COVID-19

ข่าวดี! วัคซีนโควิดล่าสุด ‘โมโนวาเลนต์ XBB.1.5’ ดีกว่ารุ่นเก่า WHO แนะฉีดรับมือการระบาดปี 67

ข่าวดี วัคซีนโควิดล่าสุด “โมโนวาเลนต์ XBB.1.5” ดีกว่าวัคซีนรุ่นเก่า WHO และ อย.สหรัฐ แนะนำให้ฉีด รับมือการระบาดปี 67

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  ระบุว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ อเมริกา (US FDA) ประสานเสียงเสนอให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 เปลี่ยนมาใช้โอไมครอนสายพันธุ์เดียว XBB เป็นหัวเชื้อหรือต้นแบบในการผลิต “วัคซีนโมโนวาเลนต์”

วัคซีนโควิด

พร้อมแนะนำให้ประเทศต่างๆควรเตรียมตัวเปลี่ยนมาใช้วัคซีน XBB เพื่อให้ทันต่อการป้องกันการติดเชื้อ และทันต่อการป้องกันการเกิดอาการรุนแรง หากติดเชื้อกลายพันธุ์ในปีหน้า (พ.ศ. 2567) แทนการฉีดวัคซีน 2 สายพันธุ์ (ไวรัสอู่ฮั่น+โอมิครอน BA.4/BA.5) หรือ “วัคซีนไบวาเลนต์” ซึ่งได้มีการนำมาใช้ในช่วงปีนี้ (พ.ศ. 2566)  

วัคซีนโควิด

แนะใช้วัคซีนโมโนวาเลนต์ XBB.1.5 รับมือโควิดปี 67

และเพื่อให้การผลิตวัคซีนถึงประชาชน(อเมริกัน)ในเดือน กรกฎาคม 2566 สามบริษัทซึ่งผลิตวัคซีน mRNA และ วัคซีนชิ้นส่วนโปรตีนของโควิด-19 (protein subunit) จึงเลือกใช้โอไมครอน XBB.1.5 เป็นต้นแบบในการผลิตวัคซีนสำหรับใช้ในช่วงฤดูกาล พ.ศ. 2566-2567

ล่าสุดทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ในสหรัฐ อเมริกา นำโดย ศ. เดวิด ดี. โห: นักวิจัยผู้บุกเบิกด้านโรคเอดส์และเอชไอวีระดับนานาชาติ ที่ช่วยเปลี่ยนวิกฤตการณ์เอชไอวีจากโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิต ให้กลายเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถควบคุมได้ ผ่านงานวิจัยบุกเบิกด้านการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหลายชนิด ได้นำเสนอผลงานก่อนตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ “ https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2023.11.26.568730v1 ” แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพสำคัญของวัคซีนโมโนวาเลนต์ XBB.1.5 ที่เพิ่มขึ้น อันเป็นการสนับสนุนข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกในการเปลี่ยนมาใช้“วัคซีนโมโนวาเลนต์ XBB”  กล่าวคือ

วัคซีนโควิด

ประสิทธิภาพสำคัญของวัคซีนโมโนวาเลนต์ XBB.1.5

  1. แอนติบอดีที่ถูกกระตุ้นสร้างขึ้นด้วยวัคซีนโมโนวาเลนต์ XBB.1.5 สามารถเข้าจับและทำลายไวรัสโควิด-19 ได้หลากหลายสายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ ไม่เพียงแต่โอมิครอน XBB.1.5 และ EG.5.1 ที่เป็นสายพันธุ์หลักแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันขณะนี้เท่านั้น แต่ยังสามารถต่อต้านโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งอุบัติขึ้นปลายปีนี้ เช่น รุ่นลูกหลานของโอมิครอน XBB* คือ HV.1, HK.3, JD.1.1 และ รุ่นลูกของโอมิครอน BA.2.86 คือ JN.1

สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโมโนวาเลนต์ XBB.1.5 ที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่ครอบคลุมสายพันธุ์ต่างๆของโอมิครอน(broad spectrum) มากกว่าวัคซีนรุ่นก่อน

  1. ลด “ความทรงจำของระบบภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม” หรือเรียกสั้นๆว่า รอยประทับทางภูมิคุ้มกัน(Immune imprinting): การวิจัยนี้ระบุว่าวัคซีนโมโนวาเลนต์ XBB.1.5 อาจทำให้เกิดรอยประทับทางภูมิคุ้มกันน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฉีดวัคซีน 2 สายพันธุ์ (ไวรัสอู่ฮั่น+โอมิครอน BA.4/BA.5) หรือ “วัคซีนไบวาเลนต์”

วัคซีนโควิด

แก้ปัญหาร่างกายจำไวรัสสายพันธุ์เดิม ทำให้ไม่สร้างแอนติบอดีต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

การได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนที่ใช้ไวรัสตัวเดิมซ้ำๆ อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี กล่าวคือเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ความทรงจำของระบบภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม (Immune imprinting) เช่น ในกรณีของวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ไวรัสดั้งเดิมอู่ฮั่นมาโดยตลอด แต่เมื่อร่างกายของเราไปพบกับไวรัสกลายพันธุ์รุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย (minor change) จากสายพันธุ์เดิม เช่น โอมิครอน XBB ระบบภูมิคุ้มกันของเรายังคงจดจำรูปแบบเดิมของไวรัสสายพันธุ์เก่าที่เรียนรู้จากการรับวัคซีน “ไม่มูฟออน” ทำให้ไม่สร้างแอนติบอดีต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือสร้างน้อย

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งนำโดย ดร. หยุนหลง ริชาร์ด เฉา (Yunlong Richard Cao) ตีพิมพ์ผลงานวิจัยสำคัญในวารสารทางการแพทย์ “ Nature” เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566  เสนอวิธีการบรรเทาผลกระทบจากความทรงจำของระบบภูมิคุ้มกันของเรา ต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม และจากการฉีดวัคซีนเข็มแรกที่ผลิตจากไวรัสโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น”

โดยการติดเชื้อโอมิครอน 2 ครั้ง หรือ ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสายพันธุ์โอมิครอน XBB* อย่างน้อย 2 เข็ม ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่หลากหลาย สามารถเข้าจับกับตำแหน่งต่างๆบนส่วนหนามของไวรัสที่ใช้ยึดเกาะเซลล์ได้ดีขึ้น

Repeated Omicron exposures override ancestral SARS-CoV-2 immune imprinting: https://www.nature.com/articles/s41586-023-06753-7

  1. 406541086 1078073720198540 32691359312218537 nประสิทธิผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันในบุคคลที่เคยติดเชื้อโควิด-19มาก่อนอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ควรทราบของงานวิจัยนี้คือ:

  • เป็นผลวิจัยการตอบสนองของแอนติบอดีต่อโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆในหลอดทดลองเป็นหลัก และไม่ได้ครอบคลุมแง่มุมอื่นๆ ของการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การตอบสนองของทีเซลล์(T cell) หรือภูมิคุ้มกันของเยื่อเมือก ประสิทธิภาพในระยะยาวและประสิทธิผลในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษานี้
  • ยังไม่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review): ผลการวิจัยดังกล่าวรอการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการตรวจสอบผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo