Economics

‘ไข่ไก่’ จ่อราคาถูกลง เหตุ ‘ปิดเทอม-กินเจ’ แนะผู้เลี้ยงผลิตให้พอดี

นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง ชี้ ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มลดลง เหตุปิดเทอม-กินเจ แนะผู้เลี้ยงไก่ไข่ เน้นผลิตไข่ในปริมาณพอดี

วันนี้ (30 ก.ย.) นางพเยาว์ อริกุล นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง กล่าวว่า ปัจจุบันราคาไข่คละหน้าฟาร์มอยู่ที่ฟองละ 3.90-4.00 บาท ขณะที่ราคาขายปลีกเบอร์ 3 อยู่ที่ 4.30-4.40 บาท

ไข่ไก่

ถือว่าเป็นราคาปกติตามโครงสร้างต้นทุนที่ปรับขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ตามต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น จากปัจจัยของสงครามรัสเซีย-ยูเครน และยังคงเป็นปัญหาหลักของภาคปศุสัตว์ ที่รอรัฐบาลใหม่พิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาในระยะยาว เพื่อพัฒนาการผลิต และสร้างอาหารมั่นคงอย่างยั่งยืน

นางพเยาว์ ระบุว่า ผู้เลี้ยงไก่ไข่ เดินหน้าตามยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) คือ การตลาดนำการผลิต เน้นผลิตไข่ในปริมาณพอดีกับความต้องการของตลาด รักษาคุณภาพด้วยการขายไข่ให้หมดวันต่อวัน เพื่อให้ไข่สดอยู่เสมอ

ม่มีการเก็บไข่เข้าห้องเย็น เพราะการเก็บไข่ในห้องเย็นจะทำให้คุณภาพลดลง และต้องจ่ายค่าไฟฟ้าห้องเย็นสูงมาก ปัจจุบันไม่มีใครเก็บไข่เข้าห้องเย็นเหมือนที่ผ่านมาอีกแล้ว เกษตรกรยินดีให้ตรวจสอบ และภาครัฐสามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา

นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ มีการนำเสนอราคาไข่ไก่ที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด โดยกล่าวว่า ไข่ไก่ เบอร์ 3-4 ราคา 137 บาทต่อแผง 30 ฟอง เบอร์ 2-3 ราคา 165 บาท และเมื่อต้องมีการบวกค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะผ่านตัวกลางหลายทอดทั้งยี่ปั๊ว ซาปั๊ว และค่าขนส่งไปยังจุดจำหน่ายทั่วประเทศ ถึงมือประชาชนราคาจะเพิ่มเป็นฟองละ 5-6 บาท

ไข่ไก่

ส่วนไข่จัมโบ้ฟองละ 8.30-8.80 บาท ซึ่งไข่จัมโบ้เป็นไข่ขนาดใหญ่กว่าเบอร์ 0 ส่วนใหญ่เป็นไข่แฝด ต่างจากไข่ที่มีการบริโภคทั่วไป มีออกมาน้อยมากไม่ถึง 0.1% ของการผลิต ขายให้ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม จึงมีการตั้งราคาสูง

นางพเยาว์ ชี้ว่า การให้ข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยสร้างความใจอันดีให้กับผู้บริโภค เพราะราคาไข่ปรับขึ้น-ลง ตามกลไกตลาดอุปสงค์-อุปทาน ซึ่งเห็นได้ว่าช่วงโรงเรียนปิดเทอม และเทศกาลกินเจของทุกปี ความต้องการบริโภคไข่ลดลง ราคาก็จะอ่อนตัวลง จึงอยากให้มีการนำเสนอข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้สังคมเกิดความสับสน โดยเฉพาะการให้ข้อมูลราคาที่เกินจริงจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความปั่นป่วนให้กับเกษตรกร และผู้บริโภคได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo