Lifestyle

8 ผลกระทบ จากการเสพติด Social Media มากเกินไป

8 ผลกระทบ จากการเสพติด Social Media มากเกินไป ถ้าไม่รีบป้องกันอันตรายถึงได้พบจิตแพทย์

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และใครหลายคนก็เสพติด Social Media กันมากขึ้น บ้างก็ใช้ทำงาน บ้างก็ใช้เรียนออนไลน์ บ้างก็ท่องอินเทอร์เน็ตในเวลาว่าง แต่รู้ไหมว่าการใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลามากจนเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบกับการงาน การเรียน และการขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างเห็นได้ชัด

โซเชียล

6 สัญญาณการติดสื่อโซเชียล / สื่อสังคมออนไลน์

  1. อยู่กับโซเชียลมีเดียนานติดต่อกันหลายชั่วโมง
  2. ถือโทรศัพท์และเปิดดูเว็บหรือคลิปทั้งวัน ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม
  3. เมื่อไม่ได้ใช้สื่อเหล่านี้จะรู้สึกกระวนกระวายใจ หงุดหงิด
  4. พยายามที่จะควบคุมการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของตัวเอง แต่ไม่สามารถควบคุมได้
  5. ชอบใช้โซเชียลมีเดียเพื่อคลายเครียด
  6. สำหรับเด็กในวัยเรียนหรือวัยรุ่น จะมีพฤติกรรมชอบเก็บตัวอยู่ในห้อง และอาจมีพฤติกรรมโกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่นโซเชียลมีเดียได้มากขึ้น

นอกจากนี้การเสพติดโซเชียลมีเดียยังเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า โรคเครียด สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้เช่นกัน มีถึง 8 ข้อ ที่อาจจะเกิดผลกระทบกับตัวคุณเองได้เช่นกันหากใช้งาน Social Media ตลอดเวลา

  1. มีการปฏิสัมพันธ์ลดลง บางเวลาควรวางโทรศัพท์เพื่อสื่อสารกับคนตรงหน้ามากกว่า
  2. เรียกร้องความสนใจ เช่นต้องการจำนวน Like มากขึ้นจากการโพสต์
  3. ไขว้เขวจากเป้าหมาย เพราะใช้เวลาทั้งหมดกับการเล่น Social ทั้งวัน
  4. ความสัมพันธ์ล้มเหลว ทำให้เกิดความหึงหวง ไม่ไว้ใจกันและสิ้นสุดความสัมพันธ์
  5. เจอนักเลงคีย์บอร์ด ทั้งคำหยาบคาย คำด่า คำตำหนิ ต่าง ๆ
  6. เกิดทุกข์กับการเปรียบเทียบระหว่างชีวิตของคุณ และเพื่อนที่คุณเห็นบนโลก Social
  7. นอนหลับยากขึ้น ทางที่ดีไม่ควรเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน
  8. ไม่มีความเป็นส่วนตัว ข้อมูลที่โพสต์อาจถูกค้นหาและจะอยู่บนโลก Social

ความเจริญของเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตหากใช้ถูกวิธีมันก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าหากใช้มากจนเกินไปมันจะกลายเป็นโทษต่อสภาพจิตใจกับผู้ใช้เอง ดังนั้นควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง และใช้โซเชียลมีเดียเฉพาะในเวลาที่จำเป็น หากใครรู้สึกว่าตนเองเข้าข่ายเสพติดโซเชียลมากเกินไป ควรหาวิธีป้องกัน ดังนี้

วิธีการป้องกันการเสพติดโซเชียลมีเดีย

  • พยายามจำกัดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง
  •  พยายามหากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การออกกำลังกาย การไปท่องเที่ยว เป็นต้น
  •  ปรึกษาจิตแพทย์ หรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo