Wellness

รู้จัก ‘แคดเมียม’ โลหะพิษอันตราย สารตั้งต้นก่อมะเร็ง หลังพบที่โรงงานสมุทรสาคร

ทำความรู้จัก “แคดเมียม” โลหะพิษอันตราย สารตั้งต้นก่อมะเร็ง เข้าร่างกายได้อย่างไร หลังพบที่โรงงานสมุทรสาคร

จากรณีที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้นำทีมตรวจสอบข้อเท็จจริงของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก ที่ได้ขายกากแร่สังกะสี และกากแร่แคดเมียมฝังกลบในจังหวัดตาก ให้กับบริษัทหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวนกว่า 1.5 หมื่นตัน  โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย ทำให้พบกากแคดเมียม และกากสังกะสี รวมถึงกากอะลูมิเนียมในถุงบิ๊กแบ็กสีขาวจำนวนมาก

อันตราย

thebangkokinsight รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ แคดเมียม มาให้ประชาชนได้คลายสงสัย ทำไมการตรวจพบกากแคดเมียมที่โรงงานในจังหวัดสมุทรสาครครั้งนี้ ถึงเป็นเรื่องน่ากังวล จนผู้ว่าฯสมุทรสาคร ต้องประกาศเขตภัยพิบัติฯ ห้ามเข้าใกล้ 90 วัน

แคดเมียมคืออะไร ?

แคดเมียม (Cadmium) มีสูตรทางเคมีคือ Cd เป็นโลหะสีเงินขาว แวววาวเป็นสีน้ำเงินจางๆ ไม่มีกลิ่น มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้น ลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็กๆ สามารถทำปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงกว่าสารที่ให้ออกซิเจน เนื่องจากแคดเมียมทนทานต่อการสึกกร่อนได้เป็นอย่างดี จึงนำไปฉาบผิวโลหะต่างๆ ในทางอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก เหล็กกล้า ทองแดง โดยทั่วไปนำไปใช้ในการชุบโลหะ นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับทองแดง นิกเกิล ทองคำ บิสมัท รวมถึงยังใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดที่เติมประจุใหม่ได้อีกด้วย

แคดเมียมมีกระทบสุขภาพ

หากแคดเมียมถูกความร้อนที่ 321 องศาเซลเซียส จะเกิดเป็นควัน ทำให้กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อร่างกายสูดดมสารนี้เข้าไป จะถูกเก็บสะสมไว้ในตับ และส่วนของหมวกไต โดยสามารถอยู่ในร่างกายมนุษย์ถึง 30 ปี

จะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปอด ไต และตับ จะถูกทำลาย ถ้าหากหายใจควันเข้าไปในปอด จะมีอาการเจ็บคอ หายใจสั่น มีเสมหะเป็นเลือด น้ำหนักลด โลหิตจาง การหายใจจะลำบากมากขึ้นจนถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต

แคดเมียมเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทาง

  1. ทางปาก โดยการบริโภคอาหารทีมีการปนเปื้อนของแคดเมียม เช่น อาหารทะเล พืชผัก
  2. ทางจมูก โดยการหายใจเอาควัน หรือ ฝุ่นของแคดเมียมเข้าไป เช่น ในเหมืองสังกะสี

สารแคดเมียมก่อให้เกิดโรคอะไร?

แคดเมียมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านทางระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร จะเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตจับกับโปรตีน albumin ถูกส่งไปที่ตับ ทำให้มีอาการอักเสบที่ตับ การขับแคดเมียมออกจากไตทำได้ช้ามากใช้เวลาถึง 20 ปี จึงสามารถขับออกได้ครึ่งหนึ่งของแคดเมียมที่สะสมอยู่ในไต ทำให้มีอาการกรวยไตอักเสบ ผู้ที่ได้รับแคดเมียมเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด ไต ต่อมลูกหมาก ตับอ่อน รวมถึงโรคอิไต อิไต

การรักษาเบื้องต้น

หากร่างกายได้รับแคดเมียมจากการ บริโภคอาหาร ให้ปฏิบัติดังนี้ ดื่มนมหรือบริโภคไข่ที่ตีแล้ว เพื่อลดการระคายเคืองของทางเดิน อาหาร หรืออาจทําให้ถ่ายท้องด้วย Fleet’s Phosphosoda (เจือจาง 1:4 ด้วยนํ้า) 30-60 มิลลิกรัม เพื่อลดการดูดซึมแคดเมียม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo