COVID-19

สธ. เตรียมปรับ ‘แนวทางรักษาโควิด’ เน้นให้ยาต้านไวรัสเร็ว ในกลุ่มเสี่ยง ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94% นอน รพ.

สธ.เตรียมปรับ “แนวทางรักษาโควิด” เน้นให้ยาต้านไวรัสเร็ว ในกลุ่มเสี่ยง ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94% นอน รพ.

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คาดว่าหลังเทศกาลสงกรานต์ตัวเลขผู้ป่วยโควิดจะเพิ่มขึ้น โดยเห็นได้ชัดในวันที่ 9-15 เมษายน พบจำนวนผู้ป่วยเริ่มเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าเศษ

ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจเริ่มขยับเพิ่ม 30-40% ของผู้ป่วยสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิต พบ 2 คน ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มคนอายุน้อย เพศหญิง อายุ 23 ปี และ 24 ปี มีภูมิคุ้มกันต่ำ รับวัคซีนมานานแล้ว อีกรายไม่ได้รับวัคซีนเลย

โควิด

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของโควิด หลังสงกรานต์จะเหมือนกับปีก่อน 2565 ที่จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ระลอกเล็ก และจะกลับมาพบผู้ป่วยมากขึ้นอีกครั้งในช่วงฤดูฝน

ด้านพญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวว่า การระบาดของ XBB พบใน 5 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อินเดีย สิงคโปร์ บังกลาเทศ เหมือนกันคือคล้ายไข้หวัดใหญ่ และไม่ได้แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ซึ่งหากมีการเปรียบเทียบอาการในเด็กและผู้ใหญ่ ในสายพันธุ์ XBB.1.16 จะพบว่าในผู้ใหญ่จะมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกไหล ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ส่วนเด็กพบไข้สูง ตาแดง

โควิด

ปรับแนวทางวินิจฉัยการรักษา

ดังนั้น ในแนวทางวินิจฉัยรักษา ปรับเปลี่ยน 2 ประเด็น

  1. ปรับการให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง กรณีไม่ว่าจะอยู่ในสถานพยาบาลระดับใด หากมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สงสัยเป็นโควิด ตรวจ ATK หรือ PT-PCR ถ้าไม่เจอเชื้อ พิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งการปฏิบัติตาม DMS คือ ระยะห่าง สวมหน้ากาก และล้างมือเคร่งครัด 5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 48 ชม. ให้ตรวจเชื้อซ้ำ แต่กรณีที่ป่วยติดเชื้อ อาการไม่รุนแรง รักษาตามอาการ ผู้ป่วยนอกอาการไม่รุนแรง
  2. ปรับเงื่อนไขการให้ LAAB

โควิด

ปรับการรักษาให้ยาต้านไวรัสเร็วในกลุ่มเสี่ยง

ปัจจุบันกรมการแพทย์ได้แบ่งการดูแลผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 คนที่ไม่มีอาการ สบายดี รักษาแบบผู้ป่วยนอก เน้นรักษาระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ เป็นเวลา 5 วัน ซึ่งพบคนลักษณะนี้มากถึง 60% ไม่มีอาการ จึงไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะสามารถหายเอง
  • กลุ่มที่ 2 มีอาการไม่รุนแรง ปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคอื่น รักษาผู้ป่วยนอก เน้นรักษาระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ เป็นเวลา 5 วัน รักษาตามอาการ ตามดุลพินิจของแพทย์
  • กลุ่มที่ 3 คนที่ไม่มีอาการรุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงนี้มี 11 กลุ่ม ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ปอดอุดกั้น ไตเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ภาวะอ้วน มะเร็ง ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยให้สามารถเลือกยารักษาได้ตัวใดตัวหนึ่ง เริ่มจากอาการของคนไข้ พิจารณาได้ทั้งโมลนูพิราเวียร์ หรือ แพกซ์โลวิด หรือ เรมเดซิเวียร์ หรือ LAAB แต่ต้องให้เร็ว เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
  • กลุ่มที่ 4 ผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ ถ้าออกซิเจนต่ำกว่า 94% ต้องให้รักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากอาจมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วย ต้องให้ยาเรมเดซิเวียร์ร่วมด้วย เร็วที่สุด 5-10 วัน และต้องให้สเตียรอยด์ร่วมกัน ส่วนหญิงตั้งครรภ์รักษาแบบเดิม ส่วนยาที่ยังใช้ได้เหมือนกัน ฟ้าทะลายโจร โมลนูพิราเวียร์ แพกซ์โลวิด เรมเดซิเวียร์ และ LAAB ไม่ได้เกิดอาการดื้อยา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo