COVID-19

สธ.คาดการณ์ ผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม 2,000 ราย/วัน หากผ่อนปรนมาตรการ 100%

สธ.คาดการณ์ผู้ป่วยเพิ่ม 500-2,000 รายต่อวัน ในเดือนพ.ค.-ก.ค. หากผ่อนปรนมาตรการ 100% ศบค.วาง 4 step ค่อยๆแง้ม พร้อมประเมินทุก 14 วัน ดูตัวเลขผู้ป่วย หากกลับมาระบาด พร้อมขึงมาตรการเข้มใหม่ 

report03 018

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ระบุว่า จากการประชุมศบค.ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานวันนี้ ได้ประเมินผลของการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังจากใช้มา 1 เดือน โดยอยากให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการเมืองประจำ ภาครัฐ เอกชน ร่วมมือกันทำงาน โดยให้ยึดหลักสาธาณสุข และหลักการขององค์การอนามัยโลก พร้อมตั้งข้อกังวลภาวะเศรษฐกิจ รายได้ที่ลดลงของประชาชน และผลกระทบของผู้ประกอบการ

โดยกำหนดระยะการผ่อนปรน เป็น 4 ระยะ ตั้งแต่ 25% 50% 75% และ 100% และให้ดูเป็นระยะๆไป กำหนดเวลาทบทวน 14 วันเป็นอย่างน้อย หลังใช้มาตรการไปแล้ว เพราะเป็นระยะเวลาที่ใช้กันตลอดเวลา ในเรื่องการดูเฝ้าอาการของโควิด-19  ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยอมรับกันทั่วโลก

ทั้งนี้ให้ประเมินมาตรการต่อการควบโรค หากเปิดได้ แง้มได้ ก็ปิดได้ หมายถึงมาตรการต่างๆต้องดูด้วยว่าได้ผลหรือไม่ ถ้าได้ผลก็ยึดเวลาออกไป หากเกิดปัญหา ติดเชื้อขึ้นมาจำนวนมากอีก ก็ต้องทบทวน เพราะทุกคนต่างไม่ต้องการให้เกิดการระบาดรอบ 2 เพราะจะทำให้เกิดการสูญมาก และที่เราลงทุนไป ก็จะล้มเหลวทั้งหมด

27Apr สามฉากทัศน์

การประชุมครั้งนี้ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุย ยังได้รายงานการคาดการณ์ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจการผ่อนปรนมาตรการ  แสดงให้เห็นกรณีที่อาจจะเกิดขึ้น หากเกิดการระบาดรอบใหม่ มี 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 หากเป็นแบบสถานการณ์ปัจจุบัน เราควบคุมผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ หรือเกิดรายใหม่ 15-30 รายต่อวัน ภายใต้มาตรการที่ทำอยู่ โดยเฉพาะการห้ามเดินทางเข้าออกประเทศ หลายคนอาจบ่นว่าเข้มเกินไป แต่ก็จะทำให้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นไม่มากนัก หรือเดือนพฤษภาคม- กรกฎาคม เพิ่มอีก 1,889 ราย

กรณี 2  ยังควบคุมผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ และระบบสาธารณสุขรับได้ ภายใต้มาตรการยังชะลอเข้าประเทศไทยต่อไป และมี state Quarantine แต่เปิดให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ ดำเนินกิจการได้ จะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 40-70 รายต่อวัน หรือเกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 4,661 ราย

กรณีที่ 3 เปิดหลายๆกิจการ มีการปล่อยให้เคลื่อนย้าย มีการประชุม ชุมนุม ไม่มีการกัก 14 วัน จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มวันละ 500-2,000 ราย หรือมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 46,596 ราย หากเป็นกรณีนี้ ต้องตามว่าระบบสาธารณสุขรับไหวหรือไม่

27 Tester 01

ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขก็ได้รายงานตัวเลขการตรวจเชื้อ ทำไปได้ทั้งหมด 178,083 ตัวอย่าง และกำลังตรวจเพิ่มขึ้นจากการค้นหาเชิงรุก 

ตัวเลขดังกล่าว บวกกับการสอบถามประชาชน 40,000 คน ที่พบว่ามากกว่า 70% เห็นด้วยกับมาตรการ จึงเห็นควรขยายระยะเวลาประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไป 1 เดือน หรือ วันที่ 1-31 พฤษภาคม

โดยคงมาตรการดังต่อไปนี้

  • ควบคุมการเดินทางเข้าออกราชอาณาจักรต่อไป เพราะเราคุมได้ดี ทั้งประตูต่างรอบชายแดน และด่านการเดินทาง ทางอากาศที่สนามบิน  ให้การแพร่กระจายเชื้อ จากการมาจากผู้เดินทางเข้าประเทศน้อยลง อย่างไรก็ตามจะมีการเสนอครม.ต่อไป
  • ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานระหว่าง  22.00-04.00 น.ต่อไปอีก 1 เดือน
  • งด/ชะลอเดินทางข้ามเขตจังหวัด เพื่อลดการเคลื่อนย้ายคน ลดการเคลื่อนย้ายเชื้อโรคตามไปด้วย ดังนั้นขอให้ประชาชน ลดการเดินทาง ที่ไม่มีเหตุจำเป็น ทำให้การส่งต่อเชื้อโรคข้ามจังหวัดลดลง
  • งดการดำเนินกิจกรรมของคนหมู่มากไปก่อน เช่น ประชุม อบรม สัมมนา ทั้งการชุมนุมที่โล่ง หรือจัดพิเศษ
  • สำหรับกิจกรรมที่จำเป็น ให้ทุกคนต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา และกำกับให้กิจกรรมนั้น ต้องเว้นระยะห่าง วัดอุณหภูมิยืนยันว่าผ่านการตรวจแล้ว ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์  และจำกัดจำนวนคนเข้าร่วม

ส่วนกระแสข่าวว่าศบค.ไฟเขียวให้เปิดห้างสรรพสินค้า ร้านเสริมสวย ตลาดนัด ร้านอาหารขนาดเล็กที่ไม่ติดแอร์ วันที่ 4 พฤษภาคมนั้น ไม่ได้มีการพูดลงรายละเอียดในที่ประชุม และไม่ได้เจาะจงกิจกรรม แต่มีการนำเสนอโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องการผ่อนปรน และยังไม่มีการระบุวันที่แต่อย่างใด โดยพล.อ.ประยุทธ์ ขอให้คิดให้รอบคอบ โดยใช้ชุดข้อมูลสถิติต่างๆมาประกอบการพิจารณา ซึ่งจะมีการประชุมสรุปก่อน และนำเข้าครม.ต่อไป

โดยยืนยันว่าการผ่อนปรนมาตรการไม่ได้เกิดจากคนใดหนึ่งตัดสินใจ แต่มีคนร่วมคิดจำนวนมากในหลากหลายมติ ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายเอ็นจีโอ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัด สมาคมการค้า และเครือข่าย สมาคมธนาคารไทย รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ

รวมถึงการเลื่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือนพฤษาคมนั้น ทางกระทรวงวัฒนธรรมมีข้อเสนอเข้ามาสอบถามในที่ประชุมเรื่องนี้ ก็ต้องรอที่ประชุมครม.วันพรุ่งนี้ถึงจะชัดเจนเช่นกัน

“ทั้งนี้การเปิดสถานที่ต่างๆนั้นพล.อ.ประยุทธ์ กำชับให้ค่อยๆ เปิด และยืดหยุ่น หากเปิดแล้วไม่ดี ก็ปิด เพราะตอนนี้ เรายังต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ ที่ยังไม่มียารักษาได้ รอให้มียารักษา มีวัคซีน เราก็จะกลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติได้ “

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวตอนท้ายว่า หลังจากนี้ จะมีการปรับโฉมใหม่ของการแถลงข่าวจากศบค. โดยจะกระชับเวลามากขึ้น และให้ท่านอื่นๆมาช่วยกันนำเสนอในมิติต่างๆ

Avatar photo