COVID-19

ศูนย์จีโนมฯ เปิด 11 ปัจจัย ทำให้ ‘โรคไวรัส’ หลายชนิด อุบัติขึ้นมากมาย ในระยะนี้

ศูนย์จีโนมฯ เปิด 11 ปัจจัย ทำให้ ‘’ หลายชนิด อุบัติขึ้นมากมาย ในระยะนี้

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เปิดเผย 11 ปีจจัยที่ทำให้โรคที่เกิดจากไวรัส เกิดขึ้นเป็นระยะในช่วงนี้ ดังนี้

โรคไวรัส

11 ปีจจัยที่ทำให้เกิดโรคไวรัส

มาทำความเข้าใจ 11 ปัจจัยที่ทำให้โรคไวรัสหลายชนิดอุบัติขึ้นอย่างถี่ในระยะนี้

  1. วิวัฒนาการของไวรัส: ไวรัสที่กำลังระบาดในระยะนี้(outbreak) เป็นไวรัสที่มีจีโนมเป็นอาร์เอ็นเอโดยทั้งสิ้นซึ่งมีคุณสมบัติเหนือกว่าดีเอ็นเอไวรัสในการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว สามารถกลายพันธุ์ (mutation)และสามารถนำส่วนของจีโนมมาผสมรวมกัน (recombination/reassortment) เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อยใหม่แพร่ระบาดมาสู่สัตว์หรือคน สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของเจ้าบ้าน(สัตว์หรือคน) ที่มีอยู่เดิม

ตัวอย่างเช่นการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2461 เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ย่อยใหม่ (ในขณะนั้น)คือ H1N1 มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 2.5%

  1. เข้าสู่ยุคเกิดน้อย-ตายช้า ในขณะที่เราเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักคือประชากรสูงอายุมีความเสื่อมถอยของระบบภูมิคุ้มกัน เช่นมีปริมาณของ “อินเตอร์เฟียรอน” ในร่างกายลดลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสเป็นพิเศษ และมีอัตราการตายที่สูงขึ้นเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไวรัสไข้หวัดใหญ่และไวรัสโคโรนา 2019 ต่างแสดงให้เห็นถึงอันตรายต่อผู้สูงอายุ โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเด็กและคนหนุ่มสาวในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ในขณะที่ประชากรทั่วโลกมีอายุเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น

สำหรับประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ กว่า 13 ล้านคน จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของมาตรการและทรัพยากรด้านสาธารณสุขเพื่อปกป้องผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางนี้ในการติดเชื้อพร้อมไปกับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสที่มีศักยภาพในการระบาดไปทั่วโลก (Pandemic)โรคไวรัส

  1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลต่อการแพร่กระจายและความอุดมสมบูรณ์ของพาหะนำโรค เช่น ยุง เห็บ และสัตว์ฟันแทะที่แพร่เชื้อไวรัส ไวรัสซิกาซึ่งแพร่กระจายโดยยุงลายขยายขอบเขตเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและรูปแบบปริมาณน้ำฝน ไวรัสซิกาแม้จะมีอัตราการตายต่ำ แต่สามารถก่อให้พัฒนาของทารกในครรภ์เกิดบกพร่อง เช่นศีรษะเล็กและอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาทร่วมด้วย

ภาวะโลกร้อนทำให้ “เพอร์มาฟรอสต์” อันหมายถึงชั้นดินชั้นน้ำที่จับตัวเป็นน้ำแข็งมานานนับหมื่นหรือนับล้านปี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 15% ในซีกโลกเหนือ เริ่มละลายปลดปล่อยไวรัสและจุลชีพที่ยังคงมีชีวิตออกมา และสามารถแพร่เชื้อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น อะมีบา ได้

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านถือว่าไวรัสจากเพอร์มาฟรอสต์ มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในมนุษย์ เป็นอย่างมาก ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้พบไวรัสเพอร์มาฟรอสต์เพิ่มอีก 5 ตระกูลใหม่ ซึ่งมีชื่อว่า Orpheoviridae, Klosneuviridae, Hokoviridae, Yasmineviridae และ Cedratviridae ซึ่งติดเชื้อในอะมีบาและแต่ยังไม่พบการติดต่อมาสู่มนุษย์

ไวรัสที่เก่าแก่ที่สุดใน 5 ตระกูลดังกล่าวมีอายุเกือบ 48,500 ปี ตัวอย่างของไวรัสและจุลินทรีย์ก่อโรคที่พบในเพอร์มาฟรอสต์ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดสเปน 1918 แบคทีเรียแอนแทรกซ์ และไวรัสไข้ทรพิษ ไวรัสและจุลินทรีย์เหล่านี้ถูกพบในหลุมฝังศพหรือซากสัตว์ที่ตายจากโรคเหล่านี้ และถูกแช่แข็งในชั้นดินเยือกแข็ง หลายฝ่ายมีความกังวลว่าพวกมันอาจถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดการละลายของดินเยือกแข็งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แม้ว่าความเสี่ยงของการระบาดในวงกว้างจากเชื้อโรคในชั้นดินเยือกแข็งจะถือว่าต่ำ แต่ก็มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และกลยุทธ์ในการบรรเทาผลกระทบ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคเหล่านี้สู่สิ่งแวดล้อม

  1. การขยายตัวของเมือง: การขยายตัวของเมืองจะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของไวรัส เนื่องจากผู้คนอาศัยอยู่ใกล้กัน เช่นในคอนโดมิเนี่ยมและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น โดยมีอัตราการเสียชีวิตโดยประมาณอยู่ระหว่าง 1-5% ขึ้นกับแต่ละเขตพื้นที่
  2. การเดินทางทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น: การเดินทางทั่วโลกทางเครื่องบินช่วยสนับสนุนการแพร่กระจายของไวรัสข้ามพรมแดนและทวีปต่างๆ การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ H1N1 ในปี 2009 แพร่กระจายอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเดินทางทั่วโลกทางเครื่องบิน
  3. โรคไวรัสโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่จำกัด: ทรัพยากรด้านการดูแลสุขภาพในหลายประเทศที่ไม่เพียงพอทำให้การป้องกันการระบาดและการรักษาการติดเชื้อจากไวรัส ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น การระบาดของโรคอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกในปี 2557 รุนแรงมากเนื่องจากขาดทรัพยากรด้านการรักษาพยาบาลและการประสานงาน โดยมีอัตราการเสียชีวิตตั้งแต่ 25-90% ขึ้นกับคุณภาพของการรักษาในแต่ละเขตชุมชน
  4. สุขอนามัยที่ไม่ดี: การปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ไม่ดีสามารถแพร่กระจายไวรัสได้ง่าย เช่น โนโรไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ แม้มีอัตราการตายต่ำ โดยปกติจะน้อยกว่า 1% แต่อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มเสี่ยงได้ เป็นปัญหามากในค่ายผู้ลี้ภัยทั่วโลก
  5. พฤติกรรมของมนุษย์: พฤติกรรมของมนุษย์มีอิทธิพลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสและการป้องกัน โดยผู้คนยอมรับหรือละเลยมาตรการทางสาธารณสุขของโควิด-19 ต้องเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทางด้านสาธารณสุข กล่าวคือ การกินร้อน-ช้อนกลาง-สวมหน้ากากอนามัยในที่ชุมนุม-ล้างมือด้วยน้ำและฟอกสบู่หรือใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่า 70%-ทานน้ำสะอาดต้มสุก-ป้องกันสัตว์หรือยุงกัด

และปัญหาล่าสุดคือคนปฏิเสธการฉีดวัคซีน เนื่องจากกังวลผลต่อข้างเคียงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

  1. วัคซีนและภูมิคุ้มกัน: วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโดยการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ไวรัสบางชนิดสามารถหลบเลี่ยงหรือหลบหนีการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การพัฒนาและการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชนที่อยู่ห่างไกล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส โดยการฉีดวัคซีนต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ การเข้าถึง และการยอมรับเข้าฉีดวัคซีน
  2. น้ำและอาหารที่ปนเปื้อน: ไวรัสบางชนิดแพร่กระจายผ่านทางน้ำและอาหารที่ปนเปื้อน ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารหรือตับอักเสบ ไวรัสตับอักเสบ เอ แพร่กระจายผ่านทางอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน โดยอัตราการเสียชีวิตมักน้อยกว่า 1% แต่อาจมีอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้
  3. ไวรัสดื้อยา: ไวรัสบางชนิดสามารถพัฒนาความต้านทานต่อยาต้านไวรัส ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง เชื้อเอชไอวีสามารถกลายพันธุ์และดื้อต่อยาต้านไวรัสหลายตัว ทำให้ยากต่อการควบคุม หากไม่มีการรักษา เอชไอวีสามารถพัฒนาไปสู่โรคเอดส์ด้วยอัตราการเสียชีวิตเกือบ 100%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo