Technology

เอไอเอส ปักธง อีอีซี ลงทุนเครือข่ายปีนี้ 30,000 ล้านบาท มุ่งผู้นำ 5G ไทย

เอไอเอส ปักธง อีอีซี วางโครงข่าย 100% วางงบลงทุนปีนี้ พัฒนาโครงข่าย 25,000 – 30,000 ล้านบาท ทั้ง 5G และ 4G ลั่นปีนี้ ปีแห่งความท้าทายอีกครั้ง

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า ปี 2564 ยังคงเป็นปีที่ท้าทายอย่างมาก สำหรับการเดินหน้าของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ที่ต้องผนึกกำลัง เสริมความแข็งแกร่ง เพื่อให้สามารถฝ่าวิกฤติไปด้วยกันให้ได้ โดยล่าสุด เอไอเอส ปักธง อีอีซี วางโครงข่ายเต็มพื้นที่ 100%

เอไอเอส

ทังนี้ เอไอเอสในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ที่ผ่านมา ได้ร่วมทำงานกับพาร์ทเนอร์ ผู้ผลิต Device ระดับโลก, ทดลองทดสอบ 5G โซลูชั่นส์กับพาร์ทเนอร์หลากหลายอุตสาหกรรม พร้อม ๆ กับการลงทุนพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง จนครบ 77 จังหวัดเป็นรายแรก พร้อมครอบคลุม 100% สำหรับพื้นที่ใช้งานใน EEC ด้วยงบลงทุนในปี 2563 เป็นเงิน 35,000 ล้านบาท

สำหรับปีนี้ 2564 เอไอเอส ได้เตรียมงบลงทุนเครือข่ายรวม 25,000 – 30,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเครือข่ายทั้ง 5G และ 4G อันจะเป็นการยกระดับ สู่โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัลอัจฉริยะ ที่แข็งแกร่ง เพื่อประโยชน์ของประเทศต่อไป

ล่าสุด เอไอเอส โดยบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz (25.2 – 26.4 GHz ) ได้ชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz เป็นเงินจำนวน 5,719,150,000.00 บาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เรียบร้อยแล้ว

เอไอเอส3 e1613679633688

ทั้งนี้ เอไอเอสเป็นเพียงรายเดียวที่มีคลื่น 26 GHz ย่านความถี่สูง ในปริมาณแบนด์วิธมากที่สุดถึง 1200 MHz และพร้อมแล้วในการเปิดให้บริการทันที โดยคุณสมบัติของคลื่น 26 GHz ถือได้ว่าตอบโจทย์การดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง อาทิ

  • เนื่องจากเป็นย่านความถี่สูง และมีปริมาณแบนด์วิธมากที่สุด มีความสามารถในการรองรับการใช้งานได้มหาศาล จึงทำให้ลงเครือข่ายได้อย่างเฉพาะเจาะจง ในพื้นที่ของแต่ละโรงงาน อย่างไม่ต้องกังวลเรื่องการกวนกัน ของคลื่นสัญญาณ
  • สามารถออกแบบเครือข่ายได้อย่างสอดรับกับลักษณะธุรกิจที่แตกต่างกันของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีความหน่วงที่ต่ำมาก สามารถตอบสนองการทำงานของอุปกรณ์ ในสายพานการผลิต ของโรงงานอุตสาหกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เอไอเอสยังได้ร่วมกับ เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ (SNC) ผู้ผลิตกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของประเทศในพื้นที่ EEC นำเทคโนโลยี 5G ในอนาคต มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตภายในโรงงาน

เอไอเอส1 e1613679663434

ดร.สมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธาน อีอีซี ustrial Forum กล่าวว่า การผลักดันเทคโนโลยี 5G ในพื้นที่ อีซีซีต้องการพัฒนา Recourses ทั้งทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรด้านดิจิทัล โดยมีกลุ่มผู้นำจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาร่วมกัน  เชื่อมประสานพัฒนาความก้าวหน้าที่เป็นจริง สัมผัสจับต้องได้

การพัฒนาเทคโนโลยี 5G ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก และยังเป็นแกนหลัก โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่จำเป็นสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุดใหม่ ที่สอดคล้องกับ แผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

เทคโนโลยี 5G จะถูกเชื่อมโยงเข้ามาในบทบาทของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อการตอบสนองแบบ Real Time รองรับภาคการผลิต การท่องเที่ยว และเกษตรกรรม เช่น ยานยนต์อัตโนมัติ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะ การให้บริการด้าน Smart Logistic, IoT และนวัตกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และปรับฐานอุตสาหกรรมเดิมในพื้นที่่ ผ่านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เขตพื้นที่ EEC มีศักยภาพสูงด้านการลงทุน ทั้งในไทยและนักลงทุนจากทั่วโลก

นอกจากนี้ จากการชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz พร้อมรับใบอนุญาตในวันนี้ ส่งผลให้ เอไอเอสถือครองคลื่นความถี่ 5G ครบทั้ง 3 ย่าน ได้แก่ คลื่น 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz

หากรวม เฉพาะคลื่นความถี่ที่จะนำมาให้บริการ 5G ทั้งหมดอยู่ที่ 1330* MHz และเมื่อรวมกับคลื่นความถี่เดิมที่มีจำนวนมากที่สุดอยู่แล้ว ส่งผลให้เอไอเอสยังคงยืนหยัด ในฐานะผู้นำอันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการ 3G,4G และ 5G มากที่สุดในอุตสาหกรรม รวม 1420 MHz

อ่านข่าวเพิ่มเตม

Avatar photo