Economics

‘สภาพัฒน์’ หั่นเป้าเศรษฐกิจไทยปี 67 เหลือโต 2.2-3.2% หลังปี 66 โตต่ำคาด!

“สภาพัฒน์” หั่นเป้าเศรษฐกิจไทยปี 2567 เหลือโต 2.2-3.2% จากเดิมคาดโตประมาณ 2.7-3.7% หลังปี 2566 โตต่ำคาด!

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า สภาพัฒน์ ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 เหลือโต 2.2-3.2% จากเดิมคาดโตราว 2.7-3.7% หลังภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2566 ขยายตัวได้ 1.9% ชะลอตัวลงจากการขยายตัว 2.5% ในปี 2565 ตามการลดลงต่อเนื่องของภาคการส่งออก รวมทั้งการลดลงของการใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐ

สภาพัฒน์

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/66 ขยายตัวได้ 1.7% โดยมีปัจจัยหลักมาจากการส่งออกสินค้าและบริการเร่งขึ้น การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนยังขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายรัฐบาลลดลงเป็นผลจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการในระบบตลาด และการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง ประกอบกับการลงทุนรวมลดลง

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจัง ในช่วงถัดไป คือ มาตรการด้านการเงิน น่าจะต้องเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการลดภาระภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ในส่วนของมาตรการดอกเบี้ย ที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจัง และทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยแคบลงโดยเฉพาะในส่วนของภาคครัวเรือน และผู้ประกอบการ SME รวมถึงการใช้มาตรการผ่อนคลายในกรณีชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ ซึ่งปัจจุบันใช้อยู่ที่อัตรา 8% ของยอดชำระรวม โดยอาจพิจารณากลับไปใช้ที่ขั้นต่ำ 5% อีกสักระยะ เพื่อช่วยให้ภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อย มีกำลังในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

สภาพัฒน์
ดนุชา พิชยนันท์

ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ยังแนะให้ ธปท. พิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปอย่างจริงจัง หากลดดอกเบี้ยครั้งต่อไป จะช่วยดูแลให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน รวมทั้งควรลดส่วนต่างดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ เพื่อดูแลภาระเอสเอ็มอีและรายย่อย ปัจจุบัน ธนาคารมีส่วนต่างประมาณ 5% เพื่อให้กลุ่มเอสเอ็มอีให้มีสภาพคล่องเพิ่ม รวมทั้งภาคครัวเรือน ยอมรับว่า รายย่อยต้องจ่ายเงินงวดผ่อนบ้าน นับว่าสำคัญมาก และเอสเอ็มอีและรายย่อยนำบัตรเครดิตมารูดใช้เป็นทุนประกอบอาชีพอย่างมาก หากรายใดมีปัญหาค้างชำระหนี้เป็นเวลานาน ต้องดึงลูกหนี้มาเจรจาหนี้ ไม่ให้กระทบต่อหนี้ NPL

เศรษฐกิจ 1926701

จึงอยากให้ ธปท. ทบทวนเกณฑ์ชำระหนี้ขั้นต่ำ 5% ซึ่งได้ปรับเพิ่มเป็น 10% ช่วงที่ผ่านมา เพื่อดูแลหนี้ครัวเรือน โดยทำอย่างจริงจังเห็นผลชัดเจนมากขึ้น ยอมรับว่านโยบายการคลังใช้กระตุ้นเศรษฐกิจไปเกือบหมดแล้ว จึงต้องใช้นโยบายการเงินเข้ามาดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติม

เศรษฐกิจ 1926703 เศรษฐกิจ 1926702

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK