Environmental Sustainability

‘กรุงไทย’ สานพลัง สร้างสมดุล ‘คน-สัตว์-ป่า’ ด้วยพลังใจจิตอาสา ‘VVE Vayu Volunteer’

“กรุงไทย” มุ่งมั่นสู่การเป็น “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” จับมือ “มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์” สืบสาน รักษา ต่อยอด แก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า พร้อมอนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพชีวิตประชาชน ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก 

ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน: Growing Together for Sustainability” ด้วยการดำเนินธุรกิจ ควบคู่การดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตามหลักการ ESG (Environmental Social และ Governance)

สร้างพลังสมดุล e1663731216306

สอดคล้องกับกรอบการทำงาน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ (UN) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก โดยนำเป้าหมายดังกล่าว มาเป็นกรอบการดำเนินงานลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความยากจน เพื่อให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ธนาคารยังได้ปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับพนักงาน สละเวลา อุทิศตน เพื่อทำหน้าที่จิตอาสา ให้การช่วยเหลือ สร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง หวังยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ทำให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มจิตอาสา “VVE Vayu Volunteer” อีกหนึ่งกลไกสำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้กรุงไทย ก้าวสู่การเป็น “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” พร้อมอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้คนในสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน

กรุงไทย

“กรุงไทย” กับภารกิจ “พลิกฟื้นพื้นที่ป่ารอยต่อ” ภาคตะวันออก

ธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสมดุลทางธรรมชาติ กับการอยู่ร่วมกันของสัตว์ป่า และคนในชุมชน ทั้งยังเชื่อว่า “น้ำ” เป็นทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต

แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับการดำเนินงานของ “มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” ที่มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เข้ามาใช้วางแผนพัฒนา ฟื้นฟู และบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ นำไปสู่แนวทางพัฒนาการจัดการอย่างยั่งยืน

กรุงไทย

ธนาคารสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด การแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า รวมทั้งการอนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ครอบคลุม ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ชลบุรี และสระแก้ว

กรุงไทย

พื้นที่ป่ารอยต่อภาคตะวันออก ที่ตั้งของหมู่บ้านคชานุรักษ์ บ้านหนองกระทิง และหมู่บ้านคชานุรักษ์บ้านคลองมะหาด จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่ากว่า 400 ตัว ในจำนวนนี้มีมากกว่า 300 ตัว ที่อยู่อาศัยในบริเวณอำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ ซึ่งกำลังประสบปัญหาในเรื่องแหล่งน้ำ และอาหารในธรรมชาติของช้างลดน้อยลง ส่งผลให้ช้างออกจากพื้นที่ป่า เข้ามาในเขตพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่

กรุงไทย

จึงมีการรวมพลังระหว่างอาสาสมัคร VVE Vayu Volunteer กว่า 100 คน กับชาวบ้านในชุมชน ภาคีเครือข่าย และนักเรียนกว่า 300 คน ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหารของช้าง ได้แก่ ข่า ตะไคร้ สะเดา ชะอม รวมกว่า 3,000 ต้น ในพื้นที่ชุมชน

กรุงไทย

โดยใช้กุศโลบายในการปลูกพืชที่ช้างไม่ชอบ เป็นแนวกันชนช้าง ให้กับแปลงเกษตรชุมชน และปลูกพืชแหล่งอาหารช้างบริเวณป่าธรรมชาติ เพื่อสร้างความคุ้นเคย ให้ช้างป่าหากินอยู่ภายในบริเวณป่าธรรมชาติ สร้างสมดุลระหว่างคนในชุมชนกับช้างให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

กรุงไทย

สนับสนุนชุมชนพึ่งพาตนเอง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ธนาคารและภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง นนทรี ขี้เหล็ก สะเดา และเทพา เพื่อสร้างสมดุลทางระบบนิเวศ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำให้ชุมชนใช้ประโยชน์ได้ โดยเข้าไปช่วยเหลือแบบครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาแหล่งน้ำ การปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงการดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ สนับสนุนให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรุงไทย

ภารกิจในครั้งนี้ถือเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างรากฐานที่มั่นคง ต่อการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ให้เกิดความเข้มแข็งจากภายใน เปิดโอกาสให้คนในชุมชนร่วมคิด กำหนดแนวทางพัฒนาชุมชน ผลักดันให้เกิด Creating Shared Value หรือการดำเนินธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับกิจการและสังคมไปพร้อมกัน

กรุงไทย

ก้าวต่อจากนี้ ธนาคารกรุงไทยมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรอยยิ้ม คืนความสุขให้สังคม สร้างคุณค่าร่วมระหว่างธนาคาร สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุล และยั่งยืนต่อไป

กรุงไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo