COVID-19

น่ากลัว!! โอไมครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว หลบภูมิคุ้มกัน-ติดเชื้อง่ายขึ้น

ศูนย์จีโนมฯ เผยกลุ่มโอไมครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L” หลบภูมิคุ้มกันและเข้าติดเชื้อในเซลล์ได้ดีที่สุด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า น่ากังวล กลุ่มโอไมครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว L455F + F456L ที่มีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนามเพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งที่ A475V พบว่าจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและเข้าติดเชื้อในเซลล์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยทั่วโลก (จากฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”) พบ 3,150 ราย ในประเทศไทย พบ 2 ราย

หลบภูมิคุ้มกัน

ยุทธวิธีล่าสุดของโควิด19 เพื่อความอยู่รอดคือการ กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว(L455F + F456L) หรือ Flip mutation โดยพบโอไมครอนกลายพันธุ์ลักษณะนี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปลายปี 2566 และคาดว่าจะเป็นกลุ่มสายพันธุ์หลักที่ระบาดในปีหน้า 2567

แรงกดดันจากภูมิคุ้มกันที่มนุษย์ได้รับจากการฉีดวัคซีน การใช้แอนติบอดีสำเร็จรูป และการติดเชื้อโควิด-19 ตามธรรมชาติ ส่งผลให้กลุ่มโอไมครอนเดิมมีการกลายพันธุ์แบบคู่และพลิกขั้ว (L455F/ L455S + F456L) หรือ Flip mutation เพื่อช่วยให้สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น พร้อมกับเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะกับผิวเซลล์มนุษย์ ทำให้ไวรัสแทรกเข้าไปติดเชื้อในเซลล์ได้ดีกว่าโอไมครอนทุกสายพันธุ์ที่ระบาดมาก่อนหน้า

โอไมครอน1

กลุ่มโอไมครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว L455F + F456L เช่น โอไมครอน HK.3.1, JD.1.1 ฯลฯ โดยสามารถจับกับผิวเซลล์ได้ดีขึ้น และหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนรุ่นใหม่ที่อาศัยเชื้อโอไมครอน XBB.1.5 เป็นต้นแบบในการผลิต (new monovalent SARS-CoV-2 variant vaccine)

ล่าสุดในกลุ่มของโอไมครอนที่ กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (L455F + F456L) พบการกลายพันธุ์เพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งคือ A475V ที่พบในโอไมครอน BA.5 ที่สูญพันธุ์ไปแล้วร่วมด้วย เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการหลบภูมิคุ้มกัน เช่น โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย

โอไมครอน3

  • FL.15.1.1 (XBB.1.9.1.15.1.1)
  • JD.1.1 (XBB.1.5.102.1.1)
  • GW.5.1.1 (XBB.1.5.102.1.1)

กลุ่มโอไมครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว L455F + F456L ผนวกกับ A475V พบแล้วทั่วโลก (จากฐานข้อมูลโควิดโลก GISAID ) 3,150 ราย โดยพบในประเทศไทย 2 ราย

โอไมครอน6

กลุ่มโอไมครอนดังกล่าว ที่พบทั่วโลกมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า สายพันธุ์หลัก EG.5.1 ที่ระบาดในหลายประเทศถึง 40% โดยศูนย์จีโนมฯกำลังติดตามอย่างใกล้ชิด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo