Lifestyle

เช็กสัญญาณเตือน ‘โรคฮีทสโตรก’ อาการ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ทำความรู้จักโรคยอดฮิตช่วงหน้าร้อน สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรกคืออะไร ดูแลสุขภาพตัวเองและคนรอบข้างกัน

ฮีทสโตรกคือ โรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมแดด พบบ่อยช่วงหน้าร้อน เกิดจากการอยู่ท่ามกลางความร้อนหรือร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศา การเกิดโรคแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุ

ฮีทสโตรก

  1. Classical Heat Stroke = เกิดจากมีความร้อนในสิ่งแวดล้อมมากเกินไป
  2. Exertional Heat Stroke = เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป

อาการ

  • อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้า
  • มีภาวะขาดเหงื่อ ไม่รู้สึกตัว ชัก
  • หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • พาเข้าที่ร่ม ให้นอนราบยกเท้าขึ้นสูง ถอดเสื้อผ้าออก
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว เช่น รักแร้ คอ หน้าผาก เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย
  • หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ
  • นำส่งโรงพยาบาล

วิธีป้องกัน

  • เลี่ยงการอยู่กลางแดดตอนอากาศร้อนจัด
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ถ้าอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนควรดื่มน้ำชั่วโมงละ 1 ลิตร
  • ทาครีมกันแดด SPF 15 ขึ้นไป
  • ใส่เสื้อผ้าเบาสบาย ไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี
  • ดดื่มแอลกอฮอล์

ฮีทสโตรก

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo