Sports

‘โครเอเชีย’ พลิกฟื้นจากดินแดนสงคราม สู่ขุมพลังลูกหนัง โค่นยักษ์ ‘บราซิล’

หลังประกาศอิสรภาพในปี 2534 โครเอเชียต้องเผชิญกับภาวะสงครามและความไม่สงบตลอด 4 ปีหลังจากนั้น แต่อีกไม่กี่ปีต่อมา ทีมชาติโครเอเชียได้สร้างความประหลาดใจให้กับแฟนบอลทั่วโลก เมื่อพวกเขากลายเป็นทีมม้ามืดที่คว้าอันดับ 3 ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ในปี 2541 

โครเอเชียสร้างความประหลาดใจไม่หยุด เพราะในปี 2561 พวกเขาผ่านมาถึงรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 60 ปี โดยพบกับฝรั่งเศสในรอบชิง แต่ก็พ่ายแพ้ไปด้วยสกอร์ 4-2

แต่แล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา โครเอเชียสร้างความระทึกใจกับแฟนบอลได้สำเร็จอีกครั้ง เพราะล้มเต็งหนึ่งของโลกอย่างบราซิล ในการดวลจุดโทษ

บีบีซี รายงานว่า มีปัจจัยหลายประการที่แสดงให้เห็นว่า ความสำเร็จด้านลูกหนังของประเทศยุโรปตะวันออกแห่งนี้ ที่มีประชากรราว 4.4 ล้านคน อาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

โครเอเชีย

สิ่งที่อาจยังไม่รู้เกี่ยวกับโครเอเชีย

คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะชาวยุโรป รู้จักโครเอเชียในฐานะจุดมุ่งหมายยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลอะเดรียติกอันงดงาม และหมู่เกาะเล็กใหญ่กว่า 1,000 แห่ง โดยโครเอเชียต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 18 ล้านคนต่อปี และมีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคิดเป็นราว 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)

โครเอเชีย เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ก่อนจะประกาศตัวเป็นเอกราชในปี 2534 และในช่วง 10 ปีต่อจากนั้นประเทศก็ถูกปกครองภายใต้รัฐบาลชาตินิยมของ ประธานาธิบดีฟรานโจ ทุชมัน

ต่อมาในปี 2546 ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเสตียปัน เมชิช โครเอเชียได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) และเกือบ 10 ปีให้หลัง ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 โครเอเชียกลายเป็นประเทศอดีตสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ประเทศที่ 2 ที่เข้าร่วมสหภาพยุโรป ถัดจากสโลเวเนีย

โครเอเชีย

ดินแดนแห่งป่า และสุนัขดัลเมเชียน

โครเอเชียมีอุทยานแห่งชาติที่งดงาม คุณสามารถว่ายน้ำในน้ำตกที่น่ามหัศจรรย์ และสำรวจป่าอุดมสมบูรณ์ที่ยังไม่ถูกทำลาย ซึ่งธนาคารโลกระบุว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศถูกปกคลุมด้วยผืนป่า

ประเทศแห่งนี้มีอุทยานแห่งชาติ 8 แห่ง ในจำนวนนี้รวมถึง ทะเลสาบพลิทวิเซ (Plitvice Lakes) ในอุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิทวิเซ ซึ่งได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี 2522

รากเหง้าของสุนัข “ดัลเมเชียน” เชื่อกันว่ามาจากโครเอเชีย ซึ่งก็มีแคว้นดัลเมเชีย โดยมีการค้นพบรูปภาพเหมือนดัลเมเชียนในโบสถ์ โดยจะเห็นสุนัขซึ่งมีขนขาวและลายจุดสีดำทั่วตัวนี้ได้ในภาพเขียนต่าง ๆ และในบันทึกของโบสถ์หลายแห่งทั่วแคว้นดัลเมเชีย

ข้อมูลจาก Fédération Cynologique Internationale (FCI) ซึ่งเป็นสหพันธ์ของผู้เลี้ยงและเพาะพันธุ์สุนัขอาชีพที่ใหญ่ที่สุดระบุว่า ร่องรอยที่เก่าแก่ที่สุดของสุนัขดัลเมเชียนสามารถสืบย้อนไปได้ถึงคริสศตวรรษที่ 16

FCI อ้างข้อมูลของโธมัส เพนแนนท์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพันธุ์สุนัขว่า พันธุ์นี้มีความเป็นตัวของตัวเองมาก และเขาเป็นคนที่เรียกมันว่าดัลเมเชียนเป็นคนแรก และอธิบายว่ามีต้นกำเนิดจากแคว้นดัลเมเชีย

โครเอเชีย
dalmatian girl

คิงส์ แลนดิ้ง ใน เกม ออฟ โธรนส์ อยู่ในเมืองดูบรอฟนิก

เมืองหลวงของอาณาจักรสมมติ คิงส์ แลนดิ้ง (Kings’ Landing) ในซีรีส์ เกม ออฟ โธรนส์ ถูกถ่ายทำเกือบทั้งหมดในบรอฟนิก เมืองเก่าแก่ของโครเอเชีย ที่อยู่ริมชายฝั่งทะเลอะเดรียติก มีกำแพงโอบล้อมรอบเมือง และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก

ด้วยเพราะเป็นเมืองค้าขายในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมานับพันปี ทำให้สถาปัตยกรรมเก่าแก่ยังเหลืออยู่ อาทิ พระราชวังสไตล์โกธิค-เรอเนสซองส์ โบสถ์สไตล์บาโรค สร้างเสน่ห์ให้กับเมืองแห่งนี้ จนถูกเลือกให้เป็นฉากสำคัญในซีรีส์ดัง

ความสำเร็จในโลกกีฬา

ปัจจุบันทีมชาติโครเอเชียอยู่ในอันดับที่ 12 ตามการจัดอันดับของฟีฟ่า และพวกเขาเคยขึ้นไปถึงอันดับ 3 เมื่อปี 2541 ในยุคที่ทีมประกอบไปด้วยดาวดังอย่าง ดาวอร์ ซูเคอร์ และ สโวนิเมียร์ โบบัน แต่โครเอเชีย ไม่ได้ทำผลงานได้ดีแค่ในกีฬาฟุตบอล หรือที่ชาวโครเอเชียเรียกว่า “โนโกเมต” (nogomet) เท่านั้น

ทีมแฮนด์บอลของพวกเขา คว้าแชมป์โลกได้ในปี 2546 รวมถึงเป็นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 2 สมัย ขณะที่ทีมโปโลน้ำของพวกเขา ก็เป็นแชมป์โลกด้วยเช่นกัน

แฟนบาสเก็ตบอลอาจรู้จัก ดราเซน เพโตรวิช และ โทนี คูโคช สองนักบาสจากโครเอเชียในลีกเอ็นบีเอ ของสหรัฐ ขณะที่แฟนเทนนิสน่าจะเคยได้ชมผลงานของ โกรัน อิวานิเซวิช และ มาริน ซิลิช

shutterstock 1131010724

ในเรื่องของฟุตบอลนั้น แต่ความสามารถของเด็ก ๆ อาจไม่ใช่เหตุผลเดียว ที่ทำให้ทีมฟุตบอลตราหมากรุก ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่า

โรมีโอ โจแซค หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของสมาคมฟุตบอลโครเอเชีย เคยให้สัมภาษณ์ว่า ยุทธศาสตร์ในการพัฒนานักฟุตบอลภายในประเทศของโครเอเชีย กำหนดให้โค้ชมุ่งฝึกสอนทักษะในแนวทางเดียวกัน สำหรับแต่ละช่วงอายุของเด็ก โดยมีสมาคมฟุตบอล เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคนิค ขณะที่สโมสรทั้งหมดในโครเอเชียก็เห็นพ้องต้องกันกับแผนนี้

นั่นหมายความว่า นักฟุตบอลของโครเอเชียทุกอายุ ตั้งแต่ชุดเด็ก ชุดเยาวชน ไปจนถึงชุดใหญ่ ต่างได้รับการปลูกฝังเกี่ยวกับฟุตบอลในทิศทางเดียวกัน

“คุณต้องสร้างวิสัยทัศน์เดียวกันตั้งแต่อายุ 12 ปี เราคิดค้นหลักสูตรนี้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางเทคนิค สำหรับทีมชุดอายุต่ำกว่า 14 ปีขึ้นไป นักฟุตบอลทุกรุ่น จะต้องทำตามแผนนี้ มันเป็นเรื่องของความสามารถ การมีวิสัยทัศน์ และเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจน”

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า ระบบพัฒนานักฟุตบอลเยาวชนของโครเอเชีย ยังคงตามหลังหลายประเทศในยุโรป และยังต้องอาศัยผลผลิตจากศูนย์ฝึกสอนจากสโมสรยักษ์ใหญ่ในประเทศเป็นหลัก

โครเอเชีย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo