COVID-19

‘ดร.อนันต์’ เตือนใช้ ATK ตรวจโควิด-ไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน ผลคลาดเคลื่อนได้

“ดร.อนันต์” ชี้ใช้ชุด ATK ตรวจโควิดพร้อมไข้หวัดใหญ่ มีข้อระวังในการใช้งาน อาจได้ผลคลาดเคลื่อนจากปริมาณแอนติเจนของเชื้อไม่เท่ากัน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เตือนการใช้ชุด ATK ตรวจโควิดและไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน โดยระบุว่า

ATK ตรวจโควิด

ตอนนี้มี ATK ที่ใช้ตรวจ COVID กับ Flu (ไข้หวัดใหญ่) และ อาจมี RSV ที่ตรวจพร้อม ๆกันออกมาให้ใช้กันแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากตรวจครั้งนึงได้ผลตรวจหลายเชื้อพร้อม ๆ กันทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น

แต่การใช้ชุดตรวจดังกล่าวมีข้อระวังในการใช้งานนะครับ

งานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Clinical infectious diseases ที่ไปเปรียบเทียบตัวอย่างของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด และ ไข้หวัดใหญ่ พบว่า ปริมาณแอนติเจนของเชื้อที่จะตรวจพบโดย ATK จะตรวจพบได้ไม่พร้อมกัน

อนันต์1

กล่าวคือ ไข้หวัดใหญ่จะตรวจพบพร้อม ๆ กับอาการที่รู้สึกได้ พูดง่าย ๆ คือ กว่าจะมีอาการไวรัสก็มีมากพอในร่างกายแล้ว

แต่สำหรับ COVID ในกลุ่มที่มีภูมิจากวัคซีนเต็มที่ ไวรัสมักจะขึ้นตามหลังอาการไปแล้ว 4 วัน

นั่นคือ ถ้าตรวจด้วย ATK ที่วัดทั้ง Flu และ COVID พร้อม ๆ กัน ทันทีที่เริ่มรู้สึกไม่สบาย โอกาสที่จะตรวจพบว่าติด Flu จะมากกว่า COVID และหลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจผิดว่าติด Flu เพราะตรวจพบแต่ Flu แต่ COVID ไม่ขึ้น ทั้ง ๆ ที่อาจติดมาทั้ง 2 เชื้อ

อนันต์3

ถ้ากลับมาตรวจอีกทีอีก 4 วันต่อมา หรือ ตรวจไม่พบอะไรตอนมีอาการ ก็สรุปไปว่าไม่เป็นทั้ง Flu และ COVID แต่อาจจะเป็นเพราะ COVID ยังไม่ขึ้นตอนตรวจก็เป็นได้

สรุปง่ายคือ ตรวจ 2 เชื้อพร้อม ๆ กัน ไม่ได้หมายความว่า จะพบพร้อมกันนะครับ ธรรมชาติของเชื้อในสภาวะที่ภูมิของร่างกายไม่เท่ากัน จะส่งผลให้แปลความหมายของชุดตรวจผิดพลาดได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo