วันที่ 22 เมษายน ของทุกปี เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day ซึ่งประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Program หรือ “UNEP”) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2513 และในปีนี้ นับได้ว่า “วันคุ้มครองโลก” ได้ถือกำเนิดมาครบ 50 ปีแล้ว
วันคุ้มครองโลกนี้ เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่มตัดสินใจขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ยกเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ เคนเนดีเห็นด้วยและได้ออกเดินสายทั่วประเทศ เป็นเวลา 5 วัน ในช่วงเดือนกันยายน 2506
การเดินสายครั้งนั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่มวันคุ้มครองโลก จนในปี 2512 ส.ว.เนลสันได้ผลักดันให้มีการจัดการชุมนุมประชาชนระดับรากหญ้าทั่วประเทศขึ้น เพื่อให้คนได้แสดงความคิดเห็น ที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดกระแสความห่วงใยในวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ของสังคมอเมริกันในขณะนั้น นำไปสู่ความสำเร็จของการก่อตั้งวันคุ้มครองโลกขึ้น
ในประเทศไทย หลายองค์กรจัดกิจกรรมวันคุ้มครองโลกเป็นประจำทุกปี แต่จนถึงปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นปัญหาและประเด็นให้หลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมได้ขบคิด และหาทางแก้ไขปัญหาตลอดเวลา โดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติก ที่หลายคนทราบดีว่า จำนวนขยะพลาสติก ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น หลักๆ มาจากวิธีการจัดการการคัดแยกพลาสติกหลังการใช้ที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้ขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาระดับโลกในวันนี้
หากเรามองดูให้ลึกถึงแก่นของการจัดการปัญหาขยะพลาสติกในวันนี้ จะพบว่า หลายองค์กรในประเทศไทยตื่นตัว พยายามรณรงค์ และ ช่วยกันแก้ไขปัญหาตามวิถีของแต่ละองค์กรมาไม่มากก็น้อย โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการ
หนึ่งในองค์กรตัวอย่างที่แสดงความมุ่งมั่นและพยายามคิดค้นพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังจะล้นโลก คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ชั้นนำเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตรายใหญ่ของประเทศไทย
GC ถือเป็นเรือธงที่สำคัญของกลุ่มปตท. ในการยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยผลิตภัณฑ์นานาชนิดจากเคมีภัณฑ์ โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก ที่นำไปผ่านประบวนการให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ และมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากมาย
ในด้านการบริหารความยั่งยืน (Sustainability) GC มุ่งมั่นผลิตเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายชัดเจนด้านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission) จากกระบวนการผลิตของบริษัท โดยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ใน 10 ปีข้างหน้า (ปี 2573) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน สอดคล้องกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของไทย และยังตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 52% ภายในปี 2593 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของโลกในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส
ผลิตภัณฑ์ที่ GC ดำเนินการผลิต ได้รับการรับรองเครื่องหมาย Carbon Footprint และ Carbon Footprint Reduction จากองค์การก๊าซเรือนกระจก (TGO) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน และมีการวางเป้าหมายที่จะมีผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษและผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Performance & Green Chemicals) เพิ่มเป็น 30% ภายในปี 2573 รวมทั้งยกเลิกการผลิตเม็ดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งใน 5 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ GC ยังได้รับการจัดอันดับเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) หรือ DJSI ปี 2019 โดยได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลกด้านการพัฒนา อย่างยั่งยืน ด้วย Percentile 100 และอยู่ในระดับ Top 10 ของ DJSI World และ Emerging Markets ในกลุ่มเคมีภัณฑ์ (Chemical Sector) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7
ยิ่งไปกว่านั้น GC ยังยึดหลัก Circular Economy เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและส่งเสริม ให้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันตามแนวคิด GC Circular Living โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อความยั่งยืนสูงสุด ต่อยอดบูรณาการให้เกิดความยั่งยืน ในทุกธุรกิจและกระบวนการของบริษัท
GC ได้ร่วมกับองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ผสานการทำงานร่วมกัน เช่น โครงการคุ้งบางกะเจ้าโมเดล โครงการเชียงรายโมเดล โครงการความร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โครงการ Waste this Way ในงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป และโครงการทดสอบและพัฒนาต่อยอดเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 เป็นต้น
GC ยังมีแนวทาง ที่ยั่งยืนในการใช้พลาสติกสำหรับทุกคน (Solutions for Everyone) รวมทั้งสร้างระบบเพื่อแก้ไขปัญหา แบบองค์รวม ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุม 4 ด้าน
- พลาสติกชีวภาพ (Bio-based)
มุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่สลายตัวได้ด้วยการฝังกลบ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่ยากต่อการคัดแยก หรือ พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีข้อจำกัดเรื่องการแยกขยะ
- พลาสติกทั่วไป (Fossil-based)
มุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบ นำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล (Recycle) หรือ อัพไซเคิล (Upcycle) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถคัดแยกได้ หรือ พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความตระหนักในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
- ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem)
เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน สร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้พลาสติก เพื่อก่อให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อหลักการ Circular Economy ซึ่งเริ่มจากจุดเล็กๆ และเกิดเป็นการขยายผลแบบทวีคูณ
- การเป็นส่วนหนึ่ง (Inclusiveness)
GC จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้า SMEs ให้ปรับตัวกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค เราจะขับเคลื่อน พัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับลูกค้าของเรา
ล่าสุด GC ได้มอบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสำหรับเดลิเวอรี่กว่า 3 แสนชิ้น ให้ร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบกว่า 200 ร้าน เพื่อช่วยร้านลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงปรับตัวเปิดขายเดลิเวอรีสู้ภาวะวิกฤติโควิด-19 ประกอบด้วย ถ้วยกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ ถุงหูหิ้วพลาสติกชีวภาพ และ ชุดช้อน-ส้อมพลาสติกชีวภาพ ที่ได้รับการรับรองฉลาก GC Compostable ซึ่งหมายถึง บรรจุภัณฑ์ผลิตจากพลาสติกชีวภาพที่ทำมาจากพืช (Biobased) สลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม กลายเป็นสารปรับปรุงดินกลับคืนสู่ธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่ปลอดภัยต่อสุขภาพเหล่านี้ นอกจากช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 จากการใช้บรรจุภัณฑ์ และภาชนะร่วมกันแล้ว ยังช่วยลดปัญหาขยะได้อีกด้วย
ผู้บริโภคสามารถนำถ้วยกระดาษเคลือบไปใช้ซ้ำแปลงเป็นกระถางปลูกต้นไม้ เพียงใส่เมล็ดพืช ที่จะงอกเป็นต้นไม้ ถ้วยจะย่อยสลายไปในดิน สำหรับถุงหูหิ้วพลาสติกชีวภาพทุกใบที่ใช้ใส่อาหาร ยังสามารถนำมาใช้ซ้ำเป็นถุงขยะใส่เศษอาหารและขยะอินทรีย์ และผู้ใช้ยังสามารถทิ้งชุดช้อน-ส้อมพลาสติกชีวภาพ รวมกับเศษอาหารในถุงหูหิ้ว เพราะสามารถย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักพร้อมกับเศษอาหารได้
นี่เป็นเพียง 1 ตัวอย่าง จาก GC ที่ได้ลงมือคิด และ ปฏิบัติทันทีในช่วงภาวะวิกฤติที่รอไม่ได้ ซึ่งความสำเร็จนี้ไม่สามารถเกิดจาก GC ได้เพียงคนเดียว แต่เป็นเพราะองค์กรนี้มีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เข้าใจ พร้อมที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า “พลังร่วม” นั้นสำคัญเพียงไหน ทั้งนี้ทั้งนั้น ในความจริง เราอาจไม่จำเป็นต้องรอให้องค์กรใหญ่ๆ ขยับ โลกก็น่าอยู่มากขึ้นทุกวันได้ หากทุกคนปรับตัว คิด และช่วยกันเริ่มลงมือทำในวิถีของตนเมื่อไหร่ ประเทศไทยก็ก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงได้สมตามความปรารถนาของผู้ก่อตั้ง “วันคุ้มครองโลก” ได้เท่านั้น