Economics

‘ทบทวนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ’ ส่อเค้าวุ่น ไตรภาคีฝ่ายลูกจ้าง หวั่นผิดกม. แรงงานเตรียมหารือครม. พรุ่งนี้

“ทบทวนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” ส่อเค้าวุ่น ไตรภาคีฝ่ายลูกจ้าง หวั่นผิดกม. แรงงานเตรียมหารือครม. พรุ่งนี้ เผยคนได้ประโยชน์คือแรงงานต่างด้าว คนไทยแบกค่าครองชีพลูกขึ้น

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับมติคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ หลังจากกรรมการไตรภาคีมีมติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมผ่านมา ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่ม 2-16 บาท

ทบทวนขึ้นค่าแรง

หารือครม.แจงมติไตรภาคี

เรื่องนี้จะต้องหารือกันในคณะกรรมการชุดไตรภาคีก่อนว่าจะมีการทบทวนหรือไม่ ทั้งนี้ การพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดนั้นจะมีสูตรของการคำนวณอยู่ โดยจุดเริ่มต้น มาจากอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดแต่ละจังหวัด เสนอมายังคณะกรรมการวิชาการกลั่นกรองก่อนจะมาสรุปตัวเลขสุดท้ายในคณะกรรมการไตรภาคี

อย่างไรก็ตาม จากข้อท้วงติงของนายกรัฐมนตรี ตนได้หารือกับนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยจะนำเสนอมติคณะกรรมการไตรภาคีเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ รวมถึงจะมีการหารือนอกรอบกับคณะกรรมการไตรภาคี ว่าจะมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร

ทบทวนขึ้นค่าแรง

ทวทวนขึ้นค่าแรง หวั่นผิดกฎหมาย 

ด้านนายวีรสุข แก้วบุญปัน คณะกรรมการค่าจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า การทบทวนขึ้นค่าแรงที่มีมติออกไปแล้ว ต้องไปดูกฎหมายว่าสามารถทำได้หรือไม่ นายกฯมีอำนาจสั่งการได้ตามกฎหมาย หรือขัดต่อกฎหมายต้องดูให้ชัดเจน เพราะกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้การปรับค่าจ้างเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการไตรภาคี ต้องเป็นอิสระ ไม่มีการแทรกแซง เรื่องนี้บอร์ดค่าจ้างต้องระมัดระวัง

ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ที่ตกลงกันได้ในอัตรา 330-370 บาท ถือเป็นตัวเลขที่สมดุล ที่นายจ้างจ่ายไหว ไม่เดือดร้อนกับการประกอบกิจการ อยู่รอดทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง 400 บาทต่อวันเป็นไปไม่ได้แน่นอน

ส่วนอัตราใหม่แม้จะได้ไม่มากแต่ลูกจ้างก็พออยู่ได้ จึงไม่ได้เรียกร้องค่าจ้างที่สูงเกินไป และประเด็นสำคัญ เพื่อรักษาภาวะการจ้างงานให้คงอยู่ ให้แรงงานมีงานทำ มีรายได้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ทบทวนขึ้นค่าแรง

แรงงานต่างด้าวได้ประโยชน์ แต่คนไทยแบกค่าครองชีพสูงขึ้น

และขอย้ำว่า ค่าแรงขั้นต่ำเป็นค่าแรงแรกเข้าของแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งเรายังมีค่าจ้างมาตรฐานตามฝีมือแรงงานอีกเป็นร้อยสาขาอาชีพ

การปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ คนที่ได้ประโยชน์คือแรงงานลูกจ้างเข้าใหม่ ซึ่งมีแรงงานไทย 4 แสนคนเศษ แต่อีก 5 ล้านกว่าคนเป็นแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายที่จะได้รับประโยชน์ตรงนี้ ขณะที่มูลค่าสินค้าต่างๆ ก็จะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลควรจะต้องคำนึงถึงค่าครองชีพที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคนไทย 70 ล้านคนที่ต้องแบกรับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo