COVID-19

ระทึก!! พบเดลตากลายพันธุ์ 4 ตัว ล่าสุดสายพันธุ์เดลตายึดครองพื้นที่ 71% ทั่วไทย

ศูนย์จีโนม รามาฯ เผยเจอเดลตากลายพันธุ์ 4 ตัว ด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชี้ ยังไม่มีข้อมูลดื้อต่อวัคซีน และเป็นสายพันธุ์ที่พบในหลายประเทศ ยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย ล่าสุดเดลตาครองพื้นที่ 71% ทั่วประเทศ

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (SARS-CoV-2 whole genome sequencing 30,000 bp) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 จากตัวอย่างที่ส่งมาทั่วประเทศ พบสายพันธุ์ย่อยของเดลตา 4 ตัวล่าสุด

เดลตากลายพันธุ์

ขณะที่สัดส่วนของโควิดกลายพันธุ์ในประเทศไทย จากแอปพลิเคชั่น “Nextstrain Thailand” พบว่า B.1.1.7 (อัลฟา) 11% B.1.351 (เบตา) 14% B.1.617.2 (เดลตา) 71%

สำหรับสายพันธุ์ย่อยของเดลตา 4 ตัว ประกอบด้วย

  • AY.4 หรือ B.1.617.2.4 ช่วงที่พบเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ในพื้นที่ ปทุมธานี 4 ราย บุรีรัมย์ 1 ราย กำแพงเพชร 1 ราย เชียงใหม่ 1ราย สมุทรปราการ 1 ราย ชลบุรี 1 ราย
  • AY.6 หรือ B.1.617.2.6 ช่วงที่พบเดือนกรกฎาคม ในพื้นที่ กทม. 1 ราย
  • AY.10 หรือ B.1.617.2.10 ช่วงที่พบเดือนกรกฎาคม ในพื้นที่ กทม.1 ราย
  • AY.12 หรือ B.1.617.2.15 ช่วงที่พบเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ในพื้นที่ กทม. (พญาไท) 1 ราย สุราษฎร์ธานี 2 ราย

เดลตา 1

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากจำนวนที่พบอยู่ในขณะนี้ถือว่าน้อยมาก ทำให้การแยกย่อยของสายพันธุ์เดลตา ทั้ง 4 ตัว ยังไม่มีข้อมูลว่า มีความดื้อต่อวัคซีนมากน้อยเพียงใด และมีอาการต่างๆแตกต่างจากสายพันธุ์แม่(เดลตา) อย่างไร จึงจะยังคงต้องจับตาดูต่อไป

นอกจากนี้ สายพันธุ์ย่อยของเดลตาทั้ง 4 ตัวดังกล่าว ยังพบในต่างประเทศด้วย เช่น อังกฤษ สเปน เดนมาร์ก และสหรัฐ ดังนั้น จึงยังไม่ใช่สายพันธุ์ไทย แม้ว่าเป็นลูกหลานของสายพันธุ์เดลตาที่พบในประ เทศไทยก็ตาม

อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของสายพันธุ์ไวรัส หากพบว่ามีการระบาดจากคนสู่คนจำนวนมาก ก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ หรือเกิดสายพันธุ์ย่อยได้อีก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo