีรายงาน

อัพเดทล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย 2 เดือน ตรวจพบสายพันธุ์โอไมครอนในไทย 5,397 ราย ลั่น เดลตาครอน เป็นเดลตากลายพันธุ์ ไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่  

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โอไมครอนในไทย ช่วงเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา สรุปพบผู้ติดเชื้อโอไมครอน 5,397 ราย ในวันก่อนหน้าพบอีก 715 รายครบทุกเขตสุขภาพ มีเพียง 6 จังหวัดที่ ไม่มีรายงาน คือน่าน ตาก ชัยนาท อ่างทอง พังงา และนราธิวาส

LINE ALBUM covid Omicron ๒๒๐๑๑๐ 0

สำหรับ 10 จังหวัดที่พบโอไมครอนเกิน 100 ราย คือ

  • กทม.1,820 ราย ติดในประเทศ 270 ราย
  • ชลบุรี 521 ราย ติดในประเทศ 295ราย
  • ภูเก็ต 288 รายติดในประเทศ 17 ราย
  • กาฬสินธุ์ 249 ราย ติดในประเทศ 247 ราย
  • ร้อยเอ็ด 237 ราย ติดในประเทศ 237 ราย
  • สมุทรปราการ 222 รายติดในประเทศ 27ราย
  • สุราษฎร์านี 199 ราย ติดในประเทศ 19 ราย
  • มหาสารคาม 163 รายติดในประเทศ 163ราย
  • อุดรธานี 149 รายติดในประเทศ 149 ราย
  • ขอนแก่น 136 ราย ติดในประเทศ 136 ราย

จังหวัก

ทั้งนี้ ผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศแล้วตรวจพบเชื้อโควิด พบว่า 90% เป็นโอไมครอน ส่วนที่ติดในประเทศราว 58% เป็นการตรวจในกลุ่มเสี่ยงสูงที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งอาจสูงเกินจริง จึงได้มอบหมายศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ ปรับการตรวจด้วยการสุ่มตรวจสายพันธุ์สัปดาห์ละ 140 ตัวอย่าง เพื่อให้ได้สัดส่วนสถานการณ์โอมิครอนจริง

อย่างไรก็ตาม การตรวจสายพันธุ์ผู้ติดเชื้อ อาจไม่จำเป็นต้องรู้ว่าสายพันธุ์ไหน เพราะรักษาเหมือนกัน แต่การตรวจพันธุ์เพื่อให้รู้สถานการณ์ และวันนึงที่โอไมครอนครอบคลุม 80-90 % อาจจะลดการตรวจสายพันธุ์ลง

ส่วนกรณีชุดตรวจATK พบว่า จากการสุ่มตรวจ สามารถตรวจจับเชื้อโอไมครอนได้ และไม่มีชุดตรวจ ATK ที่สามารถตรวจโอไมครอนได้เฉพาะ ถ้ามีการโฆษณาว่าตรวจโอไมครอนได้ ขอให้รับทราบว่า เป็นของปลอม

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์

ขณะเดียวกัน จากการหารือกับ GSAID กรณีผู้เชี่ยวชาญที่ไซปรัส ส่งข้อมูลเรื่องค้นพบสายพันธุ์เดลตาครอน ซึ่งพบการกลายพันธุ์ทั้งในส่วนที่เป็นเดลตา และโอไมครอนอยู่ด้วยกันนั้น จากการตรวจเพิ่มพบส่วนที่เป็นโอไมครอนมีความเหมือนกันหมด แต่ส่วนที่เป็น เดลตา มีความแตกต่างกันไป

ดังนั้น GISAID ยังจัดชั้นการค้นพบ 24 รายนี้เป็นสายพันธุ์เดลตา ไม่ใช่เป็นสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด และเป็นไปได้มากที่จะเกิดจากการปนเปื้อนในสิ่งส่งตรวจ คือ ติดเชื้อเดลตา แต่ไปปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโอไมครอน ทำให้พบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียวกัน

อีกหนึ่งอย่างที่อาจจะเป็นไปได้แต่ไม่มากคือ การติด 2 สายพันธุ์ในคนเเดียว ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก หรืออาจเรียกได้ว่าโอกาสน่าจะเป็นศูนย์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo