Economics

‘เกิดน้อย-สูงวัย’ เขย่าเศรษฐกิจ ภาวะพึ่งพิงวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ชี้อนาคต GDP ไทย

“เกิดน้อย-สูงวัย” เขย่าเศรษฐกิจ ภาวะพึ่งพิงวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ชี้อนาคต GDP ไทย

จากสถิติในปี 2565 พบว่า มีเด็กไทยเกิดใหม่เพียง 502,000 คน ต่ำกว่าเป้าหมาย 700,000 คน ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 71 ปี  และนับว่าเป็นปีที่สองติดต่อกันที่อัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราการตาย ทำให้มีการคาดการณ์กันว่าในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ประชากรไทยจาก 70 ล้านคนจะลดเหลือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

ข้อมูลชุดนี้ ทำเอา นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ถึงกับตกใจ พร้อมบอกว่า เรื่องนี้รัฐบาลจะต้องเก็บไปคิดว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ย้ำว่าเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

เกิดน้อย-สูงวัย

เด็กเกิดน้อย-สูงวัยเพิ่มขึ้น

สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่อง สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ

ข้อมูลจากกรมการปกครอง ปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ 5.4 แสนคน ซึ่งมีอัตราการเกิด ต่ำกว่า 6 แสนคน เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ถือเป็น อัตราการเกิดที่ต่ำที่สุดในรอบ 70 ปี สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2564 มีผู้สูงอายุสูงถึง 121 ล้านคน

สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ชะลอการมีบุตร คือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความกังวลต่อภาระค่าใช้จ่าย ความไม่สมดุลระหว่างการงานและครอบครัว การบีบคั้นทางเศรษฐกิจและสังคม และการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลทั้งสุขภภาพและเศรษฐกิจ ยังเป็นตัวเร่งให้อัตราการเกิดน้อย การลดลงของประชากรไทยเร็วขึ้น

เกิดน้อย-สูงวัย

วัยแรงงานลดลง สัดส่วนผุ้สูงอายุเพิ่มขึ้น

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า อัตราการเกิดที่ลดลง ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในอนาคต รวมทั้งเกิดภาวะพึ่งพิงวัยแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น และยังคาดการณ์ว่า ในปี 2583 หากอัตราการเกิดยังคงลดลง สัดส่วนวัยเด็กจะมีเพียง 12.8% ในขณะที่วัยแรงงานลดลงเหลือ 56% และสัดส่วนของผู้สูงอายุจะสูงถึง 31.2%

ปัญหาอัตราการเกิดที่ลดลงส่งผลกระทบต่อโครงสร้างประชากรของไทยในอนาคต สัดส่วนผู้สูงอายุต่อวัยแรงงาน (กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 15 = 59 ปี) เพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรในวัยทำงานต้องทำงานหนักขึ้น ทั้งเลี้ยงตัวเองและดูแลผู้สูงอายุ มีการประเมินไว้ว่าครอบครัวที่มีแต่ผู้สูงอายุต้องประหยัด จำเป็นต้องอดออม ทำให้มีการใช้จ่ายที่ตํ่ากว่าปกติประมาณ 30% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อในอนาคตหดหายเป็นอย่างมาก

ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ที่เป็นผลมาจากเด็กเกิดน้อย ทำให้ไทยต้องพึ่งแรงงานข้ามชาติมากขึ้น ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้เพียงพอกับงบประมาณในการบริหารประเทศ รวมไปถึงกองทุนสวัสดิการต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องไปด้วย

ขณะที่ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า อีก 78 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรลดลงครึ่งหนึ่งจาก 71 ล้านคน เหลือ 35 ล้านคน

ซึ่งในอนาคตจะทำให้จัดเก็บภาษีได้ลดลง เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานมีฝีมือ จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติ รวมทั้งรูปแบบครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไปจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว ส่งผลให้เกิดปัญหาความมั่นคง และขาดทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาประเทศ

เกิดน้อย-สูงวัย

GDP เติบโตต่ำ

ว่ากันว่า การขาดแคลนแรงานจากปัญหาที่กล่าวมา จะทำให้ประเทศไทยเติบโตช้า และในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่า GDP ของไทยจะเติบโตต่ำมากเหลือไม่ถึง 2% ทำให้รัฐบาลต้องประกาศ “การส่งเสริมการมีบุตร” เป็นวาระแห่งชาติ

สศช.ยังข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขอย่างเร่วด่วน โดยระบุว่า ควรเตรียมพร้อมรับมือในการให้ความสำคัญกับ อัตราการเกิดเพื่อสร้างสมดุลให้แก่จำนวนประชากร ในแต่ละช่วงวัยให้มีความเหมาะสม อาทิ นโยบายส่งเสริมการเข้าถึงระบบอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพครอบคลุมประชาชนทุกระดับ สร้างระบบการวางแผนชีวิตครอบครัวที่ได้มาตรฐานวาระแห่งชาติ

มุ่งเน้นการลงทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เต็มศักยภาพ อาทิ ส่งเสริมให้มีศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน ทั้งในสถานที่ทำงานภาครัฐ ภาคเอกชน และในชุมชนตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้

การส่งเสริมการใช้ชีวิตคู่ในกลุ่มคนโสดรุ่นใหม่เพิ่มสิทธิการรักษาภาวะมีบุตรยาก ให้กับประชาชนเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร รองรับสังคมสูงวัยและลดภาระพึ่งพิงวัยแรงงาน

การแก้ไขปัญหานี้คงไม่สามารถทำได้ในวันสองวัน หรือ ไม่กี่ปี แต่ต้องวางแผนกันยาวๆ เป็นสิบปี และต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้!!!

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo