COVID-19

แยกกักตัวที่บ้าน ผู้ติดโควิด-19 ต้องรู้ ‘อาการ-เช็คความพร้อม-ข้อปฏิบัติ’

ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน โดยทั่วไปใช้เวลา 14 วัน ก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือหลังจากกักตัวยังต้องนิวนอมอล ส่วนคนไหนยังไม่ฉีดวัคซีน พอหายแล้ว ก็ควรฉีดวัคซีน

สสส.ได้จัดทำคู่มือ “การแยกตัวที่บ้าน” เพื่อให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าใจ รวมถึงบรรดาผู้ดูแลผู้ป่วย ดังนี้

การแยกกักตัวที่บ้าน ผ่านระบบติดตามดูแลอาการ เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโควิดอาการไม่รุนแรง หรืออยู่ในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วัน สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อโดยผ่านการยินยอมของหมดและความสมัครของผู้ป่วย

แยกกักตัวที่บ้าน

การแยกกักตัดที่บ้านจะช่วยลดความติดขัดของระบบ การดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมาก ทำให้ระบบบริการสามารถตอบสนองต่อผู้ที่มีความจำเป็นเฉพาะหน้าได้มากขึ้น

แยกกักตัวที่บ้าน

ข้อดีของการแยกตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยสีเขียว

  • ลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่ม
  • การอยู่บ้าน ช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และสุขภาพจิตที่ดี ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว
  • ช่วยให้ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อได้รับการดูแลรักษาที่เร็วขึ้น แก้ปัญหาเดิมที่เข้าไม่ถึงบริการ

แยกกักตัวที่บ้าน

ผู้ป่วยแบบไหนที่ต้องแยกตัวที่บ้าน

ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อ แต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย หรือเรียกว่า “ผู้ป่วยสีเขียว”ซึ่งมีอาการทั่วไปดังนี้

  • มีไข้ วัดอุณหภูมิได่ตั้งแต่ 37.5 องศาเซียลเซียสขึ้นไป
  • ระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96%
  • ไอ มีน้ำหมูก เจ็บคอ
  • ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไร้รส ตาแดง มีผื่น
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่มีอาการหายใจเร็ว ไม่มีอาการหายใจเหนือย ไม่มีอาการหายใจลำบาก
  • ไม่มีปอดอักเสบ

ผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วัน อาการดีขึ้น หมอยินยอม ให้กักตัวที่บ้านต่อ

แยกกักตัวที่บ้าน

เมื่อไหร่สิ้นสุดการแยกกักตัวที่บ้าน

ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้ดูแล ทั้งนี้ ผู้ป่วยมีข้อปฏิบัติหลังหายป่วย ดังนี้

  • ยังต้องระมัดระวังตัวอย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ เพือป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
  • พยายามแยกตัวจากคนอื่น เลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วนโรคเรื้อรัง จนครบ 1 เดือนนับจากวันที่กักตัว
  • หากยังไม่ฉีดวัคซีน แนะนำให้ฉีดวัคซีน โดยเว้น 3-6 เดือนนับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo