COVID-19

สธ. เผย ‘โอไมครอน XBB.1.16’ แพร่เร็ว พบติดเชื้อแล้ว 27 ราย แต่ไม่รุนแรงเท่าเดลตา

สธ. เผย “โอไมครอน XBB.1.16” แพร่เร็ว พบติดเชื้อแล้ว 27 ราย แต่ไม่รุนแรงเท่าเดลตา

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8-14 เม.ย. พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากเดิม 5 ราย โดยก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมีนาคมพบผู้ติดเชื้อแล้ว 22 ราย รวมเป็น 27 ราย

ทั้งนี้ มีทั้งผู้ที่ติดเชื้อจากในประเทศและต่างประเทศ โดยมี 1 คน เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นชาวต่างชาติ อายุมากกว่า 80 ปี ซึ่งอาจจะมีเรื่องของโรคประจำตัวร่วมด้วย

XBB.1.16

พบผู้ติดเชื้อแล้ว 27 ราย แพร่กระจายเร็ว แต่ไม่รุนแรงเท่าเดลตา

ส่วนการพบสายพันธุ์ XBB.1.9.1  มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 5.1% เป็น 15% ขณะที่สายพันธุ์เดิมเริ่มมีจำนวนลดลง

สำหรับ โควิดสายพันธุ์ “XBB.1.16”  สามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยชุดตรวจ RT-PCR และชุดตรวจ ATK โดยสามารถตรวจคัดกรองได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ ทั้งโอมิครอนและลูกผสม แต่บางกรณีที่ตรวจ ATK ไม่พบ ก็อาจจเกิดจากผลตรวจลวง หรือ ชุดตรวจ ATK มีปัญหา เป็นต้น

ส่วนที่ว่าสายพันธุ์ XBB.1.16 จะไม่มีอาการไข้นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะจากรายงานของประเทศอินเดีย พบว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ XBB.1.16 จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ส่วนอาการเยื่อบุตาอักเสบ มักพบในเด็ก และอาการของผู้ป่วยจะไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์เดลตา

ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะเก็บตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จากทั่วประเทศมาตรวจสายพันธุ์เพิ่ม ทั้งผู้ป่วยชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะรายที่มีอาการรุนแรง หรือเสียชีวิต  เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ต่อไป

XBB.1.16

มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้น

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ทั่วโลกและในประเทศไทย สายพันธุ์หลักที่ระบาด  ยังเป็นสายพันธุ์  XBB.1.5 ตรวจพบใน 95 ประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 และ XBB.1.9.1 ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย XBB.1.16 พบแล้ว 29 ประเทศ  ส่วน XBB.1.9.1 พบใน 61 ประเทศ

XBB.1.16

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์ XBB.1.15 กับ XBB.1.16 พบว่าสายพันธุ์ XBB.1.16 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์บนโปรตีนหนามต่างกัน เป็นลูกผสมของสายพันธุ์ BA.2.10.1 และBA.2.75 ซึ่งความสามารถในการแพร่กระจายอาจจะแพร่ได้เร็วกว่า XBB.1.15 เล็กน้อย แต่ยังไม่มีหลักฐานแสดงว่า ส่งผลต่อความรุนแรงของโรค เช่น อาการที่หนักขึ้นจนถึงเสียชีวิต

อาการหลักที่พบ คือ จะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ  มีไข้ ไอ เจ็บคอ และมีข้อสังเกต คือ พบผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อบุตาอักเสบ  คันตา  ขี้ตาเหนียว  ลืมเปลือกตาไม่ขึ้นร่วมด้วย ซึ่งในประเทศอินเดีย อาการนี้มักพบในเด็ก  นอกจากนี้ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สามารถติดเชื้อสายพันธุ์นี้ซ้ำได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo