รพ.จุฬาฯ เตือนโรคสุกใส ในวัยรุ่น โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน หายแล้วยังอาจเกิดโรคงูสวัดได้เมื่อภูมิต้านทานลดลง แนะฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อน
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เพจเฟซบุ๊ก ถึงโรคสุกใส หรือที่เรียกกันติดปากว่า โรคอีสุกอีใส สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยระบุว่า
โรคสุกใส เป็นโรคที่มีโอกาสเป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยมากมักเกิดในเด็ก ซึ่งอาการไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับวัยรุ่น หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
การติดต่อ
- ทางการหายใจผ่านทางฝอยละอองขนาดเล็ก จากการหายใจของผู้ป่วย
- สัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนังของผู้ป่วย ที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ คือ ประมาณ 1-2 วันก่อนผื่นขึ้น จนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อวัยรุ่นเป็นโรคสุกใส
- ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
- ปอดอักเสบ
- ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือก
- สมองอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนทางสมองอื่น ๆ
นอกจากนี้ เมื่อหายจากโรคสุกใสแล้ว เชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท อาจทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ เมื่อภูมิต้านทานของร่างกายลดต่ำลง
ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้บุตรหลานฉีดวัคซีนป้องกันโรค เพื่อป้องกันความรุนแรงจากการติดเชื้อ
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- วิจัยอิสราเอล เผยยารักษาโควิด ‘แพกซ์โลวิด’ ไร้ผลในคนหนุ่มสาว แต่ใช้ได้ดีในอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ‘หมอนิธิพัฒน์’ ชี้ยุควัคซีนเต็มแขน ลองโควิดลดเหลือไม่ถึง 10% จากผู้ป่วยโควิดทั้งหมด
- พ่อแม่ต้องอ่าน!! ‘เด็กอ้วน’ เสี่ยงเป็น ‘โรคไขมันพอกตับ’ สูงถึง 44%