Environmental Sustainability

สผ. – ทน. ลงนามบันทึกความเข้าใจ ผลักดัน Biodiversity Big Data ในพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วประเทศ

สผ. – ทน. ลงนามบันทึกความเข้าใจ การจัดทำระบบคลังข้อมูล ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

วันที่ 19 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม 1001 ชั้น 10 อาคารทิปโก้ 2 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สำนักงานโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และนายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) การจัดทำระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของทั้สองหน่วยงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามดังกล่าว ประมาณ 30 คน

การลงนาม MOU ระหว่าง สผ. และ ทน. มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงาน การจัดทำระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลจากกรมทรัพยากรน้ำจะเข้ามาช่วยเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์ของข้อมูล

สผ.

จัดทำระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ

โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สำคัญ ให้มีฐานข้อมูลทรัพยากรมากพอต่อการประมวลผล และแสดงผลข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อ งในการใช้งานเชิงวิชาการและการวางแผนเชิงพื้นที่ในทุกระดับ และสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

สผ.

โดยจะมีการปรับปรุงและนำเข้าข้อมูลสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (15 แห่ง) พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ (47 แห่ง) และระดับนานาชาติ (69 แห่ง) รวมไปถึงพัฒนาการแสดงข้อมูลองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (พื้นที่นำร่อง) เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ และเป็นฐานทรัพยากรในระดับชุมชน ในระดับจังหวัด ร่วมกันของประเทศ

ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย (Thailand Biodiversity Information Facility: TH-BIF) พัฒนาขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 มีการจัดเก็บข้อมูลพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ผู้เชี่ยวชาญ งานวิจัย การใช้ประโยชน์ และสถานภาพตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สผ.

เชื่อมโยงข้อมูลกับ 18 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มุ่งเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่มีภารกิจหลัก ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย และมีการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เป็นระบบตามมาตรฐานสากล รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การพัฒนาระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

สผ.

และจากจุดเริ่มต้นระบบคลังข้อมูลฯ ได้มีการประสานและขยายเครือข่ายข้อมูลให้ครอบคลุมหน่วยงานที่มีภารกิจหลักเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจการจัดทำระบบคลังข้อมูลฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ จำนวน 18 หน่วยงาน จาก 5 กระทรวง และ 1 องค์กรพัฒนาเอกชน

และได้มีการเชื่อมต่อข้อมูลจากหน่วยงานระหว่างประเทศ 2 หน่วยงาน ได้แก่  Global Biodiversity Information Facility (GBIF) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

ปัจจุบันระบบคลังข้อมูลฯ ได้มีการนำเข้าและเชื่อมต่อข้อมูลจากหน่วยงานเครือข่ายแล้ว มากกว่า 120,000 รายการ

อ่านขาวเพิ่มเติม

Avatar photo