WHO เตือน “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ติดโควิด เพิ่มขึ้น 666% เสียชีวิตเพิ่มขึ้นกว่า 300% จาก “XBB” 4 สายพันธุ์
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า องค์การอนามัยโลกแจ้งเตือน ณ วันที่ 30 เมษายน 2566 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น +666% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น +305%
เนื่องจากโอไมครอนลูกผสม XBB 4 สายพันธุ์คือ XBB 1.5, XBB.1.9, XBB.1.16, และ XBB.2.3 มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้โดยพบการระบาดใหญ่ในอินเดียมาก่อนหน้า ติดตามมาด้วยสิงคโปร์และบรรดาชาติสมาชิกในอาเซียน
องค์การอนามัยโลกมีนโยบายแจ้งเตือนชาติสมาชิก ถึงความสุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดสายพันธุ์ใหม่ ก่อนที่สายพันธุ์เหล่านั้นจะแพร่ระบาดไปทั่วโลก เพื่อให้ทั่วโลกตระหนกและเตรียมพร้อม มิใช่ให้ตื่นตระหนก
ตั้งแต่พบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนธันวาคม 2560จนถึงปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อยืนยันกว่า 765 ล้านรายและผู้เสียชีวิตกว่า 6.9 ล้านรายทั่วโลก
28 วัน ติดเชื้อรายใหม่-ติดเชื้อซ้ำเกือบ 2.8 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 1.6 หมื่นคน
27 มีนาคม-23 เมษายน 2566
องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่และติดเชื้อซ้ำเกือบ 2.8 ล้านราย โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 16,000 รายในช่วง 28 วันที่ผ่านมา แม้จะมีผู้ติดเชื้อลดลงในแถบซีกโลกเหนือ (ยุโรปและอเมริกา) 23% และ 36% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ 28 วันก่อนหน้า (27 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม 2566)
แต่ต้องตระหนักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และในอีกหลายประเทศ เช่นอินเดีย มีแนวโน้มโดยรวมของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่า +666% และ +305% ตามลำดับ
รายงานสถานการณ์การติดเชื้อแต่ละภูมิภาค ในรอบ 28 วัน
ในระดับภูมิภาค จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 28 วันลดลงใน 4 ภูมิภาคจาก 6 ภูมิภาค
- ภูมิภาคแอฟริกา ลดลง -68%
- ภูมิภาคอเมริกา ลดลง -35%
- ภูมิภาคยุโรป ลดลง -34%
- ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ลดลง -15%
- ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เพิ่มขึ้น +41%
- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น +666%
จำนวนผู้เสียชีวิตในรอบ 28 วันมีรายงานลดลงในสี่ภูมิภาคจาก 6 ภูมิภาค:
- ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ลดลง -68%
- ภูมิภาคแอฟริกา ลดลง -42%
- ภูมิภาคยุโรป ลดลง -38%
- ภูมิภาคอเมริกา ลดลง -33%
- ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เพิ่มขึ้น +80%
- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น +305%
ดังนั้นประเทศเราต้องพร้อม
- โหมดการตรวจจับไวรัสจากสิ่งส่งตรวจ: ประโยชน์ของการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมในการติดตามการระบาด
- โหมดการป้องกัน: กินร้อน ช้อนกลาง สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม การป้องกันด้วยวัคซีน และ
- โหมดการรักษา: ด้วยแอนติบอดีสำเร็จรูป และการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
เพื่อคงอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 0.7 ในประเทศไทยไม่ให้เพิ่มขึ้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- เฝ้าระวัง ‘โค วิดกลายพันธุ์’ 18 ตำแหน่ง ก่อเกิดการ ‘ดื้อยาแพกซ์โลวิด’ หวั่นตัวเลขผู้เสียชีวิตพุ่ง 2 เท่าตัว
- สธ. จัดกิจกรรม ‘วัคซีนคู่ สู้หน้าฝน’ โควิด+ไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเสี่ยงฉีดพร้อมกันได้ ไม่มีผลข้างเคียง
- กทม. เปิด ‘ฉีดวัคซีนโค วิด’ นอกสถานที่ ‘6 ห้างสรรพสินค้า’ เช็กวัน เวลาให้บริการ ที่นี่!