COLUMNISTS

วัยทอง!! กับฮอร์โมนที่น้อยลง

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
3071

f8

 

วัยทองกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ในชีวิตมนุษย์ทุกคนต่างต้องเดินผ่านกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งวัยทอง และไม่ว่าจะเป็นวัยใดก็ตาม ร่างกายจะถูกควบคุมด้วยระบบการหลั่งฮอร์โมน ฮอร์โมนจึงเปรียบเสมือนตัวส่งต่อเพื่อช่วยสาน ช่วยเชื่อมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในร่างกาย และแน่นอน เมื่อเราอายุมากขึ้น ฮอร์โมนต่าง ๆ ย่อมลดน้อยถอยลง และอย่างที่เราทราบกันดีว่า การทำงานฮอร์โมนนั้นจะทำงานลดลง น้อยลง กว่าเมื่อเรายังเป็นหนุ่มสาว

ฮอร์โมน (Hormones) คืออะไร

อธิบายง่าย ฮอร์โมน คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายทุกคนสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นตัวสื่อสารและทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยฮอร์โมนจะหลั่งมาจากต่อมไร้ท่อ แล้วซึมไหลผ่านเข้าสู่เส้นเลือด เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะส่งต่อไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และฮอร์โมนก็จะทำหน้าที่ส่งต่อไปยังอวัยวะต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ นั่นเอง

โดยปกติ หน้าที่ของฮอร์โมน จะแบ่งออกง่าย ๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • ทำหน้าที่ช่วยควบคุม และรักษาสภาพภายในร่างกายให้ปกติ ไม่ว่าจะเป็น การเผาผลาญ หรือการดูดสารอาหารในร่างกาย รวมถึงควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
  • ทำหน้าที่เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ เนื้อเยื่อ ในร่างกาย ไปจนถึงเร่งการพัฒนาการทางเพศ และการเจริญพันธ์
  • ทำหน้าที่ช่วยควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด ความทรงจำ
    เมื่อเราทราบฮอร์โมน เป็นส่วนสำคัญในร่างกายแล้ว ทีนี้ เรามาดูกันว่า ในวัยทองที่เรารู้จักกันดี ฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

แน่นอนฮอร์โมนในร่างกายที่ลดลง เมื่อเราอายุมากขึ้น หรือเริ่มเข้าสู่วัยทอง ไม่ว่าจะเป็น

f4

1) ฮอร์โมนเอสโตรเจน

เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในเพศหญิง สร้างจากรังไข่ มีหน้าที่ช่วยควบคุมการแสดงออกลักษณะภายนอก ฮอร์โมนนี้ จะมีระดับลดลง หลังจากหมดประจำเดือน (หรือย่างเข้าสู่วัยทอง) ภายหลังฮอร์โมนนี้ลดลง ทำให้กระทบอวัยวะหลายอย่างในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผนังมดลูกที่บางลง ช่องคลอดแห้งลง ความยืดหยุ่นน้อยลง และแน่นอน ในวัยทองนี้ ถ้ามีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดความเจ็บช่วงมีเพศสัมพันธ์ได้ และถ้าได้เช็คความหนาแน่นของมวลกระดูก จะเห็นว่า ฮอร์โมนที่ลดลง จะส่งผลโดยตรงกับความหนาแน่นของมวลกระดูกอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่สังเกตเห็นชัดภายหลังหมดประจำเดือนเพียง 2 ปี ความหนาแน่นมวลกระดูกจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่นกระดูกพรุน หรืออาจจะมีผลกระทบต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และการหมดประจำเดือน จะส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์โดยตรงอีกด้วย

f5

2) ฮอร์โมนเทสโทรสเตอรอล

พูดถึงฮอร์โมนตัวนี้ เป็นฮอร์โมนในเพศชาย สร้างจากอัณฑะ มีหน้าที่และส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางเพศเบื้องต้น ไม่ว่า จะเป็น การเปลี่ยนเสียง เสียงแตก (เนื้อหนุ่ม) การสร้างขนตามร่างกาย เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน หรือ วัยทองผู้ชาย ฮอร์โมนที่น้อยลง มีผลต่อแรงขับทางเพศชายลดลง เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่บริเวณอวัยวะเพศน้อยลง ทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้น้อยลง ความรู้สึกทางเพศลดลง

f6

3) ฮอร์โมนอินซูลิน

ได้ยินชื่อกันบ่อย อินซูลิน กับเบาหวาน ฮอร์โมนอินซูลิน สาร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่ช่วยลำเลียงน้ำตาลจากหลอดเลือดเข้าสู่เซลล์ในร่างกาย เก็บไว้ใช้เป็นพลังงาน เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อเราอายุมากขึ้น เซลล์ในร่างกายจะตอบสนองอินซูลินน้อยลง จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

f7

4) ฮอร์โมนไทรอยด์

ฮอร์โมนนี้ ช่วยควบคุมการเผาผลาญในร่างกาย สร้างจากต่อมไทรอยด์บริเวณช่วงคอ และเมื่อเราอายุมากขึ้น กระบวนการเผาผลาญในร่างกายจะน้อยลง ๆ เรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น นั่นเอง