เปิดประวัติ หม่อมน้อย หรือ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ และบรมครูสอนการแสดง ผู้อยู่เบื้องหลังงานภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์ชิ้นสุดท้าย คือ Six characters มายาพิศวง
นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงบันเทิงไทย หลังจากที่มีรายงานข่าวในช่วงกลางดึกที่ผ่านมา (15 ก.ย.) ว่า หม่อมน้อย หรือ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ และบรมครูสอนการแสดง ผู้อยู่เบื้องหลังงานภาพยนตร์ ได้จากไปอย่างสงบ ด้วยวัย 69 ปี ท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครัว คนบันเทิง และแฟนหนังที่ติดตามเป็นอย่างยิ่ง
- สิ้น ‘ม.ล.พันธุ์เทวนพ’ ครูแห่งวงการภาพยนตร์ สิริอายุ 69 ปี
- ‘กรรชัย’ รับหนักใจ หลังถูกเพ่งเล็ง ชี้สิ่งที่ ‘กระทิง’ ควรพิสูจน์ตัวเอง
- บทเรียนราคาแพง บอล กัมมัญญ์ พูดแล้ว ได้เงินคืนไหม หลังร่วมลงทุน Forex-3D
เปิดประวัติ หม่อมน้อย บรมครูวงการบันเทิงไทย กับภาพยนตร์ชิ้นสุดท้าย
สำหรับ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือที่นิยมเรียกกันว่า หม่อมน้อย เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวทีที่มีผลงานโดดเด่นแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนหนึ่งของประเทศไทย ทั้งยังเป็นผู้เขียนบทและอาจารย์สอนวิชากำกับการแสดงและการแสดงในระดับสากล
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล (โอรสในหม่อมเจ้าสุทธาสิโนทัย เทวกุล) กับนางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สมรรคะบุตร) โดยหม่อมน้อยเป็นพระปนัดดา (เหลน) ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ทางหม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล (พระอนุชาในหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระอัยกีใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ผู้เป็นท่านปู่
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นเข้าศึกษา ที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาทำงานทางด้านภาพยนตร์ในเวลาต่อมา
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ มีผลงานเรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ของ สหมงคลฟิล์ม ที่ได้สร้างชื่อให้แก่ นก-สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย
ผลงานกำกับภาพยนตร์ของ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ได้รับรางวัลหลายเรื่อง เช่น เพลิงพิศวาส (2527) , ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529) , ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530) , เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532) , ความรักไม่มีชื่อ (2533) , มหัศจรรย์แห่งรัก (2538) และ อันดากับฟ้าใส (2540)
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 วันเดียวกับ Six characters มายาพิศวง ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพกำกับ เข้าฉายเป็นวันแรก
ผลงาน กำกับภาพยนตร์
– เพลิงพิศวาส (2527)
– ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
– ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
– นางนวล (2530)
– เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532)
– ความรักไม่มีชื่อ (2533)
– มหัศจรรย์แห่งรัก (2538)
– อันดากับฟ้าใส (2540)
– ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
– อุโมงค์ผาเมือง (2554) [6]
– จัน ดารา ปฐมบท (2555)
– จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556)
– แผลเก่า (2557)
– แม่เบี้ย (2558)
– Six characters มายาพิศวง (2565)
ละคร
– เทพธิดาบาร์ 21 (มินิซีรีส์ 2533)
– ช่างมันฉันไม่แคร์ (2536)
– แผ่นดินของเรา (2539)
– ซอยปรารถนา 2500 (2541)
– ปีกทอง (2542)
– ลูกทาส (2544)
– คนเริงเมือง (2545)
– ทะเลฤๅอิ่ม (2546)
– สี่แผ่นดิน (2546)
– ในฝัน (2549)
– ศรีอโยธยา (2560)
ละครเวที
– ALL MY SON (2517) – แสดงที่หอประชุม A.U.A
– บัลเลต์พระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด (2518) – แสดงที่โรงละครแห่งชาติ
– The Lower Depths (2517, 2518) – แสดงที่โรงละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และโรงละครแห่งชาติ
– IMPROMPTU (2520) – แสดงที่สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน
– LES MALENTANDU (2524) – แสดงที่หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– เทพธิดาบาร์ 21 (2529) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
– ONE FLEW OVER THE CUCKOO’S NEST (2530) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
– ผู้แพ้ผู้ชนะ (2532) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
– พรายน้ำ (2533) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
– ราโชมอน (2534) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
– ปรัชญาชีวิต (2531-2533) – แสดงที่ตึกร้าง บ.แปลนอคิวเท็ก, เชียงใหม่ สปอร์ตคลับ, ม.ขอนแก่น
– พระผู้เป็นดวงใจ ของโรงเรียนสวนจิตรลดา (2529) – แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
– แฮมเล็ต เดอะ มิวสิเคิล (2538) – แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
ขอบคุณ : actingclass_hmom
ดูโพสต์นี้บน Instagram
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- กระทิง ขุนณรงค์ โต้ปมเอาเงินปิดปาก พร้อมยืนยันทุกรายได้-รายจ่าย
- เจนี่ อวดหุ่นสวย เอวบางเฉียบ แต่งานนี้เจอชาวเน็ตทักเป็นเสียงเดียวกันว่า?
- กระทิง ขุนณรงค์ เล่าเหตุผลทำไมถึงไม่แจ้งความ ทั้งที่รู้ว่าถูกหลอก