Lifestyle

‘โรคงูสวัด’ ภัยเงียบที่วัย 50+ไม่ควรมองข้าม

โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella zoster ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันที่ก่อให้เกิดโรคสุกใส โดยจะแฝงอยู่ตามปมประสาท รอวันที่ร่างกายอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันตก เชื้อก็จะถูกกระตุ้นและกลายเป็นโรคงูสวัด

“จากการศึกษาข้อมูลในหลายประเทศทั่วโลกพบว่า คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันจะลดลง อีกทั้งคนวัยนี้กว่า 90% ยังเคยติดเชื้อไวรัสสุกใสมาแล้ว¹”

shingles 01

โรคงูสวัด เจ็บที่ต้องทนไปอีกนาน

วัย 50+ อาจต้องเจ็บปวดจากโรคงูสวัด และใช้ระยะเวลาในการบรรเทาค่อนข้างนาน กว่าคนอายุน้อยทั้งยังมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าและ ยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่พบบ่อยที่สุดคือ ‘อาการปวดเส้นประสาท’ (Postherpetic neuralgia – PHN)ซึ่งอาจจะมีอาการปวดได้มาก และเป็นอยู่นานหลายเดือนหรือหลายปีแม้ว่าผื่นงูสวัดจะหายแล้ว²

shingles 02

ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคงูสวัด อันตรายกว่าที่คิด

โรคนี้ร้ายกว่าที่คิดหากเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง อาจเกิดแผลเป็นหรือรอยดำตามมา⁷ หรือถ้าโรคงูสวัดขึ้นตาก็อาจทำให้ตาบอดได้³หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที

ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนร้ายแรงอย่าง ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ (Stroke) หรือ ‘โรคหลอดเลือดหัวใจ⁴’รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนที่แม้จะพบไม่บ่อยแต่กลับรุนแรงมาก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้อสมองตาย และกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก⁵ ทำให้ไม่สามารถออกไปใช้ชีวิต หรือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างใจต้องการได้

shingles 03

‘โรคงูสวัด’ รู้ทัน ป้องกันได้

หากไม่อยากเป็นโรคงูสวัด ในวัย 50+ หรือเสี่ยงที่จะเป็นงูสวัดช่วงเดินทางท่องเที่ยว ต้องดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไว้ก่อน ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ตามนี้⁶

– กินอาหารที่มีประโยชน์
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
– พักผ่อนให้เพียงพอ
– ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

เพราะงูสวัดสกัดได้ แค่รู้ทัน มาลดความเสี่ยงและป้องกันไปพร้อมกัน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการป้องกันโรคงูสวัด กรุณาปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ เภสัชกร และพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

1. Kilgore PE, et al. Varicella in Americans from NHANES III: implications for control through routine immunization. J Med Virol. 2003;70(suppl 1):S111-8.
2. World Health Organization. (2014). Varicella and herpes zoster vaccines: WHO position paper, June 2014. Retrived August 22, 2023, fromhttps://www.who.int/publications/i/item/who-wer-8925-265-288
3. Harpaz R, et al. (2008). Prevention of Herpes Zoster: recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). Morbidity and Mortality Weekly Report: Recommendations and Reports, 57(RR-5):1–30; quiz CE2-4.
4. Parameswaran GI, et al. Increased Stroke Risk Following Herpes Zoster Infection and Protection With Zoster Vaccine, Clinical Infectious Diseases, 2023;76(3): e1335–40. Available from:http://dx.doi.org/10.1093/cid/ciac549
5. Meyers JL, et al. c, 2019;37(9):1235–44. Available from:http://dx.doi.org/10.1016/j.vaccine.2018.11.079
6. Center for Disease Control and Prevention. (2008). Prevention of Herpes Zoster Recommendations of the Advisory Comittee on Immunization Practices (57). CDC
7. Hayderi L et al. Am J Clin Dermatol 2018;19:893–897

NP-TH-NA-WCNT-230017

ขอบคุณ:ข้อมูลhttps://www.genyoungactive.com/

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight