Economics

ลูกหนี้ต้องเช็ก! อย่าพลาดโดนโกง 5 จุดโฟกัส ป้องกันตัวเอง

ลูกหนี้ต้องเช็ก! อย่าพลาดโดนโกง 5 จุดโฟกัส ป้องกันตัวเอง 

การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ก่อนจะเป็นหนี้ต้องมีมีการวางแผนและมีการบริหารจัดการหนี้ที่ดี บางคนยอมเป็นหนี้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ยอมเป็นหนี้เพื่อแก้ปัญหาบางอย่างในชีวิต หรือยอมเป็นหนี้เพื่อตอบสนองความอยากได้อยากมีของตัวเอง การเป็นหนี้ที่ดีและลดความเสี่ยงต้องเป็นหนี้กับสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ เพราะมีหลักฐานการกู้ยืมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาการกู้เงินและใบเสร็จรับเงิน ก่อนจะเข้าไปอยู่ในฐานะลูกหนี้ต้องเช็กสัญญาเอกสารต่างๆให้รอบครอบ ป้องกันการตกเป็นเหยื่อ ดังนี้

ลุกหนี้

1. ดูสัญญาก่อนกู้เงิน

กู้เงินเกิน 2,000 บาท ต้องทำหนังสือสัญญา พร้อมลายเซ็นลูกหนี้ จึงจะฟ้องร้องให้ชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ต้องให้เงินแก่ลูกหนี้ หากไม่ให้เงินถือว่ากู้ยืมไม่สมบูรณ์ จะบังคับลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ ถึงแม้จะทำสัญญาไว้แล้ว

2. ดูวิธีลงชื่อในสัญญา

  • ลายเซ็นหรือเขียนชื่อจริง
  • พิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยานลงชื่อรับรอง 2 คน

กรณีแก้ไขจำนวนเงิน

  • ในสัญญาเงินกู้ ลูกหนี้ต้องลงชื่อกำกับ
  • ในหลักฐานรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องลงชื่อกำกับ

3. ดูวิธีการใช้หนี้

3.1 ใช้หนี้ด้วยเงิน ต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • เขียนในหลักฐานว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้วและลงชื่อกำกับไว้
  • ขีดฆ่ายกเลิกสัญญา, เขียนว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้วในสัญญากู้ฉบับที่อยู่กับเจ้าหนี้
  • เจ้าหนี้เขียน, ขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ในสัญญากู้ฉบับที่อยู่กับลูกหนี้

3.2 ใช้หนี้ด้วยทรัพย์สิน

  • ลูกหนี้ยอมเอาทรัพย์สินแทนเงินที่กู้ ถือว่าลูกหนี้เป็นหนี้เท่ากับราคาทรัพย์สิน
  • เจ้าหนี้ยอมเอาทรัพย์สินที่ลูกหนี้ใช้ชำระหนี้แทนเงิน ถือว่าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้เท่ากับราคาทรัพย์สินตามท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบ

4. ดูดอกเบี้ย

  • ห้ามคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ (ดอกเบี้ยทบต้น)
  • ห้ามเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเก็บดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี
  • เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นและคิดดอกเบี้ยในเงินต้นที่ทบเข้าไปได้ ถ้าลูกหนี้ค้างดอกเบี้ย 1 ปี ขึ้นไป แต่ต้องทำหนังสือ

5. ดูระยะเวลาชำระหนี้

5.1 กำหนดเวลาไว้ ลูกหนี้จะชำระก่อนกำหนดไม่ได้ ยกเว้น

  • ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายล้มละลาย
  • ลูกหนี้ไม่ให้หลักประกันตามที่ตกลงกันไว้
  • ลูกหนี้ทำลายหรือทำให้หลักประกันที่ให้ไว้เสื่อมราคาลง
  • ลูกหนี้ไม่ให้หลักประกันตามที่ตกลงกันไว้

5.2 ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้ห้ามไว้

5.3 เจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาไว้

ภาพหน้าจอ 2566 06 20 เวลา 11.58.02

สิทธิ์ที่ลูกหนี้ควรรู้

1.สิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง

เพราะเรื่องการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้นลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจก่อนจะกู้เงิน และเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่บิดเบือน อาทิ อัตราดอกเบี้ย ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับที่อาจเกิดขึ้น ข้อผูกพันตามสัญญา และสถาบันการเงินต้องนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ตามช่องทางให้บริการต่างๆ ให้ลูกค้าสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ อาทิ ช่องทางออนไลน์ สาขา หรือช่องทางลูกค้าสัมพันธ์

2.สิทธิ์ที่จะได้รับสัญญาการกู้ยืมเงินและใบเสร็จรับเงิน

การกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ลูกหนี้จะได้รับ “สัญญาการกู้ยืมเงิน” ที่เขียนไว้อย่างชัดเจนแบบตรงไปตรงมา เป็นสัญญาที่มีเนื้อหาตรงกัน 2 ฉบับ เพื่อให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้เก็บไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ ซึ่งในสัญญาจะต้องมีข้อมูลเหล่านี้

  • ชื่อที่อยู่ของเรา (ลูกหนี้) กับสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ (เจ้าหนี้)
  • วันที่ขอกู้เงิน จำนวนเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ระยะเวลาการกู้ยืม
  • รายละเอียดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงหนี้

3.สิทธิ์การถูกทวงหนี้ที่ปลอดภัย

เมื่อลูกหนี้หมุนเงินไม่ทัน ไม่มีผ่อนชำระ หรือจ่ายเกินเวลาบ้าง เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะติดตามหนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ไม่มีสิทธิทำเหมือนกลุ่มทวงหนี้หมวกกันน็อค ที่จะทวงหนี้โหดด้วยการทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ ทำลายข้าวของ หรือทำให้อับอาย ใช้คำพูดหยาบคาย รวมไปถึงการทวงหนี้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้

ข้อมูลอ้างอิงจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ,เงินติดล้อ ,ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo