Lifestyle

เตือนสายชาบู หมูกะทะ กิน ‘หมูดิบ’ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

เตือนสายชาบู หมูกะทะ กิน “หมูดิบ” เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค “ไข้หูดับ” อันตรายถึงชีวิต

หมูกะทะ หรือ อาหารปิ้ง-ย่างเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากช่วงหน้าหนาว แต่แฝงด้วยอันตรายหาก “กิน” แบบไม่ปลอดภัยเพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค “สเตรปโตคอคคัส ซูอิส” หรือ “ไข้หูดับ” จากการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ หรือใช้ตะเกียบคีบรวมกันระหว่างเนื้อที่ปรุงสุกแล้วกับที่เนื้อที่ยังดิบอยู่ รวมทั้งเสี่ยงต่อการได้รับสารพีเอเอชหรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน(Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่เกิดในควันไฟ ไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ และเตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม

หมูดิบ

โดยสารนี้จะพบในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารที่ปรุงด้วยการปิ้ง ย่าง หรือรมควันของเนื้อสัตว์ที่มีไขมันหรือมันเปลวติดอยู่ เช่น หมูย่างติดมัน เนื้อย่างติดมัน ไก่ย่างส่วนติดมัน เนื่องจากขณะปิ้งย่าง ไขมันหรือน้ำมันจะหยดไปบนเตาไฟ ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดสารพีเอเอชลอยขึ้นมาพร้อมเขม่าควันเกาะที่บริเวณผิวของอาหาร หากกินเข้าไปเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

นอกจากกินเนื้อดิบแล้ว เชื้อนี้ยังสามารถเข้าทางบาดแผล หรือรอยถลอก ขีดข่วนตามร่างกาย หรือทางเยื่อบุตาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูญเสียการได้ยิน ถึงขั้นหูหนวกถาวรได้ โดยเฉพาะในช่วงนี้มีงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ มีการรับประทานเนื้อหมู เช่น ร่วมวงทานหมูกระทะ แล้วปิ้งย่างไม่สุก หรือ สุกๆ ดิบๆ อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคหูดับได้

จากข้อมูลสถานการณ์โรคหูดับในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 23 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ป่วยโรค หูดับ 349 ราย มีผู้เสียชีวิต 6 ราย ได้แก่ .เชียงใหม่ 2 ราย . เชียงราย 1 ราย . เพชรบูรณ์ 1 ราย .กำแพงเพชร 1 ราย และ .หนองคาย 1 ราย

ข้อระวังโรคหูดับ 

1.ควรรับประทานหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น

2.อาหารปิ้งย่าง ควรมีอุปกรณ์คีบหมูดิบๆ แยกต่างหาก ไม่ควรใช้ตะเกียบคีบหมูดิบ แล้วนำมารับประทาน และขอให้ยึดหลักสุก ร้อน สะอาด

3. ไม่ควรรับประทานเนื้อหมูดิบร่วมกับการดื่มสุรา

4. ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ ไม่ควรซื้อจากแหล่งที่ไม่ทราบที่มาของหมู

5. ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง

ระวัง

ขอบคุณข้อมูล สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo