CSR

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เปิดแผนปี 66 ‘จากภูผา ผืนนา สู่มหานที’ สร้างคุณค่ายั่งยืน

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เปิดแผนปี 66 มุ่งตอบแทนคุณแผ่นดิน ยกระดับคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย สร้างคุณค่าสู่ทั่วสังคมไทยให้ยั่งยืน “จากภูผา ผืนนา สู่มหานที”

นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ในฐานะ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เปิดเผยว่า ตลอด 35 ปี มูลนิธิได้น้อมนำพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สานต่อปณิธานตอบแทนคุณแผ่นดิน ตามรอยใต้เบื้องพระยุคลบาท

1 18

ทั้งยังคงขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมไทย ตามแนวคิด “มุ่งสร้าง 4 ดี พัฒนา 4 ด้าน” ได้แก่ คนดี พลเมืองดี อาชีพดี และสิ่งแวดล้อมดี สอดคล้องไปกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ใน 3 มิติหลัก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตลอดจนตามเป้าหมายหลักการสากล “การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ 17 ประการ (SDGs)” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง 77 จังหวัด ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน สังคม และการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันอย่างสมดุล

ปี 2566 มูลนิธิมีเป้าหมายขยายขอบเขตพื้นที่ในการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย จาก “ภูผา ผืนนา สู่มหานที” ทั่วทุกภูมิภาคอย่างยั่งยืน

“ภูผา” มูลนิธิยังคงเดินหน้าโครงการอมก๋อย โมเดล สร้างอมก๋อยน่าอยู่ คู่ป่าต้นน้ำ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ป่าต้นน้ำที่มีกว่า 1 ล้านไร่ ของประเทศไทยให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมรายได้ให้เกษตรกร และชุมชนอย่างยั่งยืน

2 14

การดำเนินงานที่ผ่านมามีการปลูกต้นไม้ กว่า 70,000 ต้น มีเกษตรกรในโครงการจาก 3 ตำบล รวม 990 ครัวเรือน นอกจากนี้ ยังมีงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า (กวางผา) เพื่อรักษากวางผาสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยให้อยู่ในภาวะสมดุลและยั่งยืนต่อไป

“ผืนนา” มูลนิธิยังคงมุ่งเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้มั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิต และเป็นต้นแบบที่สามารถขยายผลได้ โดยร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน ในการส่งเสริมเรื่องต่าง ๆ อาทิ เพิ่มองค์ความรู้ เกษตรมูลค่าสูง การจัดการและเทคโนโลยีด้านการเกษตร การแปรรูปเพิ่มมูลค่า การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สร้างผู้นำเกษตรรุ่นใหม่ การเชื่อมโยงตลาด การออมในรูปแบบธนาคารชุมชนและกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน

5 7

มีเกษตรกรในโครงการแล้วกว่า 3,500 คน สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 12.5 ล้านบาท ผ่านการดำเนินงาน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และโครงการสนับสนุนการพัฒนาร่วมกับภาคีเครือข่าย

ในปีนี้ มูลนิธิขยายขอบเขตงาน เพื่อมุ่งสู่ “มหานที” ผ่านโครงการพัฒนาอาชีพตำบลปากรอ ตามดำริ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา และขยายสู่โครงการทะเลสาบสงขลาโมเดล

ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำใหญ่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ครบคลุมพื้นที่ 5 ล้านไร่ ใน 3 จังหวัด ที่กำลังประสบปัญหา ทั้งปัญหาด้านภัยธรรมชาติ และปัญหาจากการกระทำของมนุษย์ จึงเกิดเป็นแผน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสาบสงขลา การพัฒนาอาชีพ และยกระดับรายได้ชุมชน และการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

8

นอกจากนี้ มูลนิธิยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านมิติงานต่าง ๆ สำหรับด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน ได้แก่ โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ยังคงมุ่งมั่นส่งต่อโภชนาการที่ดีแก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล

ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมแล้วกว่า 935 โรงเรียน สามารถผลิตไข่ไก่เพื่อบริโภคและจำหน่ายได้ถึง 20 ล้านฟอง ที่นักเรียนได้รับโปรตีนจากไข่ไก่ที่สด สะอาด ปลอดภัยในทุกๆ วัน

ปี 2566 ยังขยายพื้นที่สนับสนุนที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ระมาด และ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งมีประชากรกว่า 10,000 คน มีฐานะยากจนและอยู่ในพื้นที่สูงทุรกันดาร

โครงการสนับสนุนทุนการศึกษานักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะนักเรียนศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มาดูแลอยู่พักค้างหอพักในศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนเกษตร เพื่อบ่มเพาะให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณธรรม รวมถึงการเสริมสร้างทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ โดยเฉพาะเรียนรู้ทักษะด้านธุรกิจเกษตร ในปีนี้ ยังคงดูแลเด็กนักเรียนทุนอย่างต่อเนื่องกว่า 100 คน

3 16

ปีการศึกษา 2565 มี โครงการศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนเกษตร เป็นพื้นที่ฝึกทักษะอาชีพให้นักเรียนทุน ทั้งยังตั้งเป้าให้เด็กและเยาวชน เกษตรกร และผู้ที่สนใจเป็นสถานที่ศึกษา สถานที่ดูงาน ศูนย์สาธิตด้านการเกษตร

โครงการครอบครัวอุปการะในชุมชนวัฒนธรรม (เด็กกำพร้า) มูลนิธิเห็นความสำคัญของเด็กกำพร้าให้ได้รับความรักความอบอุ่น และความมั่นคงทางจิตใจจากครอบครัวอุปการะ สามารถเติบโตมีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการศึกษา ช่วยหล่อหลอมให้เติบโตเป็นคนดี เป็นพลเมืองดีของสังคมทั้งทางกายและจิตใจ

มูลนิธิยังรับนโยบายเรื่อง “ความกตัญญู” ผู้มีคุณต่อประเทศชาติ ของเครือซีพี ผ่านโครงการกตัญญูและศูนย์พัฒนาสุขภาพผู้สูงวัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ยากลำบาก และเสริมสร้างค่านิยมความกตัญญูแก่พนักงานและชุมชน ทั้งยังสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกับภาคีชุมชน อาสาสมัคร รวมถึงพนักงานเครือซีพี

7 3

สุดท้าย โครงการพัฒนาอาชีพด้านการบริบาล เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา สร้างอาชีพบริบาลแก่เยาวชนที่สนใจ รองรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลอย่างดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยในปีนี้ จะดำเนินโครงการฯ ร่วมกับโรงเรียนการบริบาลจำนวน 6 แห่ง และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรม มีนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมมากกว่า 100 คน

ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาของมูลนิธิ ส่งผลเชิงบวกทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยังคงมุ่งมั่นสานต่อโครงการต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงและสามารถส่งมอบคุณค่าสู่สังคมไทย ทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน ชุมชนและเกษตรกร ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันอย่างยั่งยืน

6 7

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo